งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ[a] เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477[1] แต่ละมหาวิทยาลัยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทุกปี ชื่อของมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับเกียรติให้ขึ้นต้นชื่องานฟุตบอลประเพณีในปีนั้น สถานที่จัดการแข่งขันจะไม่สลับตามเจ้าภาพ แต่จะจัดงานที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นประจำทุกปี กองเชียร์ของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือ อีกฝ่ายจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้
พิธีเปิดฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 71 | |||||||||
ชื่ออื่น | งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กีฬา | ฟุตบอล | ||||||||
ประเภท | เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย | ||||||||
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร | ||||||||
ทีม | 2 | ||||||||
พบกันครั้งแรก | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 สนามหลวง (ธรรมศาสตร์) | ||||||||
พบกันครั้งล่าสุด | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (จุฬาฯ) | ||||||||
พบกันครั้งต่อไป | รอประกาศ | ||||||||
ออกอากาศ | ไทยรัฐทีวี | ||||||||
สนาม | สนามกีฬาแห่งชาติ | ||||||||
รางวัล | ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว | ||||||||
สถิติ | |||||||||
การพบกันทั้งหมด | 74 ครั้ง | ||||||||
ชนะสูงสุด | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ||||||||
Longest win streak | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ||||||||
|
กิจกรรมภายในงานอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแข่งขันฟุตบอล และกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนิสิตจุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น การเดินพาเหรด การเชียร์ การแปรอักษร ขบวนพาเหรดล้อการเมืองและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์[2] ในทุกๆ ปี บรรยากาศภายในงานจะถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ตามลำดับ ยกเว้น ครั้งที่ 70 (มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องไบรต์ทีวีร่วมอยู่ด้วย) และ ครั้งที่ 72 และ 74 ที่ถ่ายทอดสดเฉพาะช่องไทยรัฐทีวีในระบบความคมชัดสูง[3] รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจัดงานทุกปีจะนำไปบริจาคเป็นสาธารณกุศล[1]
ผลการแข่งขันถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชนะ 24 ครั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชนะ 18 ครั้ง และเสมอกัน 32 ครั้ง (ไม่นับรวมการแข่งขันฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นการแข่งขันโดยตรงระหว่างนิสิตและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย)
ประวัติ
แก้งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2477 โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อสร้างความสามัคคีนิสิตในหมู่นิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย เนื่องจากมุมมองของนักเรียนในสมัยก่อนว่า ผู้เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำเร็จมัธยมศึกษา ส่วนผู้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ชื่อในขณะนั้น) ไม่สำเร็จมัธยมศึกษา ทำให้มีการดูถูกกันหรือไม่สนิทสนมกันเหมือนเดิม จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมสานความสามัคคีและสร้างความปรองดองระหว่างกัน โดยมีแบบอย่างจากการแข่งขันเรือประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในสหราชอาณาจักร และการแข่งขันเบสบอลประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัยเคโอและมหาวิทยาลัยวาเซดะในประเทศญี่ปุ่น แต่กลุ่มผู้ริเริ่มถนัดและสนใจกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่เมื่ออยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงตกลงที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลขึ้น
ผู้ริเริ่มฝ่ายจุฬาฯ ประกอบด้วย ประถม ชาญสันต์ เป็นหัวหน้านิสิตคณะอักษรศาสตร์ในขณะนั้น กับทั้งประสงค์ ชัยพรรค และประยุทธ์ สวัสดิ์สิงห์ เวลานั้น หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิวัฒน์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำเรื่องเสนอผ่านกองกิจการนิสิตซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สลับ ลดาวัลย์ เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อขออนุมัติจัดงานจากอธิการบดี ส่วนผู้ริเริ่มฝ่ายธรรมศาสตร์ คือ ต่อศักดิ์ ยมนาค และบุศย์ สิมะเสถียร ได้ทำเรื่องเสนอเดือน บุนนาค เลขาธิการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อขออนุมัติจากผู้ประศาสน์การ เมื่อได้รับฉันทานุมัติจากมหาวิทยาลัยทั้งสองแล้ว งานก็ได้เริ่มขึ้นโดยมีธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ จัดที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 และมีการเก็บค่าผ่านประตูคนละ 1 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้แก่สมาคมปราบวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนั้น
ปีต่อมา ย้ายสถานที่จัดการแข่งขันมายังสนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จน พ.ศ. 2492 จึงย้ายมาที่สนามศุภชลาศัยถึงปัจจุบัน รายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วมอบให้แก่หน่วยงานการกุศลทุกครั้ง จน พ.ศ. 2521 จึงเริ่มนำรายได้ถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
การพระราชทานถ้วยรางวัลมีขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2492 โดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จมาเป็นองค์ประธาน จน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานและพระราชทานถ้วยรางวัลด้วยพระองค์เอง แต่ปัจจุบัน โปรดให้ผู้แทนพระองค์มาแทน
เหตุการณ์ที่ทำให้ต้องยกเลิกการจัดงานฟุตบอลประเพณีมีหลายครั้ง เช่น พ.ศ. 2485 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทั่วพระนคร, พ.ศ. 2487–2491 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา, พ.ศ. 2494 เกิดกบฏแมนฮัตตัน, พ.ศ. 2516 – 2518 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นว่าการจัดงานฟุตบอลประเพณีใช้งบประมาณมาก เป็นกิจกรรมที่ฟุ่มเฟือย, พ.ศ. 2557 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง, พ.ศ. 2560 ยกเลิกกิจกรรมเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยในช่วงพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลังจากนั้นได้ยกเลิกกิจกรรมในชื่อนี้ไปอีก 4 ปีติดต่อกัน ใน พ.ศ. 2564 – 2567 เนื่องจากตั้งแต่ พ.ศ. 2564 – 2566 ยกเลิกกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ พ.ศ. 2567 มีการแข่งขันฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ขึ้นทดแทน
เอกลักษณ์เด่น
แก้ขบวนพาเหรด
แก้ตามธรรมเนียมก่อนเข้าสู่การแข่งขัน จะมีการเดินพาเหรดขบวนล้อการเมือง โดยกลุ่มอิสระล้อการเมือง ม.ธรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นสิ่งแสดงความคิดความอ่านทางการเมืองของนักศึกษาที่จะต้องโตขึ้นไปอยู่ในสังคมที่ถูกขับเคลื่อนโดยแรงขับทางการเมือง ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ดังนั้น การทำล้อการเมืองแสดงผ่านหุ่น ผ่านข้อความในป้ายผ้า เป็นบทกลอน จะสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลากหลายคณะในมหาวิทยาลัยจากการเรียนในวิชาต่างๆ ออกมาเป็นตัวหุ่น เป็นป้ายผ้า ซึ่งล้อการเมืองมีมาทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นในยุครัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากกว่าหลายล้านเสียงก็ตาม ตรงนี้ล้อการเมืองก็ยังอยู่มาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของการล้อที่ไม่ว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร ล้อการเมืองจะไม่ขาดช่วงไปจากสังคมไทย[4]
ในขณะที่ขบวนสะท้อนสังคม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบโดยกลุ่มสะท้อนสังคม เป็นการนำปัญหาของสังคมที่เกิดในรอบปี โดยการนำเสนอผ่านงานศิลปะ อาทิตัวหุ่น และป้ายผ้า ซึ่งการสะท้อนสังคมเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงที่สามารถทำได้ในฐานะนิสิต โดยเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีถูกผิด เพียงแค่ต้องอยู่ในกรอบเท่านั้น[5]
ทั้งขบวนล้อการเมือง และขบวนสะท้อนสังคม มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคม โดยนำเสนอภายใต้ขอบเขต ซึ่งจะไม่โจมตีไปที่ใครคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้นิสิต-นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และร่วมกันหาทางแก้ไขเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แก้การอัญเชิญพระเกี้ยว
แก้การอัญเชิญพระเกี้ยวปรากฏหลักฐานครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สยามนิกร (พิเศษ) ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยมีนิสิตหญิง 1 คน เป็นผู้อัญเชิญ โดยการอัญเชิญพระเกี้ยวเข้ามาสู่สนามการแข่งขันเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์ โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นนิสิตชาย 1 คน และ นิสิตหญิง 1 คน เพื่อเป็นตัวแทนบรรดานิสิตอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสู่สนามแข่งขัน ถึงแม้ว่านิสิตทุกคนต่างมีฐานะเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว[6] แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถให้ทุกคนเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวได้ จึงต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวแทนนิสิตเพื่อทำหน้าที่นี้[7]
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) มีมติในการประชุมสามัญ 29:0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ เนื่องจากเห็นว่าเป็นธรรมเนียมที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม และพบว่ามีการบังคับนิสิตให้มาแบกเสลี่ยงโดยอ้างว่าจะมีผลต่อคะแนนการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ใช้หอพัก[8]
ประธานเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แก้ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือฝั่งจุฬาจะเรียกว่า "ประธานเชียร์" นอกจากจะทำหน้าที่นำเชียร์ ควบคุมจังหวะการร้องเพลงเชียร์ของสแตนด์แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนิสิตจุฬา ในการประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณีฯ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณะอีกด้วย ในระยะแรกนั้นผู้นำเชียร์หรือประธานเชียร์จะเป็นผู้ให้จังหวะปรบมือแก่กองเชียร์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงท่าทางของผู้นำเชียร์ขึ้นใหม่ โดยเน้นหลักการสำคัญของผู้นำเชียร์แห่งจุฬาฯ นั้น มี 5 ประการ ได้แก่ การให้จังหวะ การควบคุมกองเชียร์ ความสวยงาม ความพร้อมเพรียง และรูปแบบในการนำเสนอ มีการแต่งตัวให้สวยงาม สร้างสีสันให้กับสแตนด์เชียร์ การสรรหาผู้นำเชียร์ฯ จากการเปิดรับสมัครคัดเลือกอย่างเป็นทางการจากนิสิตทั่วไป ไม่จำกัดคณะและชั้นปี ในแต่ละปีนั้นมีจำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของผู้สมัครในปีนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วมักมีจำนวนเฉลี่ยรุ่นละ 11-13 คน
จุฬาฯ คทากร
แก้จุฬาฯคทากรมีหน้าที่หลักคือ การเดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นยังมีหน้าที่แสดงควงคทาประกอบเพลงประจำมหาวิทยาลัยอีกด้วย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แก้ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
แก้ในอดีตผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักร ถ้วยพระราชทาน ป้ายนามมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และดรัมเมเยอร์ ได้มาจากการคัดเลือกเช่นเดียวกับการอัญเชิญพระเกี้ยวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาใน พ.ศ. 2516 ประเพณีการคัดเลือกก็ได้งดไป เนื่องจากถูกมองว่าเป็นความฟุ่มเฟือยและเกิดเป็นที่มาของคำขวัญว่า "ธรรมจักรเป็นของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน ทุกคนจึงมีสิทธิในการอัญเชิญได้" จึงคงไว้เพียงขบวนอัญเชิญธรรมจักรและรับสมัครทุกคนที่สนใจร่วมแบกเสลี่ยงอัญเชิญโดยไม่มีผู้แทน จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ฟื้นฟูผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์และทำหน้าที่ในการบำเพ็ญประโยชน์ ตลอดจนการรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกันมากขึ้นกลับมา ในชื่อว่า "ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" โดยเริ่มตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา หน้าที่ของทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์คือเป็นตัวแทนนักศึกษาในการนำขบวนพาเหรดทั้งหมดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าสู่สนาม โดยเป็นผู้อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ถ้วยพระราชทาน อัญเชิญพานพุ่มนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์ รวมถึงการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การคัดเลือกทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะพิจารณาถึงทั้งลักษณะ บุคลิก ความรู้ความสามารถ ทั้งในด้านการเรียน และในความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การมีจิตอาสา มีคุณธรรมและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก่สังคม
แม่ทัพเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แก้ผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือฝั่งธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "แม่ทัพเชียร์" เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้านำกองเชียร์ร้องเพลงส่งเสียงเชียร์ ประกอบรหัส สัญญาณ การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมเพรียง ความสวยงาม และความสนุกสนานของการเชียร์และแปรอักษร โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวคิดและต้นแบบแรงบันดาลใจจาก ผู้ควบคุมวงดนตรีหรือวาทยากร ที่ทำหน้าที่นำการเล่นดนตรีวงใหญ่หรือการร้องประสานเสียง ผู้นำเชียร์นั้นนอกจากจะมีท่วงท่าสง่างาม ยังมีรหัสสัญญาณมือที่สื่อความหมายสามารถประยุกต์ใช้กับการร้องเพลงเป็นหมู่คณะของกองเชียร์
เพลงประจำการแข่งขัน
แก้- เพลงพระราชนิพนธ์ของทั้งสองมหาวิทยาลัย
- เพลงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง
- เพลงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์
- เพลงจามจุรีประดับโดมในดวงใจ เป็นการนำเพลงของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาร่วมกันคือเพลงจามจุรีประดับใจ และเพลงโดมในดวงใจ
- เพลงชั่วดินฟ้า เป็นเพลงของจุฬา และธรรมศาสตร์บอกถึงความรักความสามัคคีของทั้งสองสถาบันนี้
- เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์
- เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา ภาราดรณ์ ไม่ปรากฏผู้แต่ง
ผลการแข่งขัน
แก้ผลการแข่งขันจนนับจาก พ.ศ. 2477 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนะ 24 ครั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนะ 18 ครั้ง และเสมอกัน 33 ครั้ง ดังนี้[9]
- หมายเหตุ
จุฬาฯ ชนะ ธรรมศาสตร์ชนะ เสมอ
|
|
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ชื่อมหาวิทยาลัยใดนำหน้าเป็นเจ้าภาพ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์: สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ .” เว็บไซต์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. http://www.cuaa.chula.ac.th/activities/cu-tu-football[ลิงก์เสีย] (2559 ธันวาคม 7 ที่เข้าถึง).
- ↑ สวัสดิ์ จงกล. “แรกมีในเมืองไทยเกี่ยวกับฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 18 มีนาคม 2553. http://www.memocent.chula.ac.th/article/ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์/ (8 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
- ↑ www.thairath.co.th. (2018). จุฬาฯ-มธ. พร้อมลุยบอลประเพณี ไทยรัฐทีวี ถ่ายสด 3 ก.พ.. [online] Available at: https://www.thairath.co.th/content/1174057 [Accessed 2 Feb. 2018].
- ↑ พาเหรดล้อการเมือง 'สะท้อนสังคม หรือ ท้าทายอำนาจ' ?. 5 กุมภาพันธ์ 2016. https://www.voicetv.co.th/read/322320
- ↑ พร้อมมากบอลประเพณี! จุฬาฯ เต้นโชว์ ชูคอนเซ็ปต์ตื่นเต้นได้เลือกตั้ง – มธ. งัดเซอร์ไพรส์กลางสนาม. 7 กุมภาพันธ์ 2562. https://www.amarintv.com/news-update/news-16819/335873/
- ↑ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memocent.chula.ac.th/article/อัญเชิญพระเกี้ยว/ (8 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
- ↑ การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี จาก หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "ยกเลิกพิธีแบกเสลี่ยง "อัญเชิญพระเกี้ยว" งานบอลจุฬา-ธรรมศาสตร์". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-10-23.
- ↑ ชมพู-เหลืองแสด, ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ศึกแห่งตำนาน ศักดิ์ศรี และมิตรภาพ, สยามกีฬา, ปีที่ 28, ฉบับที่ 10184, 20 มกราคม 2556, หน้า 19
ดูเพิ่ม
แก้- รักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
- จตุรมิตรสามัคคี การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระดับมัธยมศึกษาระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ 4 สถาบันของประเทศไทย
- กีฬา 5 พระเกี้ยว การแข่งขันฟุตบอลของโรงเรียนที่ใช้สัญลักษณ์พระเกี้ยว
- เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ฟุตบอลประเพณีสิงห์แดง-สิงห์ดำ