สโมสรฟุตบอลทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด

ระวังสับสนกับ สโมสรฟุตบอลบางกอก ในไทยลีก 3

สโมสรฟุตบอลทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เคยชนะเลิศการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 1 สมัยในปี พ.ศ. 2549 และได้รับสิทธิไปร่วมเล่นใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในอดีตเคยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามาเป็นผู้สนับสนุน จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด มาจนถึงปัจจุบัน

แบงค็อก ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
ฉายาแข้งเทพ
ก่อตั้งพ.ศ. 2531 (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
พ.ศ. 2552 (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
สนามสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต
Ground ความจุ25,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท ทรู ยูไนเต็ด ฟุตบอล คลับ จำกัด
(ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น)
ประธานขจร เจียรวนนท์
ผู้จัดการสุรเดช อนันทพงศ์
ผู้ฝึกสอนธชตวัน ศรีปาน
ลีกไทยลีก
2565–66ไทยลีก, อันดับที่ 2
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ประวัติสโมสร แก้

ยุคแรก แก้

สโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จากปณิธานตั้งมั่นของผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้องการสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพชั้นนำของประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากมุ่งส่งเสริมด้านการเรียน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมการกีฬา โดยจัดให้มีศูนย์กีฬาและสนามกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรตลอดจนบุคคลภายนอก และได้ส่งทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันตามคำเชิญของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และฟุตบอลถือเป็นกีฬาหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยได้ส่งสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันเรื่อยมา

เข้าร่วมกับสมาคมฟุตบอล แก้

เมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2531 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ร่วมเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ก่อนจะสามารถเลื่อนระดับชั้นสู่ถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี พ.ศ. 2533 และเลื่อนขึ้นไปแข่งในถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2534 จากการบ่มเพาะฝึกฝนพัฒนาทักษะของทีมเรื่อยมา จนปี พ.ศ. 2543 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ตำแหน่งรองชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทำให้ได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมการแข่งขันในไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2544/2545 และจบที่อันดับ 3

ไทยพรีเมียร์ลีก แก้

 
เสื้อแข่งขันของสโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพในปี 2549

ในฤดูกาล 2545/2546 สโมสรคว้าแชมป์ไทยลีกดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ ทำให้ได้รับสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งถือเป็นผลงานในระดับที่ดีที่สุดครั้งแรกของการก่อตั้งสโมสร และถือเป็นทีมสโมสรเดียวจากสถาบันการศึกษาที่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศได้โดยที่มีนักกีฬาส่วนใหญ่มาจากนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย จนมาถึงการเข้าร่วมแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็สามารถคว้าแชมป์ลีกสุงสุดของไทยได้สำเร็จ จากทีมร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม และได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และยังได้รับเชิญจากสมาคมฟุตบอลประเทศสิงคโปร์ให้เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลสิงคโปร์คัพ 2007 (ได้อันดับ 3) และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 ในไทยพรีเมียร์ลีก ส่วนผลแข่งขันจากรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008 จับฉลากได้อยู่ในสายเอฟ ซึ่งแข่งขันกับทีมคาวาซากิ ฟรอนตาเล่ จากญี่ปุ่น อาเรมามาลังจากอินโดนีเซีย และชุนนัม ดรากอนส์จากเกาหลีใต้ โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 6 นัด ทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพเสมอ 3 และแพ้ 3 ตกรอบแบ่งกลุ่มของรายการนี้ แต่ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทีมสู่การแข่งขันอาชีพระดับนานาชาติ

เปลี่ยนชื่อเป็นแบงค็อก ยูไนเต็ด แก้

ปี พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด จากการร่วมเป็นพันธมิตรกับกรุงเทพมหานคร ด้วยหลักการและเหตุผลที่ต้องการพัฒนาทีมของมหาวิทยาลัยให้เป็นทีมของชาวกรุงเทพฯ และเพื่อยกระดับมาตรฐานฟุตบอลอาชีพของไทยสู่ความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว ทำให้มีการปรับเปลี่ยนของสโมสรหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนตัวประธานสโมสรจากเรือโทหญิงสุธี บูรณธนิต เป็นนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และเปลี่ยนสัญลักษณ์ตลอดจนสีชุดแข่งขันจากสีประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสีประจำกรุงเทพมหานคร รวมทั้งย้ายสนามแข่งขันจากสนามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มาเป็นสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

และเมื่อเดือนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมสนับสนุนโดยการถือหุ้นรายใหญ่ของสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตให้เกิดแก่วงการฟุตบอลไทย รวมทั้งได้เริ่มจัดตั้ง สถาบันสอนฟุตบอลกรุงเทพมหานคร หรือ แบงค็อก ฟุตบอล อคาเดมี จากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร พร้อมกับสร้างปูทางสู่ระดับนานาชาติให้กับทีมด้วยการดึงนักเตะต่างชาติมาเข้าร่วมทีม ตลอดจนรวมพลนักเตะระดับชาติที่มีชื่อหลายคนมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีม ด้วยเป้าหมายสำคัญกับการขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของไทยพรีเมียร์ลีก แต่สโมสรก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังจนจบฤดูกาล 2552 และฤดูกาล 2553 ด้วยอันดับ 13 และ 15 ตามลำดับ ตกชั้นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลต่อมา

ตกชั้น แก้

หลังจากตกชั้นลงสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 สโมสรก็ได้ตั้งเป้าหมายในการกลับขึ้นไปแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนแปลงทีมใหม่ทั้งหมดเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและสร้างรากฐานให้มีความพร้อมในการเป็นสโมสรฟุตบอลชั้นนำของประเทศ โดยในฤดูกาล 2554 สโมสรจบการแข่งขันด้วยอันดับ 6 ของไทยลีก ดิวิชั่น 1 พลาดการเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกอย่างน่าเสียดาย สำหรับในฤดูกาล 2555 ภายใต้การนำของ สะสม พบประเสริฐ แม้จะออกสตาร์ทช่วงต้นฤดูกาลไม่ดีนัก แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายสโมสรจึงกลับมาทำผลงานได้ดีในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล ส่งผลให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 คว้าตั๋วใบสุดท้ายเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกได้ในที่สุด

ยุคใหม่และการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก แก้

 
ผู้เล่นทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ในนัดที่เปิดบ้านพบกับเอสซีจี เมืองทองฯ ในปี 2558

ปี พ.ศ. 2556 ขจร เจียรวนนท์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด คนใหม่ ต่อจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ซึ่งมีการปรับปรุงสโมสรให้มีความแข็งแกร่งขึ้นในหลายๆ ด้านเพื่อสู้ศึกไทยพรีเมียร์ลีก โดยในปีเดียวกัน ผู้สนับสนุนหลักอย่าง ทรูวิชั่นส์ ได้ทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่กว่า 60 ล้านบาทเพื่อใช้สนับสนุนสโมสร พร้อมกับเปิดตัวนักเตะหน้าใหม่ที่สโมสรดึงเข้ามาร่วมทีมอาทิเช่น รณชัย รังสิโย, ปกาศิต แสนสุข, พงษ์พิพัฒน์ คำนวณ, โทนี่ คอสต้า และ มาริโอ ดาซิลวา เข้ามาผนึกกำลังร่วมกับนักเตะชุดเก่าเมื่อฤดูกาลที่แล้วซึ่งช่วยให้ศักยภาพของทีมโดยรวมดีขึ้น สำหรับเป้าหมายในฤดูกาล 2556 สะสม พบประเสริฐ หัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งเป้าที่จะพาทีมให้อยู่รอดในลีกสูงสุดของประเทศไทยให้ได้ ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่เป้าหมายที่สูงกว่าในอันดับต่อไป

สำหรับผลการแข่งขันในฤดูกาล 2556 สโมสรออกสตาร์ทได้ไม่ดีนักเก็บได้เพียง 1 คะแนนจากการแข่งขัน 7 นัดแรก ทำให้ถูกมองว่าเป็นทีมเต็งในปีนี้ที่ต้องตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชั่น 1 แต่ด้วยกำลังใจจากกองเชียร์ ประกอบกับความมุ่งมั่นของทีมงานและนักเตะ ส่งผลให้สโมสรมีผลงานที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล จนสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 และรักษาสถานะสโมสรในลีกสูงสุดของประเทศไทยได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก่อนจะไต่ขึ้นมาตามลำดับภายใต้การคุมทีมของ อาเลชังดรี ปอลกิง จนกระทั่งในฤดูกาล 2559 แข้งเทพ ก็ประสบความสำเร็จในการคว้าสิทธิ์ไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2017 หลังจากจบฤดูกาลด้วยรองแชมป์

ในการแข่งขันถ้วยสโมสรเอเชียของ แข้งเทพ ในปี 2560 เริ่มต้นที่รอบเพลย์ออฟ ซึ่งพวกเขาเปิดบ้านเจอกับสโมสรฟุตบอลยะโฮร์ดารุลตาซิม ทีมแชมป์มาเลเซียซูเปอร์ลีก แต่ แข้งเทพ กลับพลาดท่าดวลจุดโทษแพ้ไป 6-5 ตกรอบไปในที่สุด และถือเป็นการพ่ายแพ้ยะโฮร์ของทีมสโมสรจากไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ในปี 2566 สโมสรชนะเลิศไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 นับเป็นการชนะเลิศรายการแรกของสโมสรนับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อทีมจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นแบงค็อก ยูไนเต็ด

สัญลักษณ์สโมสร แก้

สนามแข่งขัน แก้

สนามเหย้าของแบงค็อก ยูไนเต็ด
สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ใช้งานจนถึงฤดูกาล 2558
สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ใช้งานตั้งแต่ฤดูกาล 2559

แบงค็อก ยูไนเต็ด ย้ายจากสนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ไปใช้ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีความจุผู้ชม 20,000 ที่นั่ง และได้มาตรฐานจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2559 ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมเพื่อลงแข่งขันในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ปฏิวัติ คำไหม
2 DF   พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา
3 DF   อีเวร์ตง (กัปตันทีม)
4 DF   มานูเอล บีร์
5 DF   พุทธินันท์ วรรณศรี
6 DF   นิติพงษ์ เสลานนท์
7 MF   อานนท์ อมรเลิศศักดิ์
8 MF   วิศรุต อิ่มอุระ
10 MF   บัสเซล ญระดิ
11 MF   รุ่งรัฐ ภูมิจันทึก
17 MF   ทัศนพงศ์ หมวดดารักษ์
18 MF   ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์
19 FW   ชญาวัต ศรีนาวงษ์
20 FW   กัณตภณ คีรีแลง
22 FW   อดิศักดิ์ ไกรษร
24 DF   วันชัย จารุนงคราญ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
26 DF   สุพรรณ ทองสงค์
27 MF   วีระเทพ ป้อมพันธุ์
28 MF   ทศวรรษ ลิ้มวรรณเสถียร
29 FW   วิลเลี่ยน โมต้า
30 MF   รัชนาท อรัญไพโรจน์
34 GK   วรุฒ เมฆมุสิก
39 MF   ปกเกล้า อนันต์
51 DF   กฤษฎา นนทรัตน์
52 GK   ศุภณัฐ ทรวดทรง
81 GK   ณพล วงศ์บุญ
88 GK   ศุภณัฐ สุดาทิพย์
90 FW   วังเดร์ ลูอีส
93 FW   มะห์มูด อีด
94 FW   อามาดู ซูกูนา
96 DF   บุญทวี เทพวงค์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 FW   ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
15 MF   นันทวัฒน์ กกฝ้าย (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
21 MF   ชยธร เทพสุวรรณวร (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
23 MF   เจษฎากร ขาวงาม (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
35 MF   พัสกร เบี้ยวทุ่งน้อย (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
42 DF   กิตติศักดิ์ แดงสกุล (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
47 DF   อาณาภัทร นาคงาม (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
70 GK   กรวิชญ์ มูมะหะหมัดซอและ (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
DF   อัษฎาวุธ ช้างทอง (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF   นรากรณ์ แก่งกระโทก (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
FW   ชูคิด วรรณประเภา (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF   กฤษณพล บุญชารี (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
GK   ภูวดล พลสงคราม (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
DF   ณัฐธนนท์ เจริญสิงคีวรรณ (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF   จิรายุ เนียมไธสง (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF   ภัคพล ไหมหมาด (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF   ณัชชา พรมสมบูรณ์ (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF   ธนริน ทุมเสน (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
MF   ธนทัต หนูดี (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
MF   ศิรยศ ด่านสกุล (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
DF   ภูมิชนก แกมกล้า (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
MF   ธนวิชญ์ มารุจกล้า (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
MF   ปิยพงษ์ ปัญจวิทยาคม (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
GK   อิทธิกร โพสาวัง (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
FW   ดนัย เจมส์ สมาร์ท (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)
DF   ชลชาติ ทองจินดา (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)

ผู้เล่นชุดเยาวชน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทีมงาน แก้

ตำแหน่ง สัญชาติ ชื่อ
ประธานสโมสร   ขจร เจียรวนนท์
ผู้อำนวยการสโมสร   เอิร์นส์ มิดเดนดอร์ป
ผู้จัดการทีม   สุรเดช อนันทพงศ์
หัวหน้าผู้ฝีกสอน   ธชตวัน ศรีปาน
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝีกสอน   ซารีฟ สายนุ้ย
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝีกสอน   ภานุพงศ์ วงศ์ษา
โค้ชฟิตเนส   เปาโล อเล็กซานเดร
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู   ปาโวล ฮรันเคียลิก
นักกายภาพบำบัด   แอนดี้ ชิลลิงเกอร์
นักกายภาพบำบัด   นรีภัทร ลิ้มเทียมรัตน์, มงคล แซ่ท้าว, นคินทร์ สุวรรณหังสกุล
เจ้าหน้าที่ทีม   ปกป้อง พงศ์จันทรเสถียร, นิธินันท์ ศิริลดาจินดาเลิศ, ชัชชัย พึ่งทอง, สุวิทย์ พิมพ์สวรรค์

ทำเนียบผู้ฝึกสอน แก้

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
สมชาย ทรัพย์เพิ่ม   2549 – มีนาคม 2553 ชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549
วรกร วิจารณรงค์   มีนาคม – กรกฎาคม 2553
ทวีรักษ์ สิทธิพูลทอง   กรกฎาคม – สิงหาคม 2553
ประพล พงษ์พานิช   สิงหาคม 2553 – ตุลาคม 2554
สุวโรจน์ อภิวัฒน์วราชัย   ตุลาคม – พฤศจิกายน 2554
สะสม พบประเสริฐ   พฤศจิกายน 2554 – มกราคม 2557
รุย เบงตู   มกราคม – เมษายน 2557
ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล   เมษายน – มิถุนายน 2557
อาเลชังดรี ปอลกิง   มิถุนายน 2557 – ตุลาคม 2563 รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2559
รองชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2560
รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2561
ธชตวัน ศรีปาน   พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2565
ออเรลิโอ วิดมาร์   มีนาคม – ธันวาคม 2565
ธชตวัน ศรีปาน (รักษาการ)   ธันวาคม 2565 – รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2565–66
รองชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2565–66
ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566

สถิติ แก้

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ถ้วย ก/แชมเปียนส์คัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ผู้ทำประตูสูงสุด
ดิวิชั่น P W D L F A GD Pts Pos. ชื่อ ประตู
2545/46 ไทยลีกดิวิชั่น 1 22 13 8 1 42 10 +32 47 1
2546/47 ไทยพรีเมียร์ลีก 18 9 4 5 26 22 +4 31 4
2547/48 18 5 7 6 16 21 -5 22 7
2549 22 11 6 5 25 17 +8 39 1   อุบล ไก่แก้ว 7
2550 30 14 5 11 39 36 +3 47 4 รอบแบ่งกลุ่ม   กิตติศักดิ์ ศิริแว่น 8
2551 30 9 8 13 27 36 -9 35 10   สุริยา ดอมไธสง 8
2552 30 5 15 10 24 34 -10 30 13 รอบก่อนรองชนะเลิศ   อุบล ไก่แก้ว 4
2553 ไทยพรีเมียร์ลีก 30 5 9 16 25 52 -27 24 15 รอบสี่ รอบก่อนรองชนะเลิศ   ซารีฟ สายนุ้ย 5
2554 ไทยลีกดิวิชั่น 1 34 15 6 13 56 52 +4 51 6 รอบสอง รอบแรก   รอแม็ง กัสมี 13
2555 ไทยลีกดิวิชั่น 1 34 23 5 6 57 29 +28 74 3 รอบสาม รอบแรก 17
2556 ไทยพรีเมียร์ลีก 32 8 7 17 38 61 -23 31 13 รอบสี่ รอบแรก  สมปอง สอเหลบ 9
2557 38 15 14 9 38 37 +1 54 8 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบแรก   รอแม็ง กัสมี 12
2558 34 16 9 9 59 47 +12 57 5 รอบแรก รอบสอง   ดราแกน บอสโควิช 13
2559 31 26 2 3 72 36 +36 75 2 รอบแรก รอบก่อนรองชนะเลิศ 20
2560 ไทยลีก 34 21 3 10 97 57 +40 66 3 รองชนะเลิศ รอบสอง รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ รอบ 2 38
2561 34 21 5 10 68 36 +32 71 2 รอบแรก รอบสอง   ร็อบสัน 14
2562 30 13 11 6 55 32 +23 50 4 รอบรองชนะเลิศ รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ รอบ 2  เนลซอน โบนิยา 16
2563–64 30 15 6 9 57 39 +18 51 5 รอบรองชนะเลิศ งดจัดการแข่งขัน  ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม 12
2564–65 30 15 8 7 53 30 +23 53 3 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบ 8 ทีมสุดท้าย   เอเบร์ชี 15
2565–66 30 19 5 6 55 22 +33 62 2 รองชนะเลิศ รอบ 8 ทีมสุดท้าย   วิลเลี่ยน โมต้า 12
2566–67 รอบ 16 ทีมสุดท้าย ชนะเลิศ รอบ 16 ทีม

ชนะเลิศ

รองชนะเลิศ

อันดับที่สาม

เลื่อนชั้น

ตกชั้น

N/A = ไม่ทราบข้อมูล

ผลงานระดับทวีป แก้

ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน อันดับ
2550 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่มเอฟ   ช็อนนัมดรากอนส์ 0–0 2–3 อันดับที่ 4
  คาวาซากิ ฟรอนตาเล 1–2 1–1
  อาเรมามาลัง 0–0 0–1
2560 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบสอง   โจโฮร์ดารุลตักซิม 1–1
(ต่อเวลา)
(4–5 p)
2562 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบสอง   ฮานอย 0–1
2566–67 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่มเอฟ   ไลออนซิตีเซเลอส์ 1–0 2–1 อันดับที่ 1
  ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 3–2 2–3
  คิตฉี 1–1 2–1
รอบ 16 ทีม   โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส 2–2 0–1
(ต่อเวลา)
2–3

เกียรติประวัติ แก้

  ชนะเลิศ (1) : 2549
  รองชนะเลิศ (3) : 2559, 2561, 2565–66
  ชนะเลิศ (1) : 2545–46
  รองชนะเลิศ (2) : 2560, 2565–66
  ชนะเลิศ (1) : 2566

สโมสรพันธมิตร แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้