ฟุตบอลทีมชาติศรีลังกา
ฟุตบอลทีมชาติศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා පාපන්දු කණ්ඩායම, ทมิฬ: இலங்கை தேசிய கால்பந்து அணி) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศศรีลังกา อยู่ภายใต้การบริหารของฟุตบอลศรีลังกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฟุตบอลในประเทศศรีลังกา พวกเขาเป็นสมาชิกฟีฟ่าตั้งแต่ ค.ศ. 1952 และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งแต่ ค.ศ. 1954 สนามเหย้าของทีมชาติคือสนามกีฬา Sugathadasa ในโคลัมโบ ก่อนหน้านี้ ศรีลังกาเคยใช้ชื่อ ฟุตบอลทีมชาติซีลอน จนถึง ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นปีที่เปลี่ยนชื่อประเทศ[4] อย่างไรก็ตาม ฟุตบอลภายในประเทศศรีลังกายังคงได้รับความนิยมน้อยกว่าคริกเกต
ฉายา | กองทัพทอง රන් හමුදාව தங்கப் படை | |||
---|---|---|---|---|
สมาคม | ฟุตบอลศรีลังกา | |||
สมาพันธ์ย่อย | SAFF (เอเชียใต้) | |||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | แอนดี มอร์ริสัน | |||
กัปตัน | Sujan Perera | |||
ติดทีมชาติสูงสุด | Archunan Visvanathan (64) | |||
ทำประตูสูงสุด | Archunan Visvanathan (29)[1] | |||
สนามเหย้า | Sugathadasa Stadium Colombo Racecourse | |||
รหัสฟีฟ่า | SRI | |||
| ||||
อันดับฟีฟ่า | ||||
อันดับปัจจุบัน | 205 1 (20 มิถุนายน 2024)[2] | |||
อันดับสูงสุด | 122 (สิงหาคม 1998) | |||
อันดับต่ำสุด | 207 (ตุลาคม 2022) | |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||
ซีลอน 0–2 อินเดีย (โคลัมโบ ซีลอน; 1 มกราคม ค.ศ. 1952) | ||||
ชนะสูงสุด | ||||
ศรีลังกา 7–1 ปากีสถาน (ไทเป ประเทศไต้หวัน; 4 เมษายน ค.ศ. 2008) ศรีลังกา 6–0 ภูฏาน (ธากา ประเทศบังกลาเทศ; 6 ธันวาคม ค.ศ. 2009) | ||||
แพ้สูงสุด | ||||
ซีลอน 1–12 เยอรมนีตะวันออก (โคลัมโบ ซีลอน; 12 มกราคม ค.ศ. 1964)[3] | ||||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้ | ||||
เข้าร่วม | 13 (ครั้งแรกใน 1993) | |||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1995) | |||
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ | ||||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 2006) | |||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2006) |
ในฐานะสมาชิกเอเอฟซี ทีมยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกหรือเอเชียนคัพ พวกเขาเคยคว้าแชมป์ภูมิภาคเอเชียใต้ได้ใน ค.ศ. 1995 ต่อมา พวกเขาสามารถผ่านเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่สองของฟุตบอลโลก 2006 และสามารถคว้ารองแชมป์เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพได้ในปี 2006
ในปี 2014 ซึ่งเป็นการครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งฟุตบอลศรีลังกา ประธานฟีฟ่า เซพพ์ บลัทเทอร์ และประธานเอเอฟซี Sheikh Salman Bin Ibrahim Al Khalifa ได้เดินทางมาเยี่ยมศรีลังกาและทำพิธีเปิดสนามฟุตบอลแห่งใหม่ในเมือง Jaffna บลัทเทอร์กล่าวว่าเขาไม่ค่อยประทับใจในการพัฒนาฟุตบอลในประเทศศรีลังกา และหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะพัฒนากีฬานี้อย่างเพียงพอ[5]
ในการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2018 ศรีลังกาตกรอบแรกด้วยการแพ้ภูฏานทั้งไปและกลับ อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพในปี 2015
อ้างอิง
แก้- ↑ László Földesi. "Kasun Nadika Jayasuriya Weerarathne – Goals in International Matches". RSSSF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "Head to head stats Sri Lanka – GDR". WildStat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ "Sri Lanka's first international win at football". sundaytimes.lk. The Sundaytimes Sri Lanka. 23 June 2013. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
- ↑ "Blatter inaugurates symbolic post-war project in Sri Lanka". fifa.com. FIFA. 2 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2015. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2015-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sri Lanka national football team on FIFA
- Sri Lanka national football team picture เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน