สะสม พบประเสริฐ
สะสม พบประเสริฐ (ชื่อเล่น บุุุ; เกิดวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2510) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทย เล่นในตำแหน่งกองกลาง ปัจจุบันเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับพีที ประจวบ ในไทยลีก
[[ไฟล์:ดดวดยพ | |||
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | สะสม พบประเสริฐ | ||
วันเกิด | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1967 | ||
สถานที่เกิด | จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.61 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว) | ||
ตำแหน่ง | กองกลาง | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | พีที ประจวบ (หัวหน้าผู้ฝึกสอน) | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1992–1997 | ธนาคารกสิกรไทย | 91 | (22) |
1998–2002 | บีอีซี เทโรศาสน | 45 | (13) |
รวม | 136 | (35) | |
ทีมชาติ | |||
1984 | ไทย ยู-17 | 1 | (0) |
1997 | ไทย | 8 | (1) |
จัดการทีม | |||
2001 | ไทย ยู-14 | ||
2003–2004 | ไทย ยู-16 | ||
2004–2005 | บีอีซี เทโรศาสน | ||
2009–2011 | การท่าเรือไทย | ||
2011 | บุรีรัมย์ | ||
2011 | ไทย ยู-16 | ||
2012–2014 | แบงค็อก ยูไนเต็ด | ||
2014 | ไทย ยู-19 | ||
2015–2018 | แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล | ||
2019–2023 | ชลบุรี | ||
2024– | พีที ประจวบ | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
สะสมเคยเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย และบีอีซี เทโรศาสน รวมกันเป็นเวลาถึง 10 ปี ในการเล่นฟุตบอลอาชีพ และเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติไทยในช่วง พ.ศ. 2540 โดยลงเล่นให้กับทีมชาติไทยไปทั้งหมด 8 นัด ทำได้ 1 ประตู หลังจากเลิกเล่นอาชีพกีฬาฟุตบอล สะสมได้ไปเรียนที่ประเทศเยอรมัน UEFA – A License by Deutscher Fussball-Bund เกี่ยวกับการเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอล แล้วเมื่อไปเรียนเสร็จเขาก็ได้กลับมาเป็นผู้วิจารณ์เกมฟุตบอลของสถานีโทรทัศน์ทรูวิชันส์และพีพีทีวีในประเภทรายการกีฬาฟุตบอล
ใน พ.ศ. 2544 สะสมรับหน้าที่ในการเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ใน พ.ศ. 2546 เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี จนถึง พ.ศ. 2547 โดยใน พ.ศ. 2547 สะสมเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับบีอีซี เทโรศาสน ต่อจากอรรถพล ปุษปาคม แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ใน พ.ศ. 2552 สะสมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของการท่าเรือ เอฟซี[1] ซึ่งเขาสามารถนำทีมคว้าแชมป์ไทยเอฟเอคัพและไทยลีกคัพได้ใน พ.ศ. 2552 และ 2553 ตามลำดับ จากนั้นใน พ.ศ. 2554 สะสมได้รับการแต่งตั้งจากสมาคมฟุตบอลไทยให้ไปคุมทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีชั่วคราว ซึ่งสะสมก็สามารถนำทีมคว้าแชมป์ เอเอฟเอฟ U-16 ยอร์ท แชมเปียนชิพ ได้สำเร็จด้วยการชนะลาวไปได้ 1 ประตูต่อ 0
สะสมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ใน พ.ศ. 2554 แต่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มเวลา เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว จึงถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายเทคนิคของสโมสร ใน พ.ศ. 2555 แบงค็อก ยูไนเต็ดได้เซ็นสัญญากับสะสมเป็นระยะเวลา 3 ปีในการคุมทีม
ใน พ.ศ. 2557 สะสมได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของแบงค็อก ยูไนเต็ด เนื่องจากเหตุผลของการวางแผนทีมในฤดูกาล 2014 ของสโมสรยังไม่มีความก้าวหน้า ใน พ.ศ. 2558 สะสมเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล
เกียรติประวัติ
แก้- นักเตะ
ธนาคารกสิกรไทย
- ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย (2): 1993-94, 1994-95
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (3): 1992, 1993, 1995
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ (4): 1994, 1995, 1996, 1997
บีอีซี เทโรศาสน
- ไทยพรีเมียร์ลีก (2): 2543, 2544/45
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (1): 2000
- ผู้จัดการทีม
ทีมชาติไทย
- เอเอฟเอฟ U-16 ยอร์ท แชมเปียนชิพ ชนะเลิศ ; 2011 กับ ทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี
สโมสร
- ชนะเลิศ (1): ไทยคม เอฟเอคัพ 2552
- ชนะเลิศ (1): โตโยต้า ลีกคัพ 2553
- อันดับที่ 3 ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2555 เลื่อนขึ้นสู่ ไทยพรีเมียร์ลีก
ชลบุรี
- รองชนะเลิศ (1): เอฟเอคัพ 2563–64
- รางวัลส่วนตัว
- ผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำเดือนของไทยลีก: กันยายน 2565[2]
การทำประตูในนามทีมชาติ
แก้# | วันที่ | สถานที่ | คู่แข่ง | สกอร์ | ผล | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 | กรุงเทพ, ไทย | สวีเดน | 1–3 | แพ้ | คิงส์คัพ 1997 |
อ้างอิง
แก้- ↑ Thai Port F.C. debut their new team manager, Sasom Pobprasert
- ↑ "รางวัลยอดเยี่ยมประจำเดือนกันยายน". Thai League. 13 October 2022. สืบค้นเมื่อ 18 October 2022.