ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2552

(เปลี่ยนทางจาก ไทยพรีเมียร์ลีก 2552)

ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2552 เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพระดับสุงสุดของ ประเทศไทย ภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2552 ฤดูกาลนี้มี 3 ทีมเพิ่มเข้ามาจาก ไทยลีกดิวิชัน 1 ได้แก่ เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด, ศรีราชา เอฟซี และราชนาวี ระยอง โดยฤดูกาลนี้มีสนามแข่งขันกระจายอยู่ใน 8 จังหวัด

ไทยพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล2552
ทีมชนะเลิศเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
ขนะเลิศไทยลีก สมัยแรก
ชนะเลิศลีกสูงสุด สมัยแรก
ตกชั้นจุฬา ยูไนเต็ด
นครปฐม เอฟซี
ศรีราชา เอฟซี
เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2553เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
เอเอฟซี คัพ ฤดูกาล 2553การท่าเรือไทย
(ในฐานะชนะเลิศ
ไทยเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2552)
จำนวนประตู554 ประตู
จำนวนประตูเฉลี่ย2.31 ประตู/นัด (240 นัด)
ผู้ทำประตูสูงสุด อานนท์ สังสระน้อย
(บีอีซี เทโรศาสน) 18 ประตู
ทีมเหย้า
ชนะสูงสุด
บีอีซี เทโรศาสน 5-0 จุฬา ยูไนเต็ด
ทีมเยือน
ชนะสูงสุด
ราชนาวี ระยอง 0-3 ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร,


ศรีราชา เอฟซี 0-3 การท่าเรือไทย,
ชลบุรี เอฟซี 2-5 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด,
ทีโอที 1-4 บีอีซี เทโรศาสน,
บีอีซี เทโรศาสน 1-4 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด,
สมุทรสงคราม เอฟซี 0-3 ราชนาวี ระยอง,
โอสถสภา เอ็ม 150 0-3 บีอีซี เทโรศาสน,
ราชนาวี ระยอง 0-3 ทีโอที,


นครปฐม เอฟซี 2-5 บางกอกกล๊าส
จำนวนประตูสูงสุดชลบุรี เอฟซี 2-5 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด,
นครปฐม เอฟซี 2-5 บางกอกกล๊าส
(7 ประตู)
ชนะติดต่อกัน
มากที่สุด
เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด (7 นัด)
ไม่แพ้ติดต่อกัน
มากที่สุด
แบงค็อก ยูไนเต็ด (14 นัด)
แพ้ติดต่อกัน
มากที่สุด
นครปฐม เอฟซี (6 นัด)
จำนวนผู้ชมสูงสุดราชนาวี ระยอง - ชลบุรี เอฟซี (17,000 คน)
2551
2553

ภาพรวมก่อนการแข่งขัน แก้

ก่อนหน้าที่การแข่งขันจะเริ่ม ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการปรับปรุงการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ให้มีมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับ โดยได้มีการจัดตั้ง นิติบุคคลเพื่อทำการบริหาร และจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยขึ้น จึงได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ขึ้น โดยมี วิชิต แย้มบุญเรือง อดีตนัก ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นประธานกรรมการ และออกระเบียบให้ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ ต้องจัดตั้งในรูปนิติบุคคล (บริษัท) เพื่อดำเนินการบริหารกิจการสโมสรฟุตบอลอาชีพให้ตามมาตรฐานตามที่ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ได้วางไว้ โดยมีระเบียบหลักๆ ในการดำเนินการ ดังนี้

  • สโมสรฟุตบอลจะต้องยื่นความจำนงจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมฯ และเมื่อได้รับการตอบรับเรียบร้อยแล้วให้นำหลักฐานต่างๆ มาแสดงต่อคณะกรรมการอำนวยการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก
  • สโมสรฟุตบอลจะต้องยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์ ภายใต้กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการที่รวมการแสวงหาผลกำไรไว้ด้วย
  • สโมสรฟุตบอลที่ได้รับการตอบรับให้เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลจะต้องส่งงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยงบกำไรขาดทุนและงบดุล ที่ได้รับการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายไทย
  • สโมสรฟุตบอลจะต้องจัดให้มีสนามแข่งขัน เพื่อใช้เป็นสนามเหย้า โดยสภาพทั่วไปของสนามที่จะใช้ในการแข่งขัน จะต้องมีมาตรฐานดังต่อไปนี้
    • มีอัฒจันทร์ที่จุผู้ชมได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน และมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
    • มีห้องอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เช่น
    • ห้องผู้ตัดสิน มีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 12 เมตร
    • ห้องพักนักกีฬาพร้อมห้องน้ำ มีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 40 ตารางเมตร
    • ห้องผู้สื่อข่าว
    • สถานที่จัดไว้สำหรับแถลงข่าว
    • สถานที่กลาง เพื่อให้นักกีฬาพบปะสื่อมวลชนและแฟนบอล
    • มีขนาดสนามแข่งขันได้มาตรฐานของฟีฟ่า และผิวเรียบ และมีหญ้าปกคลุมสม่ำเสมอ เสาประตูทั้งสองข้างต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐาน
  • สโมสรฟุตบอลจะต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการทางด้านธุรกิจการตลาด การบริหารจัดการแข่งขัน และมวลชนสัมพันธ์
  • สโมสรฟุตบอลมีเจ้าหน้าที่บริหารทีม โค้ช และนักกีฬา มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ (ไทยพรีเมียร์ลีก, ลีกดิวิชั่น 1, หรือ ลีกภูมิภาค แล้วแต่กรณี)
  • สโมสรฟุตบอลยินยอมให้เจ้าหน้าที่หรือผู้แทนของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ หรือผู้แทนบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ไปตรวจสนามได้ตลอดเวลา

กฎการแข่งขัน แก้

  • ใช้การแข่งขันในระบบ เหย้า-เยือน โดยทุกทีมจะพบกันหมด
  • ผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม
  • เสมอกันจะได้ทีมละ 1 แต้ม
  • ทีมชนะเลิศจะได้สิทธิไปเตะรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม
  • หากคะแนนเท่ากันให้ดูสถิติการพบการตัวต่อตัวของทั้งสองทีมเพื่อตัดสินอันดับ
  • ทีม 3 อันดับท้ายตารางคะแนน จะตกชั้นลงไปเล่นไทยลีกดิวิชัน 1ในฤดูกาลถัดไป

สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขัน แก้

สโมสร ที่ตั้งสโมสร ผู้ฝึกสอน ฤดูกาลแรก
ที่เข้าร่วม
ผู้ผลิตชุดแข่ง ผู้สนับสนุนหลัก สนามเหย้า ความจุ
การท่าเรือไทย คลองเตย สะสม พบประเสริฐ 2539/40 อัมโบร บจก.ลีเกิ้ล โปรเฟสชั่นแนล แพท สเตเดี้ยม 5,000
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พระนครศรีอยุธยา ทองสุข สัมปหังสิต 2547/48 เดฟโฟ่ ฟิลิปส์ สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6,000
จุฬา ยูไนเต็ด ปทุมวัน พิชัย ปิตุวงศ์ 2539/401 แกรนด์สปอร์ต ทรีบรอดเเบรด์ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25,000
ชลบุรี เอฟซี ชลบุรี เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 2549 เอฟบีที ผลิตภัณฑ์ช้าง สนามกีฬาสิรินธร 5,000
ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร2 สมุทรสาคร ประจักษ์ เวียงสงค์ 2539/40 เดฟโฟ่ โรงงานยาสูบ สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร 6,378
ทีโอที นนทบุรี พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ 2539/40 เดียดอร่า บมจ.ทีโอที
(ไม่ได้ติดตรงหน้าอกเสื้อ)
ธันเดอร์โดม สปอร์ตคอมเพล็กซ์ เมืองทองธานี 12,000
นครปฐม เอฟซี นครปฐม ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน 2550 คูล สปอร์ต ผลิตภัณฑ์ช้าง สนามกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน 4,000
บางกอกกล๊าส3 ปทุมธานี สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ 2539/403 อัมโบร ลีโอเบียร์ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ คลอง 6 5,000
แบงค็อก ยูไนเต็ด ดินแดง สมชาย ทรัพย์เพิ่ม 2546/474 อาดิดาส ผลิตภัณฑ์ช้าง สนามกีฬาศูนย์เยาวชนฯ (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง 10,320
บีอีซี เทโรศาสน หนองจอก ตะวัน ศรีปาน 2539/40 ไนกี้ ช่อง 3, สายการบินเอมิเรตส์ สนามบีอีซี เทโรศาสน หนองจอก 5,000
พัทยา ยูไนเต็ด5 เมืองพัทยา จเด็จ มีลาภ 25515 แกรนด์สปอร์ต ผลิตภัณฑ์ช้าง สนามกีฬาหนองปรือ​ (โค้ก​ จำลอง-เสมอวงศ์) 5,000
เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด นนทบุรี อรรถพล บุษปาคม ยังไม่เคยเข้าร่วม อาดิดาส ยามาฮ่า ธันเดอร์โดม สปอร์ตคอมเพล็กซ์ เมืองทองธานี 12,000
ราชนาวี ระยอง6 ระยอง สุขสันต์ คุณสุทธิ์ 2539/40 เทมโป ซีพี สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง 10,000
ศรีราชา เอฟซี ศรีราชา ครองพล ดาวเรือง ยังไม่เคยเข้าร่วม แกรนด์สปอร์ต ผลิตภัณฑ์ช้าง สนามกีฬาสิรินธร 5,000
สมุทรสงคราม เอฟซี สมุทรสงคราม สมชาย ชวยบุญชุม 2551 แคปป้า บจก.โดเมสติค (1992) สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสงคราม 5,000
โอสถสภา เอ็ม 150 ปทุมธานี อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ 2539/40 แกรนด์สปอร์ต เครื่องดื่มชูกำลัง เอ็ม-150 สนามฟุตบอลหมู่บ้านธนารมณ์ 2,200

1เข้าร่วมการแข่งขันในนาม สโมสรสินธนา

2เปลื่ยนชื่อจาก สโมสรพนักงานยาสูบ

3โอนสิทธิ์และเข้าร่วมการแข่งขันต่อจาก สโมสรธนาคารกรุงไทย

4เปลื่ยนชื่อจาก สโมสรมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

5โอนสิทธิ์และเข้าร่วมการแข่งขันต่อจาก สโมสรโค้ก-บางพระ ชลบุรี

6เปลื่ยนชื่อจาก ราชนาวีสโมสร

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน แก้

สโมสร ผู้ฝึกสอนที่ออก เหตุผล แทนที่โดย วันที่ได้รับการแต่งตั้ง อันดับในตารางคะแนน
ชลบุรี เอฟซี   จเด็จ มีลาภ หมดสัญญา   เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง มกราคม 2552 ก่อนเปิดฤดูกาล
จุฬา ยูไนเต็ด   เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง   Carlos Ferreira มกราคม 2552
ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร   ประจักษ์ เวียงสงค์   อรรถพล บุษปาคม มกราคม 2552
เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด   สุรศักดิ์ ตั้งสุรัตน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลทีมเยาวชน[1]   อรรถพล บุษปาคม เมษายน 2552 4
ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร   อรรถพล บุษปาคม ย้ายไปเมืองทองฯ ยูไนเต็ด [2]   กิจ มีศรีสุข 11
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   ประพล พงษ์พานิช ลาออก   ทองสุข สัมปหังสิต พฤษภาคม 2552 12
บางกอกกล๊าส   Hans R. Emser ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลทีมเยาวชน[3]   สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ มิถุนายน 2552 1
บีอีซี เทโรศาสน   Christophe Larrouilh ลาออก[4]   ตะวัน ศรีปาน 5
พัทยา ยูไนเต็ด   พันธ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ลาออก   วิสูตร วิชายา 13
พัทยา ยูไนเต็ด   วิสูตร วิชายา รับตำแหน่งแทนชั่วคราว   จเด็จ มีลาภ 13
จุฬา ยูไนเต็ด   Carlos Ferreira ลาออก   พิชัย ปิตุวงศ์ สิงหาคม 2552 16
ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร   กิจ มีศรีสุข ปลดออก   ประจักษ์ เวียงสงค์ 12
นครปฐม เอฟซี   ชัชชัย พหลแพทย์   ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน กันยายน 2552 14

ตารางคะแนนเมื่อสี้นสุดฤดูกาล แก้

สิ้นสุดฤดูกาล วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อันดับ ทีม แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ผลต่าง คะแนน หมายเหตุ
1 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด 30 19 8 3 48 20 +28 65 ได้รับสิทธิ์ร่วม เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2553
2 ชลบุรี เอฟซี 30 18 8 4 50 30 +20 62
3 บางกอกกล๊าส 30 16 8 6 45 31 +14 56
4 บีอีซี เทโรศาสน 30 15 6 9 53 34 +19 51
5 โอสถสภา เอ็ม 150 30 13 8 9 36 32 +4 47
6 การท่าเรือไทย 30 12 8 10 33 30 +3 44 ได้รับสิทธิ์ร่วม เอเอฟซีคัพ 25531
7 ทีโอที 30 10 12 8 33 33 0 42
8 ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร 30 8 13 9 29 32 -3 37
9 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 30 9 9 12 37 41 -4 36
10 สมุทรสงคราม เอฟซี 30 9 7 14 22 31 -9 34
11 พัทยา ยูไนเต็ด 30 7 11 12 27 33 -6 32
12 ราชนาวี ระยอง 30 8 6 16 28 39 -11 30
13 แบงค็อก ยูไนเต็ด 30 5 15 10 24 34 -10 30
14 ศรีราชา เอฟซี 30 8 6 16 28 34 -6 30
ตกชั้นไปแข่งขัน
ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2553
15 จุฬา ยูไนเต็ด 30 4 14 12 29 47 -18 26
16 นครปฐม เอฟซี 30 6 7 17 32 53 -21 25

1. การท่าเรือไทย ได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซีคัพ ฤดูกาล 2553 ในฐานะทีมที่ชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2552

ชนะเลิศไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2552
 

เมืองทอง-หนองจอก
 
ชนะเลิศครั้งแรก

ผลการแข่งขัน แก้

  TPF PEA CUU CHO TTM TOT NPT BGF BUF BEC PTY MTU NVR SRC SMK OSP
TPF 0-1 1-0 1-2 0-1 0-0 1-1 1-0 0-0 0-1 1-0 1-0 2-1 3-0 1-0 2-1
PEA 2-2 2-2 2-2 0-0 0-2 3-2 1-2 2-0 2-0 4-1 1-2 4-1 0-2 2-2 0-1
CUU 0-2 3-1 1-1 1-1 1-1 1-3 1-2 0-0 1-2 1-1 1-1 1-1 1-0 0-0 1-2
CHO 2-1 3-0 2-2 2-2 2-1 3-0 1-3 5-1 1-0 2-0 2-5 2-1 3-2 2-0 1-0
TTM 2-1 1-0 1-1 2-1 1-1 4-0 2-1 2-2 1-2 0-0 0-2 1-1 0-0 0-1 0-0
TOT 1-2 1-1 3-0 0-0 1-1 2-1 2-1 1-1 1-4 3-1 0-0 2-1 1-0 0-1 1-2
NPT 2-0 1-1 2-2 1-2 1-2 3-1 2-5 1-3 1-0 3-1 1-1 2-1 1-3 0-1 0-1
BGF 1-1 3-1 4-2 1-0 2-0 1-1 1-0 2-1 3-3 2-1 1-0 1-0 1-0 2-1 0-0
BUF 2-2 0-2 0-1 1-1 2-1 1-1 0-0 1-1 1-1 0-0 1-2 0-1 1-0 0-1 1-2
BEC 3-1 0-1 5-0 1-2 3-0 4-0 3-0 1-1 0-0 3-1 1-4 2-1 3-2 2-0 2-3
PTY 1-1 2-0 2-1 0-0 4-0 0-1 1-0 2-2 2-0 0-0 1-1 1-0 1-1 0-0 1-1
MTU 3-0 1-0 2-1 1-1 0-0 3-0 3-1 1-0 2-2 2-0 1-0 2-1 0-0 3-1 2-1
NVR 1-2 1-1 1-1 0-1 0-3 0-3 1-1 0-1 0-1 0-0 3-2 1-2 1-0 2-0 2-1
SRC 0-3 2-0 0-1 0-1 1-0 1-1 2-0 2-0 0-0 4-2 0-1 0-1 0-1 1-2 2-2
SMK 0-0 0-1 3-0 0-1 1-0 0-1 1-1 1-1 1-1 1-2 1-0 0-1 0-3 2-0 0-2
OSP 2-1 2-2 1-1 1-2 1-1 0-0 3-1 2-0 0-1 0-3 1-0 1-0 0-1 1-3 2-1

อันดับแต่ละสัปดาห์ แก้

  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
เมืองทอง-หนองจอก 2 1 1 2 5 4 4 4 4 4 4 2 2 4 3 3 3 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
ชลบุรี 4 2 3 5 3 3 3 2 2 2 2 3 3 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2
บางกอกกล๊าส 7 4 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3 3
บีอีซี เทโรศาสน 13 14 12 8 4 5 5 5 5 7 7 7 6 5 5 7 8 6 6 5 5 5 4 4 4 4 4 4 4 4
โอสถสภา เอ็ม-150 5 11 6 4 2 2 2 3 3 3 3 4 4 3 4 4 4 4 4 4 4 4 6 5 5 5 5 5 5 5
การท่าเรือไทย 14 9 4 6 6 7 7 7 8 5 6 5 5 7 7 5 5 5 5 6 6 6 5 6 6 6 6 6 6 6
ทีโอที 6 5 7 7 8 9 6 6 7 8 5 9 11 9 8 8 9 10 11 7 7 7 8 8 8 8 7 7 7 7
ทีทีเอ็ม-สมุทรสาคร 1 7 10 11 13 14 11 11 6 9 9 10 8 6 6 6 6 7 8 8 9 10 7 7 7 7 8 8 8 8
การไฟฟ้า 12 10 5 3 7 8 8 9 9 12 11 11 10 11 12 11 11 8 7 11 13 13 11 12 9 9 9 9 9 9
สมุทรสงคราม 3 8 11 13 15 12 12 8 11 13 13 14 14 12 10 10 10 11 12 13 10 11 9 11 10 12 10 10 10 10
พัทยา ยูไนเต็ด 8 12 14 14 10 13 13 12 13 10 12 12 12 13 13 13 12 12 10 12 11 8 10 9 11 10 11 12 12 11
ราชนาวี-ระยอง 16 16 13 9 11 11 14 13 12 14 14 13 13 15 15 14 14 13 13 10 12 12 13 13 13 13 13 11 11 12
บางกอก ยูไนเต็ด 11 6 9 10 9 10 10 14 14 11 10 8 7 8 9 9 7 9 9 9 8 9 12 10 12 11 12 13 13 13
ศรีราชา-สันนิบาต 9 13 15 15 14 15 15 15 15 15 15 16 15 14 14 15 15 15 15 15 15 15 15 16 16 16 16 15 14 14
จุฬา ยูไนเต็ด 15 15 16 16 16 16 16 16 16 16 16 15 16 16 16 16 16 16 16 16 16 16 16 15 15 15 15 14 15 15
นครปฐม 10 3 8 12 12 6 9 10 10 6 8 6 9 10 11 12 13 14 14 14 14 14 14 14 14 14 14 16 16 16
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
5 อันดับแรก
พื้นที่ตกชั้น
ตกชั้นอันดับสุดท้าย

อันดับผู้ทำประตูสูงสุด แก้

ข้อมูลเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ผู้ทำประตู ประตู [5] ทีม
  อานนท์ สังสระน้อย 18 บีอีซี เทโรศาสน
  Kone Mohamed 13 ชลบุรี เอฟซี
  ดาโน เซียกา 10 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
  พิพัฒน์ ต้นกันยา การท่าเรือไทย
  อาทิตย์ สุนทรพิธ 9 ชลบุรี เอฟซี
  ศรายุทธ ชัยคำดี โอสถสภา เอ็ม 150
  สมปอง สอเหลบ จุฬา ยูไนเต็ด
  Soumahoro Yaya เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
  Ajayi Gbenga Samuel 8 บางกอกกล๊าส
  Michael Thomas Byrne นครปฐม เอฟซี (4 ประตู)
ชลบุรี เอฟซี (4 ประตู)
  นันทวัฒน์ แทนโสภา บางกอกกล๊าส
  สุริยา ดอมไธสง เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด (2 ประตู)
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (6 ประตู)
  สุทธินันท์ นนที ราชนาวี ระยอง
  Anderson Machado 7 ชลบุรี เอฟซี (3 ประตู)
พัทยา ยูไนเต็ด (4 ประตู)
  Bekombo Ekollo ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร
  ชาคริต บัวทอง บีอีซี เทโรศาสน
  ชัชปภพ อุสาพรม ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร
  ชาตรี ฉิมทะเล บางกอกกล๊าส
  จีรวัฒน์ มัครมย์ การท่าเรือไทย
  Conzalez Gaston Raul ศรีราชา เอฟซี
  Aron Muniz Teixeira Da Silva 6 จุฬา ยูไนเต็ด
  พิภพ อ่อนโม้ ชลบุรี เอฟซี
  สุเชาว์ นุชนุ่ม ทีโอที
  ธีรศิลป์ แดงดา เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้