สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด

อดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย

สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ในอดีตเคยชนะเลิศไทยลีก 2 ครั้ง และควีนส์คัพ 3 ครั้ง

แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
ไฟล์:Airforce United.png
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
ฉายาอินทรีทัพฟ้า
ดิ อีเกิล
สิงห์ดอนเมือง
ก่อตั้ง1946 ในนาม สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ
2010 ในนาม สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
2013 ในนาม สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เอวีเอ เอฟซี
2014 ในนาม สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล
ยุบ2019 (กลายเป็น อุทัยธานี)
สนามสนามกีฬาธูปะเตมีย์
Ground ความจุ25,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานไทย พีระพล​ นุชนาฎ
ผู้จัดการไทย พล.อ.ต. ณพล ฤๅไชยคาม
ผู้ฝึกสอนไทย ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ
สีชุดทีมเยือน
สโมสรกีฬาของกองทัพอากาศไทย
ฟุตบอล (ชาย) วอลเลย์บอล (ชาย) วอลเลย์บอล (หญิง)
ฟุตบอลสำรอง (ชาย) ฟุตบอล (หญิง)

ประวัติสโมสร แก้

สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 ในสมัยที่ พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การสนับสนุนถึงขนาดที่ท่านลงมาดูแลการซ้อมและควบคุมด้วยตัวเองทำให้สโมสรทหารอากาศประสบความสำเร็จอย่างมากมาย โดยในยุคนั้นจะมีสโมสรต่างๆเช่น ทีมธนาคารรวม ทีมมุสลิม ทีมชายสด ทีมกรมมหรสพ ที่ลงเล่นอยู่ในฟุตบอล ถ้วยพระราชทานประเภท ก. แต่สโมสรก็สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ก. มากที่สุดถึง 12 ครั้ง และในจำนวนนี้เป็นการชนะเลิศติดต่อกัน 7 สมัยซ้อน ซึ่งยังเป็นสถิติที่ไม่มีสโมสรใดทำลายได้จนถึงปัจจุบัน และรวมไปถึงการชนะเลิศฟุตบอลถ้วยพระราชทานครบ 4 ระดับเป็นสโมสรฯแรกๆในประเทศ

ในยุคต่อมาสโมสรทหารอากาศ ได้รับการสนับสนุนจาก พลอากาศเอกบุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้นซึ่งในห้วงเวลานี้เองที่สโมสรได้ผลักดันนักฟุตบอลคนสำคัญอย่าง ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน รวมไปถึงนักฟุตบอลร่วมรุ่นอย่าง ไพโรจน์ พ่วงจันทร์, ชลทิศ กรุดเที่ยง, ประทีป ปานขาว, นราศักดิ์ บุญเกลี้ยง, ชลอ หงษ์ขจร, วีระพงษ์ เพ็งลี, วิชิต เสชนะ เป็นต้น

และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ ได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ และทำการปรับปรุงระบบการทำงานเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพ ตามกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมฟุตบอลแห่งเอเชียได้กำหนดไว้ถึงการเป็นนิติบุคคลอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานการแข่งขันหนึ่งเดียวกับนานาชาติ โดยได้ร่วมกับบริษัท แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด จำกัด เพื่อทำการ Re-Branding สู่ชื่อและภาพลักษณ์ใหม่ภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด หรือ Air Force United Football Club ร่วมกับสโมสรสมาชิกอื่นๆอีกว่าร้อยองค์กรสำหรับการแข่งขันฟุตบอล

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. พ.ศ. 2562 ทางสโมสรแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ได้แจ้งว่ามีการขายสิทธิ์การทำทีมให้กับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.อุทัยธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย และเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น อุทัยธานี เอฟซี เป็นที่เรียบร้อย ถือเป็นการปิดฉาก 73 ปีของตำนานทีมบอล[1] อย่างไรก็ตามยังคงมีทีมที่บริหารงานโดยกองทัพอากาศอยู่เองอีก 3 สโมสร ประกอบด้วย 1.ทหารอากาศ เอฟซี (ไทยลีก 3) 2.สวัสดิการ ทอ. และ 3.โรงเรียนนายเรืออากาศ โดยใช้บุคลากรของกองทัพอากาศ

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ลีก[2] เอฟเอคัพ ควีนสคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2539–40 ไทยลีก 34 14 12 8 48 35 54 อันดับ 7 ชนะเลิศ ส่งเสริม มาเพิ่ม 12
2540 ไทยลีก 22 14 3 5 45 23 42 ชนะเลิศ
2541 ไทยลีก 22 10 10 2 52 31 40 รองชนะเลิศ
2542 ไทยลีก 22 11 6 5 43 27 39 ชนะเลิศ ส่งเสริม มาเพิ่ม 11
2543 ไทยลีก 22 12 5 5 34 19 41 รองชนะเลิศ ส่งเสริม มาเพิ่ม 10
2544–45 ไทยลีก 22 8 8 6 23 21 32 อันดับ 4 วรวิทย์ ถาวรวัน 8
2545–46 ไทยลีก 18 7 2 9 26 29 23 อันดับ 5 ส่งเสริม มาเพิ่ม 10
2547 ไทยลีก 18 4 4 10 14 38 16 อันดับ 9
2548 ดิวิชั่น 1 22 10 7 5 30 21 37 อันดับ 4
2549 ดิวิชั่น 1 22 5 8 9 30 36 23 อันดับ 9
2550 ดิวิชั่น 1 กลุ่ม บี 22 12 6 4 41 22 42 อันดับ 3 วัชรพงษ์ จันทร์งาม 9
2551 ดิวิชั่น 1 30 10 10 10 40 32 40 อันดับ 10 วัชรพงษ์ จันทร์งาม 8
2552 ดิวิชั่น 1 30 12 6 12 45 36 42 อันดับ 6 รอบที่ 2 รอบคัดเลือก รอบแรก พรชัย อาจจินดา 7
2553 ดิวิชั่น 1 30 13 9 8 48 33 48 อันดับ 6 รอบสี่ รอบสอง พรชัย อาจจินดา 15
2554 ดิวิชั่น 1 34 10 10 14 36 53 40 อันดับ 14 รอบสอง รอบ 64 ทีม อนุศักดิ์ เหล่าแสงไทย
Kouassi Yao Hermann
12
2555 ดิวิชั่น 1 34 12 8 14 45 45 44 อันดับ 9 รอบสอง รอบ 32 ทีมสุดท้าย Kouassi Yao Hermann 20
2556 ดิวิชั่น 1 34 20 9 5 51 28 69 ชนะเลิศ รอบสอง รอบ 16 ทีมสุดท้าย Kouassi Yao Hermann 16
2557 ไทยลีก 38 6 12 20 35 63 30 อันดับ 19 รอบสี่ รอบ 32 ทีมสุดท้าย Kouassi Yao Hermann 13
2558 ดิวิชั่น 1 38 14 10 14 53 50 52 อันดับ 9 รอบสาม รอบ 64 ทีมสุดท้าย
2559 ดิวิชั่น 1 26 11 9 6 44 29 42 อันดับ 4 รอบแรก รอบ 32 ทีมสุดท้าย Valdomiro Soares 12
2560 ไทยลีก 2 32 18 8 6 61 40 62 รองชนะเลิศ รอบแรก รอบก่อนรองชนะเลิศ
2561 ไทยลีก 34 4 4 26 32 78 16 อันดับ 18 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบก่อนรองชนะเลิศ
2562 ไทยลีก 2 34 9 7 18 39 53 34 อันดับ 14 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ
ขายสิทธิให้กับ อุทัยธานี
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2562 (ฤดูกาลสุดท้าย) แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   พิศาล ดอกไม้แก้ว
2 DF   กิตติพงษ์ ปถมสุข
6 DF   แพทริก ฟลอตต์แมนน์
8 MF   นพพล ผลอุดม
9 FW   ยศศักดิ์ เชาวนะ
10 FW   อนุศักดิ์ เหล่าแสงไทย
11 FW   Oliveira Alves Diego
13 FW   เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์
15 FW   ทนงศักดิ์ พรมดาด
16 DF   กันตพัฒน์ โตนิติวงศ์
17 MF   เกียรติเจริญ เรืองปาน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 GK   บัญชา ยิ้มช้อย
21 FW   เล วัน เติน
25 DF   เจษฎากร เหมแดง
28 DF   พิชิตย์ ใจบุญ
29 DF   นพรัตน์ สกุลอ๊อด
30 FW   ตามีซี หะยียูโซะ
35 GK   สุรศักดิ์ ทองอ่อน
38 MF   สุรชัย ชาวนา
39 DF   เนติพงษ์ แสนมะฮุง
400 DF   [อารี บาบา]] (กัปตันทีม)

ผลงาน แก้

 
ผู้เล่นแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ดในปี 2560

ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย แก้

อ้างอิง แก้

  1. แอร์ฟอร์ซขายสิทธิ์ทำทีมเปลี่ยนชื่อเป็น อุทัยธานี เอฟซี
  2. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้