สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไทยลีก (แก้ความกำกวม)

ไทยลีก (อังกฤษ: Thai League; ชื่อย่อ T1) เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกในระดับสูงสุดของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2539 ภายใต้การบริหารของบริษัท ไทยลีก จำกัด มีสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 16 สโมสร โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 30 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 240 นัดต่อฤดูกาล

ไทยลีก (Thai League)
Hilux Revo Thai League 2021–22.png
ก่อตั้ง2539
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
จำนวนทีม16 (ตั้งแต่ 2562)
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่ไทยลีก 2
ถ้วยระดับประเทศไทยเอฟเอคัพ
แชมเปียนส์คัพ
ถ้วยระดับลีกไทยลีกคัพ
ถ้วยระดับนานาชาติเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (สมัยที่ 9)
(2565–66)
ชนะเลิศมากที่สุดบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (9 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์เอไอเอส
พีพีทีวี
เว็บไซต์Thai League (T1)
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2566–67

ตั้งแต่จัดตั้งลีกขึ้นมามีทั้งหมด 41 สโมสรที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน และมี 12 สโมสรที่ได้แชมป์ไทยลีก คือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (9) (นับรวมสมัยลงแข่งขันในนามสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค), เมืองทอง ยูไนเต็ด (4), โปลิศ เทโร, ทหารอากาศ และ ธนาคารกรุงไทย (2), ธนาคารกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สินธนา, ชลบุรี เอฟซี, พนักงานยาสูบ, เชียงราย ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (1)

ประวัติแก้ไข

เมื่อปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีความคิดในการที่จะปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ จากวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นเลิศ มาเป็นรูปแบบอาชีพ โดยเริ่มก่อตั้งฟุตบอลลีกสูงสุดขึ้น โดยเดิมที การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสูงสุดของประเทศคือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วยใหญ่) ซึ่งจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 จนถึงปี พ.ศ. 2538 (ในฐานะการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสูงสุดของประเทศ) โดยมีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันใน ฤดูกาลแรก ทั้งหมด 18 สโมสร ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างเป็น 10 สโมสร จนถึง ฤดูกาล 2547/48

การรวบรวมลีกแก้ไข

ในปี พ.ศ. 2549 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เริ่มมีการให้ สิทธิสโมสรที่จบตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศใน โปรวินเชียลลีก เข้าร่วมการแข่งขันได้ ซึ่งทำให้มีการเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็น 12 สโมสร ตั้งแต่ ฤดูกาล 2549 จนกระทั่งในปีถัดมา (พ.ศ. 2550) จึงมีการควบรวม โปรวินเชียลลีก โดยได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[1] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีกทั้งสองเข้าเป็นลีกเดียว โดยให้สิทธิสโมสรที่จบตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศในการแข่งขัน โปรลีก ฤดูกาล 2549 เข้าแข่งขันใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ด้วย ซึ่งทำให้มีการเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าแข่งขันเป็น 16 สโมสร พร้อมทั้งเพิ่มเงื่อนไขให้สโมสรซึ่งอยู่ใน 3 อันดับสุดท้ายเมื่อจบฤดูกาล ต้องตกชั้นไปสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยให้สิทธิสโมสรชนะเลิศ รองชนะเลิศ และ อันดับที่ 3 ของ ไทยลีกดิวิชั่น 1 เลื่อนชั้นมาแข่งขันเป็นการทดแทน โดยสโมสรแรกที่มาจาก โปรวินเชียลลีก แล้วสามารถชนะเลิศการแข่งขันได้คือ ชลบุรี เอฟซี ใน ฤดูกาล 2550

การปรับโครงสร้างลีกสู่ลีกอาชีพแก้ไข

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผลให้สมาคมฯ ต้องดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อบริหารลีกและจัดการแข่งขันแทนที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ขึ้น โดยมี วิชิต แย้มบุญเรือง อดีตนัก ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นประธานกรรมการคนแรก และออกระเบียบให้ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ ต้องจัดตั้งในรูปนิติบุคคล (บริษัท) เพื่อดำเนินการบริหารสโมสร ส่งผลให้มีการแข่งขันเชิงรูปแบบ การบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น รวมทั้งแพร่หลายออกไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จากเดิมที่สโมสรฟุตบอลต่างๆ จะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น จึงกลับมาเป็นที่นิยมของแฟนฟุตบอลไทยอีกครั้ง โดยใน ฤดูกาล 2554 สมาคมฯ ประกาศเพิ่มจำนวนสโมสรที่จะทำการแข่งขัน เป็น 18 สโมสร[2]

กรณีพิพาทของลีกแก้ไข

ต่อมาได้มีกรณีข้อพิพาทในเรื่องสิทธิการบริหารสโมสรและสิทธิการแข่งขัน ระหว่าง อีสาน ยูไนเต็ด และ ศรีสะเกษ เอฟซี โดยทาง อีสาน ยูไนเต็ด ได้ยื่นคำร้องต่อ ศาลปกครอง เพื่อขอให้พิจารณาว่า ศรีสะเกษ เอฟซี มีสิทธิทำการแข่งขันในฤดูกาล ฤดูกาล 2556 หรือไม่ ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว เป็นผลให้ บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก ต้องลงมติให้พักการแข่งขันของ สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ตามคำสั่งคุ้มครองฯของศาล โดยเมื่อศาลปกครองวินิจฉัยให้สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ มีสิทธิทำการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกได้ต่อไป สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงประชุมร่วมกับ บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ และสโมสรสมาชิกทั้งหมด โดยที่ประชุมลงมติให้ ฤดูกาล 2557 เพิ่มสมาชิกเป็น 20 สโมสร และกำหนดสโมสรที่จะต้องตกชั้นลงไปแข่งขันไทยลีกดิวิชั่น 1 ต้องมีถึง 5 สโมสรคือ อันดับที่ 16-20 (ขณะเดียวกัน ทั้งสองฤดูกาลดังกล่าว ยังคงให้สโมสรชนะเลิศ, รองชนะเลิศ และอันดับที่ 3 ของไทยลีกดิวิชัน 1 ขึ้นมาแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกตามเดิม) เพื่อทำให้สโมสรสมาชิก คงเหลือเพียง 18 ทีมเท่าเดิม[3] ส่วนฤดูกาล 2556 ให้สโมสรอันดับที่ 17 ต้องตกชั้นลงไปแข่งขันในไทยลีกดิวิชัน 1 เพียงทีมเดียว[4]

การเปลื่ยนแปลงบริหารแก้ไข

ภายหลังจากการเลือกตั้งนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่ง พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งได้รับเลือกจากสโมสรสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม คนใหม่ได้ประกาศว่าได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยใช้ชื่อว่า บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด (PLT)[5] และได้มีการจัดหาตัวแทนบริหารสิทธิประโยชน์ของลีก แทนที่ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ที่ได้มีการยกเลิกสัญญาไป

การปรับโครงสร้างระบบลีกแก้ไข

ต่อมาได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยลีก จำกัด ขึ้นมาแทน บจก.พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ ตามคำแนะนำของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ โดยได้โอนหุ้นจำนวน 99.98% ที่ทางนายกสมาคมฯ ถือไว้ให้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย[6] ต่อมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพอย่างยั่งยืน และยกระดับลีกภายในประเทศให้ก้าวไปสู่ลีกชั้นนำของอาเซียนและเอเชีย เริ่มจากการตั้งและปรับเปลี่ยนชื่อลีกแต่ละระดับให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เน้นความเรียบง่าย กระชับ น่าจดจำและร่วมสมัยที่สุด[7]

การแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศไทยภายใต้การจัดของ บริษัท ไทยลีก จำกัด ตั้งแต่ฤดูกาล 2560 ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ต่อมาในฤดูกาล 2563 ได้มีการปรับลดเหลือเป็น 4 ระดับโดยมีชื่อเรียกหลักอย่างเป็นทางการประกอบด้วย

  1. ไทยลีก (Thai League) ชื่อย่อ T1 เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับสูงสุดของประเทศไทย โดยฤดูกาล 2560 สโมสรที่จบอันดับที่ 1-15 ของ ฤดูกาล 2559 และ สโมสรอันดับ 1-3 จาก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 สโมสร และตั้งแต่ฤดูกาล 2562 เป็นต้นมา ได้มีการปรับลดจำนวนสโมสรที่ทำการแข่งขันเป็น 16 สโมสร เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดตารางแข่งขันให้ ฟุตบอลทีมชาติไทย ได้มีเวลาเตรียมทีมแข่งขันรายการต่างๆ และสามารถมีช่วงเวลาหยุดพักแข่งขันตามหลักสากล
  2. ไทยลีก 2 (Thai League 2) ชื่อย่อ T2 เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพระดับที่สองรองจาก ไทยลีก โดย ฤดูกาล 2560 สโมสรที่จบอันดับ 16-18 จาก ไทยลีก ฤดูกาล 2559, สโมสรที่จบอันดับ 4-15 จาก ฤดูกาล 2559 และ 3 สโมสรที่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น จาก ลีกภูมิภาค ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 สโมสร
  3. ไทยลีก 3 (Thai League 3) เป็นฟุตบอลลีกอาชีพระดับ 3 รวมเป็น 76 สโมสร แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
  4. ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (Thailand Amateur League) ชื่อย่อ TA ลีกสมัครเล่น

รูปแบบการแข่งขันแก้ไข

ไทยลีก มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 16 สโมสร ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 30 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล ซึ่งในแต่ละนัด ผู้ชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้คะแนน ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สโมสรที่ได้คะแนนรวมสูงสุด จะได้รับตำแหน่งชนะเลิศ และได้สิทธิไปแข่งขันรายการ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ส่วนสโมสรที่ได้รองชนะเลิศ และอันดับที่ 3 จะได้ไปแข่งในรายการเดียวกัน แต่จะแข่งขันใน รอบคัดเลือก รอบสอง (กรณีสโมสรที่ชนะเลิศหรือรองชนะเลิศไทยลีก และสโมสรที่ชนะเลิศ ไทย เอฟเอคัพ ในฤดูกาลเดียวกัน เป็นสโมสรเดียวกัน สิทธิแข่งขันจะตกเป็นของสโมสรที่ได้คะแนนอันดับที่ 4 ของลีกแทน) ส่วนสโมสรที่ได้คะแนนรองลงมา จะเรียงอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้ โดยสโมสรที่จบฤดูกาลในสามอันดับสุดท้าย จะตกชั้นสู่ไทยลีก 2 และ ทีมที่อันดับสูงที่สุดสองทีมในไทยลีก 2 จะเลื่อนชั้นไป พร้อมกับอีกหนึ่งทีมที่มาจากการชนะเลิศในการแข่งขันเพลย์ออฟระหว่างอันดับที่ 3, 4, 5 และ 6

ในกรณีที่มีสโมสรมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับดังนี้

  1. พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาลที่เพิ่งจบการแข่งขัน (Head To Head)
  2. พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ชนะ (Number of Wins) ของแต่ละทีมที่คะแนนเท่ากัน
  3. พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
  4. พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals For)
  5. แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ
  6. ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป

ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขัน เพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
  2. ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ ประตูเสีย
  3. ถ้ายังเท่ากันอีกให้ดูเฉพาะประตูได้
  4. ถ้ายังเท่ากันอีกให้ทำการจับฉลาก

ผู้สนับสนุนหลักแก้ไข

รายชื่อผู้สนับสนุนหลักแข่งขันในฤดูกาลต่างๆ

สโมสรที่เข้าร่วมไทยลีก (ฤดูกาล 2565–66)แก้ไข

สโมสร ที่ตั้ง สนามเหย้า ความจุ อันดับฤดูกาล 2564–65
การท่าเรือ กรุงเทพมหานคร (คลองเตย) แพตสเตเดียม 8,000 8
ขอนแก่น ยูไนเต็ด ขอนแก่น สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 6,500 10
ชลบุรี ชลบุรี ชลบุรีสเตเดียม 8,600 7
ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ปทุมธานี (คลองหลวง) ทรูสเตเดียม 19,375 3
นครราชสีมา มาสด้า นครราชสีมา สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 25,000 9
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ปทุมธานี (ธัญบุรี) บีจีสเตเดียม 10,114 2
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุรีรัมย์ ช้างอารีนา 32,600 1
โปลิศ เทโร กรุงเทพมหานคร (หลักสี่) สนามบุณยะจินดา 3,500 11
พีที ประจวบ ประจวบคีรีขันธ์ สามอ่าวสเตเดียม 5,000 13
เมืองทอง ยูไนเต็ด นนทบุรี ธันเดอร์โดมสเตเดียม 13,000 4
ราชบุรี มิตรผล ราชบุรี มิตรผลสเตเดียม 10,000 12
ลำปาง ลำปาง สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง 5,500 4 (ไทยลีก 2)
ลำพูน วอร์ริเออร์ ลำพูน สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 3,000 1 (ไทยลีก 2)
ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด เชียงราย ลีโอ เชียงราย สเตเดียม 13,000 5
สุโขทัย สุโขทัย ทะเลหลวงสเตเดียม 8,000 2 (ไทยลีก 2)
หนองบัว พิชญ หนองบัวลำภู พิชญสเตเดียม 6,000 6

ทำเนียบสโมสรชนะเลิศแก้ไข

# ปี ทีมชนะเลิศ ทีมรองชนะเลิศ
1 2539/40 ธนาคารกรุงเทพ ตลาดหลักทรัพย์ฯ
2 2540 ทหารอากาศ สินธนา
3 2541 สินธนา ทหารอากาศ
4 2542 ทหารอากาศ การท่าเรือฯ
5 2543 บีอีซี เทโรศาสน ทหารอากาศ
6 2544/45 บีอีซี เทโรศาสน โอสถสภา
7 2545/46 ธนาคารกรุงไทย บีอีซี เทโรศาสน
8 2546/47 ธนาคารกรุงไทย บีอีซี เทโรศาสน
9 2547/48 พนักงานยาสูบ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
10 2549 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โอสถสภา เอ็ม-150
11 2550 ชลบุรี ธนาคารกรุงไทย
12 2551 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ชลบุรี
13 2552 เมืองทอง ยูไนเต็ด ชลบุรี
14 2553 เมืองทอง ยูไนเต็ด บุรีรัมย์ พีอีเอ
15 2554 บุรีรัมย์ พีอีเอ ชลบุรี
16 2555 เมืองทอง ยูไนเต็ด ชลบุรี
17 2556 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมืองทอง ยูไนเต็ด
18 2557 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชลบุรี
19 2558 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมืองทอง ยูไนเต็ด
20 2559 เมืองทอง ยูไนเต็ด แบงค็อก ยูไนเต็ด
21 2560 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมืองทอง ยูไนเต็ด
22 2561 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แบงค็อก ยูไนเต็ด
23 2562 เชียงราย ยูไนเต็ด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
24 2563–64 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
25 2564–65 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
26 2565–66 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แบงค็อก ยูไนเต็ด

จำนวนครั้งที่ชนะเลิศแก้ไข

สโมสร ครั้ง ปีที่ได้
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
9
2551, 2554, 2556, 2557, 2558, 2560, 2561, 2564–65, 2565–66
เมืองทอง ยูไนเต็ด
4
2552, 2553, 2555, 2559
ทหารอากาศ
2
2540, 2542
บีอีซี เทโร ศาสน 2543, 2544/45
ธนาคารกรุงไทย 2545/46, 2546/47
ธนาคารกรุงเทพ
1
2539
สินธนา 2541
พนักงานยาสูบ 2547/48
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2549
ชลบุรี 2550
เชียงราย ยูไนเต็ด 2562
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด 2563–64

ผู้ลงเล่นสูงสุดแก้ไข

อันดับ ผู้เล่น ตำแหน่ง ลงเล่น ประตู
1   รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค MF 376 43
2   สินทวีชัย หทัยรัตนกุล GK 351 1
3   ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน GK 335 0
4   ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ DF 333 19
5   พิชิตพงษ์ เฉยฉิว MF 322 62
6   ธีรเทพ วิโนทัย FW 319 91
7   นริศ ทวีกุล GK 313 1
8   พิภพ อ่อนโม้ FW 265 88
9   อภิเชษฐ์ พุฒตาล DF 261 7
10   กิตติศักดิ์ ระวังป่า GK 254 0

ตัวหนา หมายถึง นักเตะที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในไทยลีก


ผู้ทำประตูสูงสุดแก้ไข

ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2566
อันดับ ผู้เล่น ปี ประตู ลงเล่น
1   เฮแบร์ตี้ แฟร์นานเดส 2014–2016, 2017– 158 265
2   คลีตัน ซิลวา 2010–2014, 2015–2017, 2018–2019 144 179
3   ธีรศิลป์ แดงดา 2009–2014, 2015–2017, 2019– 134 302
4   ดราแกน บอสโควิช 2013–2021 118 182
  จีโอกู ลูอิส ซังตู 2015–2018, 2020–2022 118 132
6   ลีอังดรู อัสซัมเซา[8] 2011–2021 116 203
7   พิภพ อ่อนโม้ 2006–2018 108 404
8   ศรายุทธ ชัยคำดี 2001–2004, 2007–2012, 2013–2014 101 233
9   มารีโอ ยูโรฟสกี 2012–2019 93 197
10   ธีรเทพ วิโนทัย 2006–2008, 2009–2014, 2016–2022 91 319

ตัวหนา หมายถึง ผู้เล่นที่ยังลงเล่นอยู่ในไทยลีก[9][10]

สถิติผู้เล่นแก้ไข

สถิติของการแข่งขันแก้ไข

เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์แก้ไข

รางวัลแก้ไข

เงินรางวัลแก้ไข

  • ชนะเลิศ: 10,000,000 บาท
  • รองชนะเลิศ: 2,000,000 บาท
  • อันดับสาม: 1,500,000 บาท
  • อันดับสี่: 800,000 บาท

โดยทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอลซึ่งได้คะแนนรวมในอันดับต่างๆ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล

นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน สโมสรละ 1,000,000 บาท โล่พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท สำหรับผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม และผู้ทำประตูสูงสุด, โล่พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง และกองหน้า[18]

ถ้วยรางวัลแก้ไข

 
ถ้วยรางวัลไทยลีก ใช้ตั้งแต่ฤดูกาล 2560


ผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาลแก้ไข

ปี ผู้เล่น สโมสร ประตู
2565–66   ศุภชัย ใจเด็ด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 19
2564–65   ฮามิลตง ซูวาริส หนองบัว พิชญ 19
2563–64   บาร์รอส ทาร์เดลี สมุทรปราการ ซิตี้ 25
2562   ลอนซานา ดูมบูยา ตราด 20
2561   ดิโอโก หลุยส์ ซานโต2 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 34
2560   ดราแกน บอสโควิช แบงค็อก ยูไนเต็ด 38
2559   เคลย์ตง ซิลวา2 เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 27
2558   ดิโอโก หลุยส์ ซานโต1 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 33
2557   เฮแบร์ตี้ แฟร์นานเดส ราชบุรี มิตรผล เอฟซี 26
2556   คาร์เมโล กอนซาเลซ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 23
2555   ธีรศิลป์ แดงดา
  เคลย์ตง ซิลวา1
เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
บีอีซี เทโรศาสน
24
2554   แฟรงค์ โอฮานด์ซา บุรีรัมย์ พีอีเอ 19
2553   ลูโดวิด ทาคาม พัทยา ยูไนเต็ด 17
2552   อานนท์ สังข์สระน้อย2 บีอีซี เทโรศาสน 18
2551   อานนท์ สังข์สระน้อย1 บีอีซี เทโรศาสน 20
2550   เนย์ ฟาเบียโน พนักงานยาสูบ 18
2549   พิพัฒน์ ต้นกันยา บีอีซี เทโรศาสน 12
2547/48   ศุภกิจ จินะใจ
  ศรายุทธ ชัยคำดี2
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การท่าเรือฯ
10
2546/47   วิมล จันทร์คำ โอสถสภา 14
2545/46   ศรายุทธ ชัยคำดี1 การท่าเรือฯ 12
2544/45   วรวุฒิ ศรีมะฆะ2
  ปิติพงษ์ กุลดิลก
บีอีซี เทโรศาสน
การท่าเรือฯ
12
2543   สุธี สุขสมกิจ2 ธ.กสิกรไทย 16
2542   สุธี สุขสมกิจ1 ธ.กสิกรไทย 13
2541   รณชัย สยมชัย การท่าเรือฯ 23
2540   วรวุฒิ ศรีมะฆะ1 บีอีซี เทโรศาสน 17
2539   อัมพร อำพันสุวรรณ องค์การโทรศัพท์ 21

ผู้เล่นยอดเยี่ยมแก้ไข

ปี ผู้เล่น สโมสร
2565–66  
2564–65   ศุภชัย ใจเด็ด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2563–64[20]   สุมัญญา ปุริสาย2 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2562[21]   พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล เชียงราย ยูไนเต็ด
2561[22]   สุมัญญา ปุริสาย1 แบงค็อก ยูไนเต็ด
2560   จักรพันธ์ แก้วพรม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2558   ดิโอโก หลุยส์ ซานโต บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2557   สุเชาว์ นุชนุ่ม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2556   ธีราทร บุญมาทัน บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2555   ธีรศิลป์ แดงดา เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
2554   สินทวีชัย หทัยรัตนกุล ชลบุรี เอฟซี
2553   ดัสกร ทองเหลา เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
2552   เจษฎา จิตสวัสดิ์ (กองหลัง)
  กิตติพล ปาภูงา (กองกลาง)
  พิพัฒน์ ต้นกันยา (กองหน้า)
เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
บีอีซี เทโรศาสน
การท่าเรือไทย
2551   ณรงค์ชัย วชิรบาล การไฟฟ้าฯ
2550   พิภพ อ่อนโม้ ชลบุรี เอฟซี
2549   ปุณณรัตน์ กลิ่นสุคนธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2547/48   โชเซ่ คาร์ลอส ดาซิลวา พนักงานยาสูบ
2546/47   พิชิตพงษ์ เฉยฉิว ธ.กรุงไทย
2545/46   คัมภีร์ ปิ่นฑะกุล ธ.กรุงเทพ
2544/45   อภิชาติ ทวีเฉลิมดิษฐ์ ธ.กรุงเทพ
2543   อนุรักษ์ ศรีเกิด บีอีซี เทโรศาสน
2541   นิเวส ศิริวงศ์ สินธนา
2540   เศกสรรค์ ปิตุรัตน์ สินธนา
2539   อัมพร อำพันสุวรรณ องค์การโทรศัพท์ฯ

ดาวรุ่งยอดเยี่ยมแก้ไข

ปี ผู้เล่น สโมสร
2565–66  
2564–65   กฤษดา กาแมน ชลบุรี เอฟซี
2563–64   เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ สมุทรปราการ ซิตี้
2562   เอกนิษฐ์ ปัญญา เชียงราย ยูไนเต็ด
2561   วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ ชลบุรี เอฟซี
2560   สุภโชค สารชาติ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2559   วงศกร ชัยกุลเทวินทร์ พัทยา ยูไนเต็ด
2558   ชนาธิป สรงกระสินธ์2 บีอีซี เทโรศาสน
2556   ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
2555   ชนาธิป สรงกระสินธ์1 บีอีซี เทโรศาสน
2554   กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
2553   จักรพันธ์ แก้วพรม เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
2552   คัพฟ้า บุญมาตุ่น โอสถสภา

ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแก้ไข

ปี รายชื่อผู้ฝึกสอน สโมสร
2565–66  
2564–65   มาซาตาดะ อิชิอิ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2563–64   สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2562   อลงกรณ์ ทองอ่ำ เชียงราย ยูไนเต็ด
2561   โบซีดาร์ บันโดวิช บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2560   ธชตวัน ศรีปาน เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
2558   อาเลชังดรี กามา บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2557   มะซะฮิโระ วะดะ ชลบุรี เอฟซี
2556   อรรถพล บุษปาคม(4) บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด,

บางกอกกล๊าส

2555   สลาวีชา ยอคานอวิช เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
2554   อรรถพล บุษปาคม(3) บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2553   เรอเน เดอซาแยร์ เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
2552   อรรถพล บุษปาคม(2) เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
2551   ประพล พงษ์พานิช การไฟฟ้าฯ
2550   จเด็จ มีลาภ ชลบุรี เอฟซี
2549   สมชาย ทรัพย์เพิ่ม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2547/48   โชเซ่ อัลเวส บอร์จีส พนักงานยาสูบ
2546/47   วรวุฒิ แดงเสมอ ธ.กรุงไทย
2545/46   ณรงค์ สุวรรณโชติ ธ.กรุงไทย
2544/45   อรรถพล บุษปาคม(1) บีอีซี เทโรศาสน
2543   พิชัย ปิตุวงษ์ บีอีซี เทโรศาสน
2542   ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน(2) ทหารอากาศ
2541   การุณ นาคสวัสดิ์ สินธนา
2540   ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน(1) ทหารอากาศ
2539   วิทยา เลาหกุล ธ.กรุงเทพ

ลีกเยาวชนแก้ไข

ดูบทความหลักที่: ไทยแลนด์ยูธลีก

ลีกเยาวชนก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยความร่วมมือของการกีฬาแห่งประเทศไทย ใช้ชื่อการแข่งขันว่า ไทยแลนด์ยูธลีก มีรูปแบบการแข่งขันคล้ายกับ ไทยลีก 4 และมีการแข่งขันทั้งหมด 4 รุ่นได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 13 ปี, 15 ปี, 17 ปี และ 19 ปี

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. https://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัปภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
  2. "แถลงแล้ว ไทยลีก-ด.1 เพิ่ม 18 ทีม เพลย์อ๊อฟเริ่มหวด ธ.ค." SMM Sport. SMM Sport. 9 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "ทีพีแอลได้ข้อสรุปไทยลีกตกชั้น5ทีม". สยามกีฬารายวัน. 31 January 2014. สืบค้นเมื่อ 10 September 2014.
  4. "ไทยลีกเพิ่ม 20 ทีมถาวร "กูปรี" รอด! ร่วงทีมเดียว". ผู้จัดการออนไลน์. 30 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
  5. "โฉมใหม่! ส.บอลตั้งบริษัทพรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ (PLT)"". โกล ไทยแลนด์. 15 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ตั้งบริษัทไทยลีกใหม่! 'บิ๊กอ๊อด' โอนหุ้น 99.98% เข้าสมาคมฟุตบอลฯ". ไทยรัฐ. 20 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "สรุปการแถลงข่าว "FA THAILAND ROADMAP 2017-2019"". สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ. 15 ธันวาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. รายที่ 8! "อัสซัมเซา"จารึกประวัติศาสตร์ ยิงครบ 100 ประตูในไทยลีก
  9. 10 อันดับดาวยิงสูงสุดตลอดกาลไทยลีก ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2565
  10. ไทยรัฐ: วันนี้ที่รอคอย “เฮเบอร์ตี” ยิง 1 ประตูใส่ เทโร รั้งดาวซัลโวตลอดกาลไทยลีก
  11. SMMSPORT: 10 ความเป็นที่สุด ศึกไทยลีก 2020/21 - บทความฟุตบอลไทย
  12. ""บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" คว้าแชมป์ไทยลีกเร็วสุดในประวัติศาสตร์". สำนักข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  13. 'เมืองทอง' ทำสถิติชนะ 14 นัดติด ทาบ 'บุรีรัมย์' หลังเฉือนชนะบีจี 2-1
  14. Finally a win for Super Power - Bangkok Post
  15. สถิติตลอดกาลไทยลีก! "ฉลามชล" ถลกหนัง เชียงใหม่ สุดมันส์ 7-5
  16. 'เอไอเอสเพลย์' ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก ฤดูกาล 2021
  17. สมาคม - ไทยลีก ผนึก AIS "แพลตฟอร์มฟุตบอลไทย" รับชมฟุตบอลไทยได้หลากหลายช่องทาง
  18. "ประกาศรางวัล และโล่ห์เกีรยติยศ ฟุตบอลสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก และลีกดิวิชั่น 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
  19. http://www.goal.com/th/ข่าว/official-จากชางระดบโลก-สบอลเปดตว-5-ถวยแชมปไทยลกเอฟเอ-คพ/syw96erimw051a2aih1lqwd11 ส.บอล ทำการเปิดตัวถ้วยชนะเลิศไทยลีก ทั้ง 4 ดิวิชั่น และถ้วยช้าง เอฟเอ คัพ ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ซีซั่น ฝีมือจากช่างระดับโลก
  20. สมาคมบอลฯประกาศเกียรติคุณบุคลากรฟุตบอล FA Thailand Awards 2020
  21. "สมาคมฯ จัดงานประกาศเกียรติคุณ "FA Thailand Awards 2019 "". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.
  22. "สมาคมฯ จัดงานประกาศเกียรติคุณ "FA Thailand Awards 2018 "". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข