บุญชู จันทรุเบกษา

พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 28 มกราคม พ.ศ. 2519) เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่ครองตำแหน่งยาวนาวนานที่สุด และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพจน์ สารสิน และรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร

บุญชู จันทรุเบกษา
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
2503–2517
ก่อนหน้าจอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
ถัดไปพลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
เสียชีวิต28 มกราคม พ.ศ. 2519 (62 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงอนงค์ จันทรุเบกษา
บุตรพลอากาศเอก ชนินทร์ จันทรุเบกษา

นางชนิดา จันทรุเบกษา นางอัชนี วิเศษกุล นางชื่นจิต ทัพพะรังสี นางพิศมัย จันทรุเบกษา

นางอุไรรัช เชี่ยวสกุล
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพอากาศไทย
ประจำการพ.ศ. 2503 - 2517
ยศ พลอากาศเอก
บังคับบัญชากองทัพอากาศไทย

ประวัติ

แก้

พล.อ.อ. บุญชู เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 สมรสกับ คุณหญิงอนงค์ จันทรุเบกษา มีบุตรชาย 1 คนคือ พล.อ.อ. ชนินทร์ จันทรุเบกษา อดีตผู้ว่าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย มีบุตรสาว 5 คน คือ นางชนิดา จันทรุเบกษา นางอัชนี วิเศษกุล นางชื่นจิต ทัพพะรังสี นางพิศมัย จันทรุเบกษา และ นางอุไรรัช เชี่ยวสกุล

การศึกษา

แก้

พล.อ.อ. บุญชู จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อปีพ.ศ. 2476

การทำงาน

แก้

พล.อ.อ. บุญชู รับพระราชทานยศ ร้อยตรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477[1] ก่อนจะโอนย้ายมาเป็นทหารอากาศและรับพระราชทานยศ เรืออากาศตรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 [2] และได้รับพระราชทานยศ พลอากาศเอก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 [3]

พล.อ.อ. บุญชู ได้ดำรงตำแหน่ง รองเสนาธิการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 และได้ขึ้นเป็น เสนาธิการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2500[4] ก่อนจะก้าวขึ้นเป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2503 [5] แทนที่ พล.อ.ท. เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร (ยศในขณะนั้น) ที่ถึงแก่อสัญกรรมจากเหตุการณ์เครื่องบินตก

งานการเมือง

แก้

พล.อ.อ. บุญชู ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพจน์ สารสิน เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2500[6][7] ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งนี้อีกครั้งหนึ่งในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 [8] และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515[9]

การก่อตั้งโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์

แก้

พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ได้มอบเงินทุนสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกให้กับโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ในปี พ.ศ. 2508 เพื่อทำการเรียนการสอน ต่อมาได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา สืบมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศพระราชทานยศทหาร
  2. ประกาศพระราชทานยศทหารอากาศ
  3. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  4. ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งข้าราชการ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๓๖, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๔๗๓, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 42 หน้า 1516, 22 พฤษภาคม 2499
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 66 หน้า 1869, 9 สิงหาคม 2503
  22. 22.0 22.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 75 ตอนที่ 109 หน้า 2637, 11 ธันวาคม 2505
  23. http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200021980&dsid=000000000005&gubun=search
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1321, 30 เมษายน 2506
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 77 ฉบับพิเศษ หน้า 4, 1 สิงหาคม 2506