พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต)

ขุนนางชาวไทย

อำมาตย์เอก พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2509) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2491 และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ซึ่งนำนักกีฬาของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 ครั้งที่ 15 ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ นับเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรกของประเทศไทย[1] อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตเลขาธิการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

พระยาจินดารักษ์
(จำลอง สวัสดิ์-ชูโต)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน พ.ศ. 2491 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2434
เสียชีวิต30 มิถุนายน พ.ศ. 2509 (75 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงเสมอใจ จินดารักษ์

ประวัติ

แก้

พระยาจินดารักษ์เป็นบุตรคนสุดท้องของพระยาสุรนารถเสนี (เป๋า สวัสดิ์-ชูโต) และคุณหญิงนวล สุรนารถเสนี เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 ที่อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร มีพี่น้องรวม 6 คน พระยาจินดารักษ์สมรสกับคุณหญิงจินดารักษ์ (เสมอใจ อมาตยกุล) มีบุตร 4 คน หนึ่งในนั้นคือ จำแลง สวัสดิ์-ชูโต ซึ่งเป็นคุณตาของ ก้อง–สหรัถ สังคปรีชา นักร้อง นักแสดงชื่อดัง

พระยาจินดารักษ์ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2509 และมีงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2509[2]

งานราชการ

แก้

จำลอง เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กวิเศษในกองราชเลขานุการในรัชกาลที่ 6 ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2474 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในตอนนั้นเรียกว่า ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยา[3] แต่ก็ถูกไล่ออกจากราชการเมื่อวันที่ 17 มกราคม ปี พ.ศ. 2476[4] ต่อมาพระยาจินดารักษ์ ได้กลับเข้ารับราชการกรมพลศึกษา ในปี พ.ศ. 2479[5] และได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ในปี พ.ศ. 2485[6]

นอกจากนั้นพระยาจินดารักษ์ ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารสิงขร (หรือธนาคารศรีนคร ในเวลาต่อมา) เมื่อปี พ.ศ. 2493

ตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์

แก้
  • - ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การเมือง

แก้

พระยาจินดารักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2490[7] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2491[8] โดยมีจอมพลแปลก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ

การกีฬา

แก้

ในปี พ.ศ. 2493 พระยาจินดารักษ์ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยเป็นคนแรก[9]

ในปี พ.ศ. 2495 ขณะที่พระยาจินดารักษ์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นครั้งแรกของประเทศไทยในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 ครั้งที่ 15 ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 11 คน ในประเภทกรีฑา (ชาย) แต่ไม่ได้รับเหรียญแต่อย่างใด

สถานที่เกี่ยวเนื่อง

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   รัสเซีย :
    • พ.ศ. 2453 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญสตานิสลาส ชั้นที่ 3[17]
  •   ฟินแลนด์ :
    • พ.ศ. 2496 –   เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณโอลิมปิกฟินแลนด์ ชั้นที่ 1[18]

อ้างอิง

แก้
  1. "คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย - ประวัติกีฬาโอลิมปิก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  2. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาจินดารักษ์ (2509)[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  3. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด
  4. แจ้งความ เรื่อง ไล่พระยาจินดารักษ์ออกจากราชการ
  5. http://www.navedu.navy.mi.th/sub_job_edu/takrawclub/HistoryTakrawthai.html
  6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้นายนาวาเอก หลวงศุภชลาลัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา และแต่งตั้งผู้รักษาการแทน
  7. "วุฒิสภาชุดที่ 2" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  8. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  9. ประวัติสมาคม
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๓, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๖, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๓๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๗๙ ง หน้า ๒๗๒๗, ๑๔ ตุลาคม ๒๕๐๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๕, ๒๒ สิงหาคม ๒๔๕๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๗๕๖, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖