พลโท เผชิญ นิมิบุตร เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน และรัฐบาลของพลโท ถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และอดีตนายกสมาคมคนแรกของสมาคมกีฬามวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย[1]

เผชิญ นิมิบุตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร

วงการกีฬา แก้

เผชิญ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมชมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 ครั้งที่ 15 ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ นับเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรกของประเทศไทย[2]

เผชิญ เคยเป็นอธิบดีกรมพลศึกษา ในปี พ.ศ. 2495[3] และเป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึงปี พ.ศ. 2499

เผชิญ ได้รับเกียรติให้นำนามสกุลเป็นชื่อ "อาคารกีฬานิมิบุตร" ซึ่งเป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 เพื่อให้สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ใช้เป็นสถานที่จัดแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 มีชื่อเดิมว่า อาคารยิมเนเซียม 1 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2528 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเขา

การเมือง แก้

เผชิญ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2494[4], พ.ศ. 2500[5] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน ในปี พ.ศ. 2500[6] และรัฐบาลของพล.ท. ถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) ในปี พ.ศ. 2501[7]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[8] แทนหลวงประกอบนิติสาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติสมาคม[ลิงก์เสีย]จากเว็บไซต์สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562
  2. "คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย - ประวัติกีฬาโอลิมปิก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
  4. ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  5. "ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-29. สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  7. ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[ลิงก์เสีย]
  8. วุฒิสมาชิก ชุดที่ 3
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๑๗๐๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๖
  12. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์