โรงเรียนสตรีจุลนาค
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
โรงเรียนสตรีจุลนาค โรงเรียนสหศึกษาระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ ก่อตั้ง พ.ศ. 2469 ตั้งอยู่ที่เลขที่ 77 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนสตรีจุลนาค Chulanak Girl School | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.จ. (S.C.) |
ประเภท | - โรงเรียนราษฎร์ |
คำขวัญ | เรียนเลิศ เทิดคุณธรรม กิจกรรมเด่น |
สถาปนา | พ.ศ. 2469 |
ผู้ก่อตั้ง | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และนางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยธยา |
เขตการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ผู้อำนวยการ | นางยาหยี เสาวนายน (ผู้อำนวยการสถานศึกษา) |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | อนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 6 สหศึกษา |
สี | - |
เพลง | - |
เว็บไซต์ | http://chulanag.net |
ประวัติ
แก้หลังจากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ถวายบังคมลาออกจากราชการ รับพระราชทานบำนาญ นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้ดำริเปิดโรงเรียนขึ้นในบ้านเพื่อให้บิดามีงานอดิเรก ท่านบิดาจึงยกบ้านที่ให้เช่าเลขที่ 77 ถนนหลานหลวงให้ใช้เป็นสถานที่เพื่อทำการสอน โดยเปิดสอนเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2469 โดยตั้งชื่อว่า “โรงเรียนสตรีจุลนาค” เนื่องจากเคยมี “คลองจุลนาค” ที่เชื่อมระหว่างคลองมหานาคกับคลองเปรมประชากรตัดผ่าน “หมู่บ้านจุลนาค” ที่เป็นที่ตั้งโรงเรียน
ในแรกเปิดเรียนมีหม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ เป็นครูใหญ่ นางสาวไฉไลฯ เป็นเจ้าของและผู้จัดการและครูอีกคนหนึ่ง โดยเปิดสอนเพียงชั้นประถม 1, มัธยม 1, และมัธยม 2 ละมีนักเรียนรวม 22 คน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้เข้ามาช่วยสอนชั้นประถม 1 ตั้งแต่แรก โดยนำวิธีการสอนแบบใหม่มาทดลองให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้และบวกลบเลขได้ภายใน 3 เดือน มีการสอนให้เด็กเริ่มเรียน อ่าน เขียนภาษาอังกฤษไปพร้อมในขณะเดียวกันกับการเน้นการอบรมศีลธรรมและมรรยาท ปรากฏว่าได้ผลดี
รายชื่อครูใหญ่
แก้1. หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ (พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2474)
2. นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พ.ศ. - )
3. ?
4. ?
5. นางยาหยี เสาวนายน (----------)
6. นายจารึก นามสกุล--
7. นางวรรณพร ชาวมอญ
การขยายและดำเนินกิจการ
แก้พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2519
แก้ในปีรุ่งขึ้นได้รับนักเรียนใหม่ชั้นประถมปีที่ 1 และมัธยมปีที่ 1 และรับเพิ่มในปีต่อๆ มาจนมีชั้นเรียนตลอดตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยม 8 มีครูผู้สอนเพิ่มจำนวนมากรวมทั้งนายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยาซึ่งต่อมาได้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาช่วยสอน ในด้านสถานที่ก็ได้รับอุปการคุณจากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีต่อมาโดยท่านได้ยกบ้านให้อีก 3 หลังเป็นห้องเรียนและสร้างให้ใหม่อีก 1 หลังโดยไม่คิดมูลค่า
การเปิดสอนชั้นมัธยม 8 ดำเนินไปได้ 3 ปีคือ พ.ศ. 2475, พ.ศ. 2476 และ พ.ศ. 2477 โดยได้ส่งนักเรียนเข้าสมทบสอบไล่กับโรงเรียนรัฐบาลและสอบได้ครบ 100% แต่เนื่องจากฐานะทางการเงินขาดแคลนและค่าใช้จ่ายในการสอนชั้นมัธยม 7-8 สูงจึงลดเหลือเพียงชั้นมัธยม 6 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ก็ได้ตัดชั้นลดลงเหลือเพียงถึงชั้นมัธยมปี 3 โรงเรียนสตรีจุลนาคได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการให้เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2492 และในปีเดียวกันได้เปิดทดลองรับนักเรียนชั้นอนุบาลเริ่มด้วยจำนวนนักเรียน 15 คน หลังจากการทดลองได้ผลดีได้รับความนิยมจากผู้ปกครองจึ้งเปิดรับปีละ 60 คนโดยแบ่งเป็น 3 ชั้นเรียนและเพิ่มเป็น 120 คน ในเวลาต่อมา
การดำเนินกิจการด้านการสอนเป็นไปด้วยดี มีการเปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยม 8 เดิมอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2506 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนเป็นชั้น ม.ศ. 5 นับถึง พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนมีอายุครบ 50 ปี นั้นโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1,665 คนจากชั้นอนุบาลถึง ม.ศ. 5 เป็นนักเรียนหญิง 1,226 คน นักเรียนชาย 439 คนและมีห้องเรียน จำนวน 44 ห้อง มีครูประจำ 68 คน ครูพิเศษ 7 คน
พ.ศ. 2419 - ปัจจุบัน
แก้อาคารสถานที่
แก้ด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนสตรีจุลนาคยังคงตั้งอยู่ที่เดิมคือหลานหลวง มีการขยายพื้นที่จากบริเวณบ้านเพียงหลังเดียวบนเนื้อที่ไม่ถึง 200 ตารางวาเมื่อ พ.ศ. 2469 มาเป็นเนื้อที่ 3 ไร่เศษในเวลา 82 ปีต่อมา (พ.ศ. 2551) โดยมีอาคารใหญ่เพิ่มอีก 2 หลังคือ “ตึกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี” (2506) และ “ตึกธรรมถวิล” (2516) รวมกับอาคารอื่นเป็น 8 หลัง
มูลนิธิเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
แก้พ.ศ. 2509 นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา บุตรีคนโตของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ เจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนได้พิจารณาเห็นควรจัดตั้งมูลนิธิขึ้นรองรับและเป็นเจ้าของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนมีความมั่นคงในระยะยาว อีกทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จึงได้ดำเนินการขอจดทะเบียนมูลนิธิเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2510 โดยบ่งไว้ในตราสารมูลนิธิว่าหากเลิกกิจการมูลนิธิเมื่อใด ให้ยกกิจการและทรัพย์สินของมูลนิให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีมีส่วนร่วมก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2457 ในอีก 2 ปีต่อมานางสาวไฉไลจึงได้โอนกิจการโรงเรียนและทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมดแก่มูลนิธิฯ
มูลนิธิมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชน ให้ทุนการศึกษา ช่วยสวัสดิการครูและร่วมกับทางการและองค์การต่างๆ ในการส่งเสริมการศึกษา
ครูและศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ครู
แก้- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
- นางสาวไฉไล เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- นาง กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ ปี 2529 สาขา วรรณศิลป์ (นวนิยาย)
- ส. ธรรมยศ นักเขียน
- นางยาหยี เสาวนายน (เทพหัสดินฯ)
ศิษย์เก่า
แก้- ศาสตราจารย์ระพี สาคริก
- นางปรียา ฉิมโฉม (เทพหัสดินฯ) เลขประจำตัว 2 2469
- นางสายสวาท รัตนทัศนีย์
- นางสังวรณ์ ไกรฤกษ์
- นางสุภาว์ เทวกุล
- ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
- นางบุญเหลือ อ่วมมา 2484 (ชื่อเดิม บุญเหลือ จักรพันธ์)
- นางฐะปะนีย์ นาครทรรพ 2487
- รองศาสตราจารย์ ดร. ศลักษณ์ ทรรพนันทน์
- ศาสตราจารย์ ดร. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์
- นางพนิดา ชอบวณิชชา
- นายวิธิต อุตสาหจิต บรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น
- นพ.สันทิต บุณยะส่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ยาหยี เสานายน, ประวัติโรงเรียนสตรีจุลนาค หนังสือวรรณกรรมรำลึก คำรบ 50 ปีโรงเรียนสตรีจุลนาค กรุงเทพฯ 2519