ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นาวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน(ตุ๊ก) เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นกรรมการกลางสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตนักฟุตบอลชาวไทย ซึ่งเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติไทยหลายนัด รวมถึงเป็นผู้ที่ทำประตูสูงสุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติไทยรวมนัดที่ฟีฟ่าไม่ได้รับรอง ที่ 103 ประตู[1] (สถิติที่ฟีฟ่ารับรองคือ 15 ประตู จากการลงสนามให้ทีมชาติ 33 นัด) นอกจากนี้ เขายังร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง "เกิดมาลุย" ใน พ.ศ. 2547
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน | ||
วันเกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502ต้องการอ้างอิง] | [||
สถานที่เกิด | วานรนิวาส ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.78 m (5 ft 10 in) | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า (เลิกเล่น) | ||
สโมสรเยาวชน | |||
2520–2521 | ทหารอากาศ | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2522–2527 | ทหารอากาศ | 145 | (91) |
2527–2529 | ลักกีโกลด์สตาร์ | 34 | (17) |
2529–2532 | ปะหัง | 61 | (70) |
2532–2540 | ทหารอากาศ | 248 | (164) |
รวม | 488 | (342) | |
ทีมชาติ | |||
2524–2540 | ไทย | 100 | (70) |
จัดการทีม | |||
2539–2551 | ทหารอากาศ | ||
2551–2556 | รวมดาราไทยลีก | ||
2552 | นครปฐม | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
โดย ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เป็นผู้เล่นชาวไทยคนแรกที่ได้เล่นในเคลีก 1
พ.ศ. 2556 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมสิงห์ออลสตาร์เมื่อครั้งที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และเชลซี ในการแข่งขันครบรอบ 80 ปี บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่[2]
ประวัติ
แก้ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของ ร้อยเอกพล กับ นางบุญยิ่ง ผิวอ่อน จบการศึกษาจาก โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยเล่นฟุตบอลมาตลอด และมีความสามารถทางฟุตบอลสูงจนได้รับโควตานักฟุตบอล ศึกษาต่อที่โรงเรียนจ่าอากาศ
ปิยะพงษ์สมรสแล้ว มีบุตร 2 คน คือ
- พ.ต. ภาณุพงศ์ ผิวอ่อน (เต้ย) ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล
- พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน (แตงโม) อดีตนักกีฬาฟุตบอล
ปิยะพงษ์รับราชการทหารอากาศ จนเกษียณอายุราชการในชั้นยศ "นาวาอากาศเอก" สังกัดกรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพิธีกรทางช่องรายการในโลกออนไลน์ "แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง" ร่วมกับลูกชายคนเล็ก พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน และรายการ บราเวีย ซูเปอร์สไตรค์ ยิงกระจาย ทางทรู วิชั่นส์
พิธีกร
แก้รายการโทรทัศน์
แก้- พ.ศ. 2552 : เช้านี้...ที่หมอชิต (ผู้ประกาศข่าวกีฬา “ผู้รู้...ผู้เล่า” ด้านกีฬาฟุตบอล) ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 06.00 -07.30 น. (1 มิถุนายน 2552 - 2553)
- พ.ศ. 25 : บราเวีย ซูเปอร์สไตรค์ ยิงกระจาย (ผู้บรรยายการยิงประตูของนักฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก) ทางทรู วิชั่นส์ ออกอากาศทุกคืนวันพุธ ออกอากาศซ้ำในเช้าวันพฤหัสบดี เวลา 07.30 น. - 08.00 น.
- พ.ศ. 25 : คนกีฬา พาเที่ยว ทางช่อง 5 ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 09.30 - 10.00 น.
รายการออนไลน์
แก้- พ.ศ. 2564 : Ep.1 จุดเริ่มต้น "เส้นทางฟุตบอล" ของ แตงโม พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน - แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง ทางช่อง YouTube:แตงโมลง ปิยะพงษ์ยิง ร่วมกับ พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน
ผลงานในการเป็นนักฟุตบอล
แก้ปิยะพงษ์ เริ่มต้นเล่นฟุตบอล ในทีมชุดเยาวชน สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ เมื่อปี พ.ศ. 2522 หลังจากนำทีมชนะเลิศ จึงได้เลื่อนขึ้นมาเล่นทีมชุดใหญ่ และในปี พ.ศ. 2523 เป็นดาวซัลโวสูงสุดในการแข่งขัน ในปีต่อมา ก็ได้รับการคัดเลือกให้มาเล่นกับทีมชาติไทย ระหว่าง พ.ศ. 2524 - 2540 รวม 17 ปี โดยที่ติดทีมชาติครั้งแรก ในเดือนมิถุนายน 2524 รายการเพสซิเด้นท์ คัพ เกาหลีใต้
ในระดับสโมสร ก็ได้ร่วมงานกับ สโมสรลักกีโกลด์สตาร์ (ปัจจุบันคือ สโมสรฟุตบอลโซล) ของ เคลีกในเกาหลีใต้ เป็นเวลา 2 ปี และย้ายไปเล่นต่อให้ สโมสรปะหัง ของมาเลเซีย
ปิยะพงษ์ ผิวอ่อนยิงประตูในนามทีมชาติชุดใหญ่ในเกมส์ที่ฟีฟ่ารับรองทั้งหมด 15 ประตู
ผลงานในการเป็นผู้ฝึกสอน
แก้ระดับสโมสร
แก้- สโมสรฟุตบอลทหารอากาศ (พ.ศ. 2539-?) ผลงานพาทีมเป็นแชมป์ในประเทศได้หลายรายการ อาทิ ฟุตบอลในกีฬากองทัพอากาศ, ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ก, ฟุตบอล ไทยแลนด์ เอฟเอ คัพ, ฟุตบอลไทยแลนด์ลีก, เป็นต้น
ระดับชาติ
แก้- ทีมชาติไทย (พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2547) ผลงานพาทีมเป็นแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์ 18 ปี ฟุตบอลโอลิมปิก ฟุตบอลซีเกมส์ และอีกหลายรายการ
การอบรมเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนฟุตบอล
แก้- การอบรมของการกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2544
- การอบรมของเอเอฟซี บี-ไลเซนส์ เมื่อปี พ.ศ. 2541
- การอบรมระดับนานาชาติ เอ-ไลเซนส์ ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2541
ผลงาน
แก้ผลงานการแสดง
แก้ภาพยนตร์
แก้- หนูอยากเป็นทหาร (2525) รับบทเป็น ตัวเอง
- เกิดมาลุย (2547) รับบทเป็น ตุ๊ก
- you & me เมื่อฉันกับเธอ xxx (2560) รับบทเป็น พ่อป้อง (รับเชิญ)
ละครโทรทัศน์
แก้- หวังด้วยใจไปด้วยฝัน (2545) ช่อง 7 รับบทเป็น ผู้จัดการทีมฟุตบอล
โฆษณา
แก้- เครื่องดื่มชูกำลังลิโพ (2532)
การทำประตูในทีมชาติชุดใหญ่
แก้- ประตูที่ทำได้บางส่วน
- ผลการแข่งขันให้ทีมชาติไทยขึ้นก่อน
- สถิติที่ฟีฟ่าให้การรับรองอยู่ที่ 15 ประตู
วันที่ | สถานที่ | คู่แข่ง | จำนวนประตู | ผลการแข่งขัน | รายการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
20 พฤศจิกายน 2524 | กรุงเทพ | Polonia Warszawa | 2 ประตู | 2-0 | 1981 คิงส์คัพ |
6 พฤษภาคม 2525 | กรุงเทพ | August 1st(army team) | 1 ประตู | 1-1 | คิงส์คัพ 1982 |
15 กรกฎาคม 2526 | ปักกิ่ง | August 1st(army team) | 1 ประตู | 2-1 | 1983 Great Wall Cup |
23 กรกฎาคม 2526 | ปักกิ่ง | โปแลนด์ U-21 | 2 ประตู | 3-2 | 1983 Great Wall Cup |
27 ธันวาคม 2526 | กรุงเทพ | Medan | 1 ประตู | 2-0 | คิงส์คัพ 1983 |
3 มกราคม 2527 | กรุงเทพ | Liverpool Amateur | 3 ประตู | 4-3 | คิงส์คัพ 1984 |
28 กรกฎาคม 2528 | กัวลาลัมเปอร์ | South Korean Army | 1 ประตู | 1-1 | Merdeka Tournament |
25 มกราคม 2531 | กรุงเทพ | SC Rotor Volgograd | 1 ประตู | 4-2 | คิงส์คัพ 1988 |
10 กุมภาพันธ์ 2532 | กรุงเทพ | SC Rotor Volgograd | 2 ประตู | 3-1 | คิงส์คัพ 1989 |
14 กุมภาพันธ์ 2536 | กรุงเทพ | Korea Semi-professional Select Team | 1 ประตู | 1-0 | คิงส์คัพ 1993 |
ผลงานเพลง
แก้ปิยะพงษ์ เคยมีสตูดิโออัลบั้มเพลงมาแล้วหนึ่งชุด ในปี พ.ศ. 2536 กับค่ายนิธิทัศน์ เอโอเอ โดยใช้ชื่ออัลบั้มที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงว่า "ซัลโว"
- มิวสิควีดีโอเพลง "มีเจ้าของแต่น้องรัก" ของ จินตหรา พูนลาภ
การเมือง
แก้ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน เพื่อจะลงสมัครรับเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ลงสมัคร
ในการเลือกตั้งในกลางปี พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน โดยทำการเปิดตัวพร้อมกับอีก 2 นักกีฬาที่มีชื่อเสียง คือ ภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักเทนนิสระดับโลก และเยาวภา บุรพลชัย อดีตนักเทควันโดเหรียญทองแดงโอลิมปิกทีมชาติไทย[3] แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[4]
เกียรติประวัติ
แก้ผู้เล่น
แก้ผู้จัดการ
แก้ทหารอากาศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พิพิธภัณฑ์ลูกหนัง > "เพชฌฆาตหน้าหยก" ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน
- ↑ ผีแดงเยือนไทย - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ปิยะพงษ์ เข้าคิดชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน คุยดันไปบอลโลก[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดผลการเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ ปชป. 23 เพื่อไทย 10 ที่นั่ง จากมติชนเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "'태국 축구영웅' 피아퐁 아들과 함께 FC서울 방문" (ภาษาเกาหลี). FC Seoul official website. October 13, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ January 23, 2017.
- ↑ "เดอะตุ๊กเผยรอคุยบอร์ดท่าเรือศุกร์นี้ก่อนตัดสินใจ". Goal. สืบค้นเมื่อ 8 September 2019.
- K-League Player Record[ลิงก์เสีย] (เกาหลี)
- FIFA Player Statistics เก็บถาวร 2010-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก สยามฟุตบอล
- ประวัติ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน จากคอลัมน์ รู้ไปโม้ด
- เว็บไซต์แฟนคลับ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2014-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน