นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “บรมครูแห่งวิชากระบี่กระบอง” เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา | |
---|---|
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2476 | |
ก่อนหน้า | พระยาประมวญวิชาพูล (วงษ์ บุญ-หลง) |
ถัดไป | หลวงชุมวิชากิจ (ชุม โปตรนันท์) |
ประวัติ
แก้"อันวิชากระบี่กระบองนี้ ข้าพเจ้ากล้าพูดได้อย่างเต็มปากโดยไม่มีความกระดากเลยแม้แต่น้อย ว่าเป็นกีฬาของไทยเราโดยแท้ เป็นน้ำพักน้ำแรงของบรรพบุรุษผู้เป็นนักรบที่กล้าหาญ ซึ่งได้ลงทุนลงแรงไว้ด้วยความเสียสละ อุตส่าห์บากบั่นหาทางที่จะอบรมให้มีเลือดเนื้อเชื้อชาติทหาร อันเป็นวีระกรรมประจำชาติของไทย ซึ่งมีมาแต่ไหนแต่ไร มิให้เสื่อมคลายหรือจืดจางลงไปได้ จึงได้อบรมสั่งสอนสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงพวกเราสมัยนี้ การที่ข้าพเจ้ากล้ายืนยันได้หนักแน่นขนาดนี้ ก็เพราะข้าพเจ้าไม่เคยเห็นกีฬาชนิดนี้ในต่างประเทศเลย จะเป็นทางตะวันตกหรือตะวันออกก็ตาม และถ้าเคยมีปรากฏในสมัยก่อน ๆ มาบ้างแล้ว เชื่อแน่ว่าคงจะไม่สูญสิ้นพันธุ์เสียทีเดียว คงจะยังเหลือเป็นมรดกตกทอดเอาไว้ให้แก่ชนชั้นหลังบ้างไม่มากก็น้อย แต่นี่ก็ไม่มีร่องรอยเอาเสียเลยจึงทำให้ภาคภูมิใจที่จะกล่าวได้ว่ากระบี่กระบองของเราเป็นหนึ่งเดียวในโลก" |
—คำปรารภของ อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้ มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านได้แลเห็นต่างชาติภูมิใจในศิลปะประจำชาติของเขา เช่น ชาติเยอรมันและญี่ปุ่น ยกย่องวิชาฟันดาบและยูโดของเขาว่าดีเยี่ยมที่สุด และอนุรักษ์ เผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่โลกมากเพียงใด ยิ่งทำให้ท่านบูชาวิชากระบี่กระบองของไทยไว้เหนือสิ่งอื่นใดมากขึ้นเพียงนั้น ในโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้ลองเริ่มสั่งสอนนักเรียนพลศึกษากลางขึ้นเป็นครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ. 2478 ท่านได้ทดลองบรรจุสอนวิชากระบี่กระบองขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2478 ทดลองสอนอยู่ 1 ปี ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ เพราะเห็นว่าวิชากระบี่กระบองนั้นมีประโยชน์ในการฝึกกำลังใจให้กล้าหาญเป็นลูกผู้ชาย ฝึกกำลังกายและความคล่องแคล่วว่องไวในการป้องกันตัวและการใช้อาวุธยิ่งกว่านั้นยังเป็นการให้ผู้เรียนได้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ และมีความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ผลจากการทดลองบรรจุวิชานี้ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2479
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ บรรดาผู้ที่เล่าเรียนสำเร็จ ซึ่งโดยมากออกไปรับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษาอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้พยายามนำวิชากระบี่กระบองไปเผยแพร่ และเป็นที่น่าสนใจของชาวไทยเป็นอย่างมาก
ใน พ.ศ. 2518 กระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรจุวิชากระบี่กระบองเข้าไว้ในหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้จัดเป็นวิชาบังคับเลือกของหมวดวิชาพลานามัยและใน พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ก็ได้บรรจุวิชากระบี่ไว้ในหลักสูตรของมัธยมศึกษาตอนต้น จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป จึงนับว่าศิลปะชิ้นเอกนี้ นอกจากจะไม่สูญหายไปจากโลกแล้ว คงจะเจริญก้าวหน้าเอาไว้อวดหรือแสดงถึงความเป็นเจ้าของวิชาการแขนงนี้ได้ในอนาคต เพื่อให้เยาวชนของชาติได้ศึกษาเล่าเรียน และรักษาไว้ซึ่งมรดกอันล้ำค่าของชาติได้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป
ผลงาน
แก้- ตำแหน่ง
- ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2476
- ผู้อำนวยการโรงเรียนพลศึกษากลาง พ.ศ. 2478
- ครูโรงเรียนต่าง ๆ อาทิ โรงเรียนสตรีจุลนาค
- ผลงาน
- กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตร จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป
- คณะกรรมการสร้างวัดไทยพุทธคยา-อินเดีย (ยุคเริ่มต้น)
- กำหนดคำปฏิญาณตนต่อท้ายคำไหว้ครู และใช้จนถึงปัจจุบัน "เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรานักเรียน จะต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เรานักเรียน จะต้องไม่ทำตนให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[4]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[5]
- พ.ศ. 2488 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[8]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๑, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๑๙๕, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๕๐๕, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๒๒๗๗, ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒