ไทยลีก
ไทยลีก (อังกฤษ: Thai League; ชื่อย่อ T1) เป็นระบบการแข่งขันฟุตบอลลีกในระดับสูงสุดของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2539 ภายใต้การบริหารของบริษัท ไทยลีก จำกัด มีสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 16 สโมสร โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 30 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 240 นัดต่อฤดูกาล
ก่อตั้ง | 2539 |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
จำนวนทีม | 16 (ตั้งแต่ 2562) |
ระดับในพีระมิด | 1 |
ตกชั้นสู่ | ไทยลีก 2 |
ถ้วยระดับประเทศ | ไทยเอฟเอคัพ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ |
ถ้วยระดับลีก | ไทยลีกคัพ |
ถ้วยระดับนานาชาติ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (สมัยที่ 10) (2566–67) |
ชนะเลิศมากที่สุด | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (10 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | ทรูวิชั่นส์ |
เว็บไซต์ | Thai League (T1) |
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2567–68 |
ตั้งแต่จัดตั้งลีกขึ้นมามีทั้งหมด 41 สโมสรที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน และมี 12 สโมสรที่ได้แชมป์ไทยลีก คือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (10) (นับรวมสมัยลงแข่งขันในนามสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค), เมืองทอง ยูไนเต็ด (4), โปลิศ เทโร, ทหารอากาศ และ ธนาคารกรุงไทย (2), ธนาคารกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สินธนา, ชลบุรี เอฟซี, พนักงานยาสูบ, เชียงราย ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (1)
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีความคิดในการที่จะปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ จากวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นเลิศ มาเป็นรูปแบบอาชีพ โดยเริ่มก่อตั้งฟุตบอลลีกสูงสุดขึ้น โดยเดิมที การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสูงสุดของประเทศคือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วยใหญ่) ซึ่งจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 จนถึงปี พ.ศ. 2538 (ในฐานะการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสูงสุดของประเทศ) โดยมีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันใน ฤดูกาลแรก ทั้งหมด 18 สโมสร ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างเป็น 10 สโมสร จนถึง ฤดูกาล 2547/48
การรวบรวมลีก
แก้ในปี พ.ศ. 2549 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เริ่มมีการให้ สิทธิสโมสรที่จบตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศใน โปรวินเชียลลีก เข้าร่วมการแข่งขันได้ ซึ่งทำให้มีการเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็น 12 สโมสร ตั้งแต่ ฤดูกาล 2549 จนกระทั่งในปีถัดมา (พ.ศ. 2550) จึงมีการควบรวม โปรวินเชียลลีก โดยได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[1] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีกทั้งสองเข้าเป็นลีกเดียว โดยให้สิทธิสโมสรที่จบตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศในการแข่งขัน โปรลีก ฤดูกาล 2549 เข้าแข่งขันใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ด้วย ซึ่งทำให้มีการเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าแข่งขันเป็น 16 สโมสร พร้อมทั้งเพิ่มเงื่อนไขให้สโมสรซึ่งอยู่ใน 3 อันดับสุดท้ายเมื่อจบฤดูกาล ต้องตกชั้นไปสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยให้สิทธิสโมสรชนะเลิศ รองชนะเลิศ และ อันดับที่ 3 ของ ไทยลีกดิวิชั่น 1 เลื่อนชั้นมาแข่งขันเป็นการทดแทน โดยสโมสรแรกที่มาจาก โปรวินเชียลลีก แล้วสามารถชนะเลิศการแข่งขันได้คือ ชลบุรี เอฟซี ใน ฤดูกาล 2550
การปรับโครงสร้างลีกสู่ลีกอาชีพ
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผลให้สมาคมฯ ต้องดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อบริหารลีกและจัดการแข่งขันแทนที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ขึ้น โดยมี วิชิต แย้มบุญเรือง อดีตนัก ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นประธานกรรมการคนแรก และออกระเบียบให้ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ ต้องจัดตั้งในรูปนิติบุคคล (บริษัท) เพื่อดำเนินการบริหารสโมสร ส่งผลให้มีการแข่งขันเชิงรูปแบบ การบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น รวมทั้งแพร่หลายออกไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จากเดิมที่สโมสรฟุตบอลต่างๆ จะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น จึงกลับมาเป็นที่นิยมของแฟนฟุตบอลไทยอีกครั้ง โดยใน ฤดูกาล 2554 สมาคมฯ ประกาศเพิ่มจำนวนสโมสรที่จะทำการแข่งขัน เป็น 18 สโมสร[2]
กรณีพิพาทของลีก
แก้ต่อมาได้มีกรณีข้อพิพาทในเรื่องสิทธิการบริหารสโมสรและสิทธิการแข่งขัน ระหว่าง อีสาน ยูไนเต็ด และ ศรีสะเกษ เอฟซี โดยทาง อีสาน ยูไนเต็ด ได้ยื่นคำร้องต่อ ศาลปกครอง เพื่อขอให้พิจารณาว่า ศรีสะเกษ เอฟซี มีสิทธิทำการแข่งขันในฤดูกาล ฤดูกาล 2556 หรือไม่ ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว เป็นผลให้ บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก ต้องลงมติให้พักการแข่งขันของ สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ตามคำสั่งคุ้มครองฯของศาล โดยเมื่อศาลปกครองวินิจฉัยให้สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ มีสิทธิทำการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกได้ต่อไป สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงประชุมร่วมกับ บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ และสโมสรสมาชิกทั้งหมด โดยที่ประชุมลงมติให้ ฤดูกาล 2557 เพิ่มสมาชิกเป็น 20 สโมสร และกำหนดสโมสรที่จะต้องตกชั้นลงไปแข่งขันไทยลีกดิวิชั่น 1 ต้องมีถึง 5 สโมสรคือ อันดับที่ 16-20 (ขณะเดียวกัน ทั้งสองฤดูกาลดังกล่าว ยังคงให้สโมสรชนะเลิศ, รองชนะเลิศ และอันดับที่ 3 ของไทยลีกดิวิชัน 1 ขึ้นมาแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกตามเดิม) เพื่อทำให้สโมสรสมาชิก คงเหลือเพียง 18 ทีมเท่าเดิม[3] ส่วนฤดูกาล 2556 ให้สโมสรอันดับที่ 17 ต้องตกชั้นลงไปแข่งขันในไทยลีกดิวิชัน 1 เพียงทีมเดียว[4]
การเปลื่ยนแปลงบริหาร
แก้ภายหลังจากการเลือกตั้งนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่ง พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งได้รับเลือกจากสโมสรสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม คนใหม่ได้ประกาศว่าได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยใช้ชื่อว่า บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด (PLT)[5] และได้มีการจัดหาตัวแทนบริหารสิทธิประโยชน์ของลีก แทนที่ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ที่ได้มีการยกเลิกสัญญาไป
การปรับโครงสร้างระบบลีก
แก้ต่อมาได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยลีก จำกัด ขึ้นมาแทน บจก.พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ ตามคำแนะนำของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ โดยได้โอนหุ้นจำนวน 99.98% ที่ทางนายกสมาคมฯ ถือไว้ให้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย[6] ต่อมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพอย่างยั่งยืน และยกระดับลีกภายในประเทศให้ก้าวไปสู่ลีกชั้นนำของอาเซียนและเอเชีย เริ่มจากการตั้งและปรับเปลี่ยนชื่อลีกแต่ละระดับให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เน้นความเรียบง่าย กระชับ น่าจดจำและร่วมสมัยที่สุด[7]
การแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศไทยภายใต้การจัดของ บริษัท ไทยลีก จำกัด ตั้งแต่ฤดูกาล 2560 ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ต่อมาในฤดูกาล 2563 ได้มีการปรับลดเหลือเป็น 4 ระดับและในฤดูกาล 2566 ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 5 ระดับโดยมีชื่อเรียกหลักอย่างเป็นทางการประกอบด้วย
- ไทยลีก (Thai League) ชื่อย่อ T1 เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับสูงสุดของประเทศไทย โดยฤดูกาล 2560 สโมสรที่จบอันดับที่ 1-15 ของ ฤดูกาล 2559 และ สโมสรอันดับ 1-3 จาก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 สโมสร และตั้งแต่ฤดูกาล 2562 เป็นต้นมา ได้มีการปรับลดจำนวนสโมสรที่ทำการแข่งขันเป็น 16 สโมสร เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดตารางแข่งขันให้ ฟุตบอลทีมชาติไทย ได้มีเวลาเตรียมทีมแข่งขันรายการต่างๆ และสามารถมีช่วงเวลาหยุดพักแข่งขันตามหลักสากล
- ไทยลีก 2 (Thai League 2) ชื่อย่อ T2 เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพระดับที่สองรองจาก ไทยลีก โดย ฤดูกาล 2560 สโมสรที่จบอันดับ 16-18 จาก ไทยลีก ฤดูกาล 2559, สโมสรที่จบอันดับ 4-15 จาก ฤดูกาล 2559 และ 3 สโมสรที่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น จาก ลีกภูมิภาค ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 สโมสร
- ไทยลีก 3 (Thai League 3) ชื่อย่อ T3 เป็นฟุตบอลลีกอาชีพระดับ 3 รวมเป็น 76 สโมสร แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
- ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก (Thailand Semi-Pro League) ชื่อย่อ TS เป็นฟุตบอลลีกกึ่งอาชีพระดับ 4 รวมเป็น 34 สโมสร แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
- ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก (Thailand Amateur League) ชื่อย่อ TA เป็นฟุตบอลลีกสมัครเล่นระดับ 5 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
ในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ในฐานะรักษาการประธานบริษัท ไทยลีก จำกัด และนายพาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้เรียกประชุมตัวแทน 16 สโมสรสมาชิกไทยลีก เพื่อหาทางออกและเสนอข้อชี้แนะหลังการประมูลซื้อลิขสิทธิ์ไทยลีกไม่เป็นไปอย่างที่คิด ซึ่งข้อเสนอแนะจากเสียงส่วนใหญ่ใน 16 ทีมคือให้ทั้ง 16 ทีมบริหารจัดการและหาสิทธิประโยชน์กันเอง (พรีเมียร์ลีกโมเดล) ซึ่งจะได้นำข้อมูลและรายละเอียดเสนอเข้าสู่การประชุมสภากรรมการบริหารสมาคมในวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม[8] ต่อมาในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 ทางสมาคมและตัวแทนสโมสรสมาชิกทั้ง 16 สโมสรได้ประชุมพูดคุยเพื่อหาข้อสรุปซึ่งข้อสรุปคือทางสมาคมไฟเขียวให้ 16 สโมสรบริหารจัดการลิขสิทธิ์ไทยลีกโดยคาดว่าจะได้บทสรุปสุดท้ายในการประชุมวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม ที่โรงแรมพูลแมน[9] ต่อมาในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 ตัวแทน 16 สโมสรสมาชิกและตัวแทนจากบริษัทไทยลีก ได้ประชุมหารือเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดไทยลีก พร้อมกับแต่งตั้ง ธัญญะ วงศ์นาค เป็นโฆษกบริษัทไทยลีกคนใหม่[10]
-
จอห์นนีวอล์กเกอร์ ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก
(2539 - 2540) -
คาลเท็กซ์ พรีเมียร์ลีก
(2541 – 2543) -
จีเอสเอ็ม ไทยลีก
(2544 – 2547) -
ไทยลีก
(2547 – 2548) -
ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก
(2549 – 2551) -
ไทยพรีเมียร์ลีก
(2552) -
สปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก
(2553) -
สปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก
(2554 – 2555) -
โตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก
(2556 - 2557) -
โตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก
(2558) -
โตโยต้า ไทยลีก
(2559) -
รีโว่ ไทยลีก (2564-ปัจจุบัน)
รูปแบบการแข่งขัน
แก้ไทยลีก มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 16 สโมสร ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 30 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล ซึ่งในแต่ละนัด ผู้ชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้คะแนน ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สโมสรที่ได้คะแนนรวมสูงสุด จะได้รับตำแหน่งชนะเลิศ และได้สิทธิไปแข่งขันรายการ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ส่วนสโมสรที่ได้รองชนะเลิศ และอันดับที่ 3 จะได้ไปแข่งในรายการเดียวกัน แต่จะแข่งขันใน รอบคัดเลือก รอบสอง (กรณีสโมสรที่ชนะเลิศหรือรองชนะเลิศไทยลีก และสโมสรที่ชนะเลิศ ไทย เอฟเอคัพ ในฤดูกาลเดียวกัน เป็นสโมสรเดียวกัน สิทธิแข่งขันจะตกเป็นของสโมสรที่ได้คะแนนอันดับที่ 4 ของลีกแทน) ส่วนสโมสรที่ได้คะแนนรองลงมา จะเรียงอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้ โดยสโมสรที่จบฤดูกาลในสามอันดับสุดท้าย จะตกชั้นสู่ไทยลีก 2 และ ทีมที่อันดับสูงที่สุดสองทีมในไทยลีก 2 จะเลื่อนชั้นไป พร้อมกับอีกหนึ่งทีมที่มาจากการชนะเลิศในการแข่งขันเพลย์ออฟระหว่างอันดับที่ 3, 4, 5 และ 6
ในกรณีที่มีสโมสรมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับดังนี้
- พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาลที่เพิ่งจบการแข่งขัน (Head To Head)
- พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ชนะ (Number of Wins) ของแต่ละทีมที่คะแนนเท่ากัน
- พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
- พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals For)
- แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ
- ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป
ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขัน เพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้
- พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
- ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ ประตูเสีย
- ถ้ายังเท่ากันอีกให้ดูเฉพาะประตูได้
- ถ้ายังเท่ากันอีกให้ทำการจับฉลาก
ผู้สนับสนุนหลัก
แก้รายชื่อผู้สนับสนุนหลักแข่งขันในฤดูกาลต่างๆ
- 2539-2540: จอห์นนีวอล์กเกอร์ (จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก)
- 2541-2543: คาลเท็กซ์ (คาลเท็กซ์ พรีเมียร์ลีก)
- 2544-2547: จีเอสเอ็ม (จีเอสเอ็ม ไทยลีก)
- 2547-2552: ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยลีก (2547-2548), (ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก (2549-2551)), (ไทยพรีเมียร์ลีก (2552))
- 2553-2555: สปอนเซอร์ (สปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก)
- 2556-ปัจจุบัน: โตโยต้า (โตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก (ฤดูกาล 2556 ถึง 2558), โตโยต้า ไทยลีก (ฤดูกาล 2559 ถึง ฤดูกาล 2563–64), ไฮลักซ์ รีโว่ ไทยลีก (ฤดูกาล 2564–65))
สโมสรที่เข้าร่วมไทยลีก (ฤดูกาล 2567–68)
แก้การท่าเรือ
ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด
นครปฐม ยูไนเต็ด
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
เมืองทอง ยูไนเต็ด
ทำเนียบสโมสรชนะเลิศ
แก้จำนวนครั้งที่ชนะเลิศ
แก้สโมสร | ครั้ง | ปีที่ได้ |
---|---|---|
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2551, 2554, 2556, 2557, 2558, 2560, 2561, 2564–65, 2565–66, 2566–67 | |
เมืองทอง ยูไนเต็ด | 2552, 2553, 2555, 2559 | |
ทหารอากาศ | 2540, 2542 | |
บีอีซี เทโร ศาสน | 2543, 2544/45 | |
ธนาคารกรุงไทย | 2545/46, 2546/47 | |
ธนาคารกรุงเทพ | 2539 | |
สินธนา | 2541 | |
พนักงานยาสูบ | 2547/48 | |
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | 2549 | |
ชลบุรี | 2550 | |
เชียงราย ยูไนเต็ด | 2562 | |
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | 2563–64 |
ผู้ลงเล่นสูงสุด
แก้- ณ วันที่ 1 กันยายน 2567
อันดับ | ผู้เล่น | ตำแหน่ง | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|---|
1 | รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค | MF | 439 | 49 |
2 | ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน | GK | 403 | 0 |
3 | สินทวีชัย หทัยรัตนกุล | GK | 397 | 1 |
4 | ธีรศิลป์ แดงดา | FW | 337 | 144 |
5 | ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ | DF | 335 | 19 |
6 | พิชิตพงษ์ เฉยฉิว | MF | 322 | 62 |
7 | ธีรเทพ วิโนทัย | FW | 319 | 96 |
8 | นริศ ทวีกุล | GK | 313 | 1 |
9 | พิภพ อ่อนโม้ | FW | 265 | 88 |
10 | อภิเชษฐ์ พุฒตาล | DF | 261 | 7 |
ตัวหนา หมายถึง นักเตะที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในไทยลีก
ผู้ทำประตูสูงสุด
แก้- ณ วันที่ 1 กันยายน 2567
อันดับ | ผู้เล่น | ปี | ประตู | ลงเล่น |
---|---|---|---|---|
1 | เฮแบร์ตี้ แฟร์นานเดส | 2014–2016, 2017–2023 | 159 | 284 |
2 | คลีตัน ซิลวา | 2010–2014, 2015–2017, 2018–2019 | 144 | 179 |
ธีรศิลป์ แดงดา | 2009–2014, 2015–2017, 2019– | 144 | 337 | |
4 | ดราแกน บอสโควิช | 2013–2021 | 118 | 182 |
ดิโอโก้ หลุยซ์ ซานโต | 2015–2018, 2020–2022 | 118 | 132 | |
6 | ลีอังดรู อัสซัมเซา[11] | 2011–2021 | 116 | 203 |
7 | พิภพ อ่อนโม้ | 2006–2018 | 108 | 404 |
8 | ศรายุทธ ชัยคำดี | 2001–2004, 2007–2012, 2013–2014 | 101 | 233 |
9 | ธีรเทพ วิโนทัย | 2006–2008, 2009–2014, 2016–2022 | 96 | 319 |
10 | มารีโอ ยูโรฟสกี | 2012–2019 | 93 | 197 |
ตัวหนา หมายถึง ผู้เล่นที่ยังลงเล่นอยู่ในไทยลีก[12][13]
สถิติผู้เล่น
แก้- ผู้เล่นอายุน้อยที่สุด : ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา (บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) — 15 ปี 8 เดือน 22 วัน (25 เมษายน 2561, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-1 นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี, ไทยลีก 2561)
- ผู้เล่นอายุมากที่สุด : สมชาย ทรัพย์เพิ่ม (ทีโอที เอสซี) — 51 ปี 7 เดือน 25 วัน (3 พฤศจิกายน 2556, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-1 ทีโอที เอสซี, ไทยพรีเมียร์ลีก 2556)
- ผู้เล่นที่ยิงประตูอายุน้อยที่สุด : ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา (บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) — 15 ปี 9 เดือน 25 วัน (26 พฤษภาคม 2561, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 5-0 แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล, ไทยลีก 2561)
- ผู้เล่นที่ยิงประตูอายุมากที่สุด : เทิดศักดิ์ ใจมั่น (ชลบุรี เอฟซี) — 40 ปี 8 เดือน 24 วัน (2 มิถุนายน 2557 ทีโอที เอสซี 1-1 ชลบุรี เอฟซี, ไทยพรีเมียร์ลีก 2557)
- ยิงประตูได้ติดต่อกันมากที่สุด: 10 เกม — ดิโอโก หลุยส์ ซานโต (บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) (24 กันยายน 2560 — 2 มีนาคม 2561, ไทยลีก 2560, ไทยลีก 2561)
- ยิงประตูเร็วที่สุด: 9 วินาที — นิรุตน์ คำสวัสดิ์ (การท่าเรือ) (และ) : 15 วินาที - พจน์ พรทศพล (ธนาคารกรุงไทย) [14]
- ไม่เสียประตูติดต่อกันมากที่สุด : 6 เกม —
- ยิงประตูมากที่สุดต่อฤดูกาล : 38 ประตู — ดราแกน บอสโควิช (แบงค็อก ยูไนเต็ด, ไทยลีก 2560)
- แอสซิสต์มากที่สุดต่อฤดูกาล : 19 แอสซิสต์ — ธีราทร บุญมาทัน (บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, ไทยพรีเมียร์ลีก 2558)
- ได้แชมป์ไทยลีกมากที่สุด : 8 ครั้ง — จักรพันธ์ แก้วพรม (ร่วมกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 7 ครั้ง, เมืองทอง ยูไนเต็ด 1 ครั้ง)
- เล่นไทยลีกมากที่สุด : 19 ฤดูกาล — อำนาจ แก้วเขียว (2540-2557)
สถิติของการแข่งขัน
แก้- ชนะเลิศเร็วที่สุด : เหลือ 6 นัด — บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (2563–64)[15]
- ได้คะแนนเยอะที่สุด : 87 คะแนน — บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (2561)
- ชนะเลิศแบบไร้พ่าย : เมืองทอง ยูไนเต็ด (2555), บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (2556 และ 2558)
- ชนะติดต่อกันเยอะสุดในหนึ่งฤดูกาล : 14 นัด — บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (2558), เมืองทอง ยูไนเต็ด (2559)[16]
- แพ้ติดต่อกันเยอะสุดในหนึ่งฤดูกาล : 27 นัด — ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ (2560)[17]
- ทำประตูเยอะสุด : 12 ประตู — ชลบุรี 7–5 เชียงใหม่ (ฤดูกาล 2562)[18]
- ชนะเลิศติดต่อกันมากที่สุด : 3 สมัย — บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (2556, 2557, 2558), (2564–65, 2565–66, 2566–67)
เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์
แก้- ครั้งที่ 1-6 : ช่อง 7 สี
- ครั้งที่ 7-12 : ทรูวิชั่นส์ / ไทยทีวีสีช่อง 3
- ครั้งที่ 13-14 : ดีทีวี / สยามกีฬาทีวี / เอ็นบีที / ทีสปอร์ต (มูลค่าลิขสิทธิ์ ปีละ 40 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 15-17 : ทรูวิชั่นส์ (ทรูสปอร์ต) / สยามสปอร์ตแชนเนล (สยามกีฬาทีวี) / เอ็นบีที (มูลค่าลิขสิทธิ์ ปีละ 200 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 18-20 : ทรูวิชั่นส์ (ทรูสปอร์ต) / ทรูโฟร์ยู ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของทรูวิชั่นส์ (มูลค่าลิขสิทธิ์ ปีละ 600 ล้านบาท) ในครั้งที่ 19 ฤดูกาล 2558 มีการแบ่งขายสิทธิการถ่ายทอดสดให้แก่ ททบ.5 และช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี เป็นบางส่วน
- ครั้งที่ 21-24 : ทรูโฟร์ยู / ทรูวิชั่นส์ (ทรูสปอร์ต / ทรูสปาร์กจัมพ์) (มูลค่าลิขสิทธิ์ ปีละ 1,050 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 24 : เซ้นส์ / Eleven Sports / ททบ. 5 เอชดี 1 / ช่อง 7 เอชดี / ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี / เอ็นบีที / ทีสปอร์ตทีวี (มูลค่าลิขสิทธิ์ ปีละ 1,200 ล้านบาท)
- ครั้งที่ 25-26 : เอไอเอส (แอปพลิเคชัน เอไอเอส เพลย์)[19] / ททบ. 5 เอชดี 1 / พีพีทีวี[20]
- ครั้งที่ 27 : เอไอเอส (แอปพลิเคชัน เอไอเอส เพลย์)/ ทรูวิชั่นส์/ ทรีบีบี/ พีพีทีวี
- ครั้งที่ 28 : ทรูวิชั่นส์
รางวัล
แก้เงินรางวัล
แก้- ชนะเลิศ: 10,000,000 บาท
- รองชนะเลิศ: 2,000,000 บาท
- อันดับสาม: 1,500,000 บาท
- อันดับสี่: 800,000 บาท
โดยทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอลซึ่งได้คะแนนรวมในอันดับต่างๆ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล
นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน สโมสรละ 1,000,000 บาท โล่พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท สำหรับผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม และผู้ทำประตูสูงสุด, โล่พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง และกองหน้า[21]
ถ้วยรางวัล
แก้- 2554 – 2558 ในปี 2010 ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ได้จัดทำถ้วยไทยพรีเมียร์ลีกขึ้นใหม่ โดยถ้วยนั้นออกแบบโดย กลูครีเอทีฟ จากประเทศอังกฤษ และผลิตที่เมือง เชฟฟีลด์ ตัวถ้วยมีความสูง 75 เซนติเมตร หนักมากกว่า 30 กิโลกรัม
- 2559 (ถ้วยพระราชทานประเภท ก) หลังจากที่ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ชนะการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 สมาคมฯได้อัญเชิญ ถ้วยพระราชทานประเภท ก เป็นถ้วยรางวัลชนะเลิศสำหรับแชมป์ไทยลีก หลังจากที่ถ้วยนี้ได้ใช้เป็นถ้วยชนะเลิศ ตั้งแต่ปี 2459 ถึง 2538
- 2559 (เฉพาะกิจ) สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดทำถ้วยแชมป์ไทยลีก และดิวิชั่น 1 ขึ้นมาใหม่แบบเฉพาะกิจ เพื่อมอบให้กับ เอสซีจี เมืองทองฯ แชมป์ไทยลีก 2016 และไทยฮอนด้า แชมป์ดิวิชั่น 1 2016 ในวันที่ 17 และ 18 ก.พ. ตามลำดับ ท่ามกลางความสงสัยของคนวงการฟุตบอล ว่าเหตุใดถึงทำถ้วยใบใหม่ขึ้นมา และเหตุใดถึงไม่ใช้ถ้วยใบเก่า พาทิศ ศุภะพงษ์ รองเลขาธิการสมาคมฯ และโฆษกสมาคมฯ กล่าวว่าสาเหตุที่ไม่สามารถนำถ้วยแชมป์ใบเก่ามามอบให้กับ เมืองทองฯ ได้ เนื่องจากเป็นถ้วยของ บ.ไทยพรีเมียร์ลีก หรือบริษัทเดิมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ทว่าปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทเป็น บ.ไทยลีก จำกัด ดังนั้นจึงต้องทำถ้วยใบใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นสมบัติของ บ.ไทยลีก
- 2560 – ปัจจุบัน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2560 ณ ห้องประชุม 127 สนามราชมังคลากีฬาสถาน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บริษัท ไทยลีก จำกัด ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวการเปิดตัวถ้วยรางวัลสำหรับฟุตบอลลีกอาชีพ 4 รายการ ถ้วยรางวัลทั้งหมดถูกออกแบบ โดย จอห์น นิกซ์, ปีเตอร์ วิลสัน และ คิม เซาแธม ชาวสหราชอาณาจักรที่ผลงานระดับโลก อาทิ ออกแบบรางวัลนักเตะชายและหญิงยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่า, โทรฟี่ฟุตบอลหญิงแชมเปี้ยนส์ ลีก ฯ ซึ่งถ้วยรางวัลของฟุตบอลลีกอาชีพ และฟุตบอลถ้วยของไทยใบใหม่นี้ถือเป็นผลงานที่หล่อขึ้นมาใหม่ชิ้นต่อชิ้นของพวกเขา นอกจากนี้ยังสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย ด้วยการใช้ลวดลายกนก โดยถ้วยรางวัลฟุตบอลลีกอาชีพทั้ง 4 ระดับนั้น จะมีลวดลายที่คล้ายคลึงกัน ต่างเพียงวัสดุที่ใช้ ทั้งนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บ.ไทยลีก จำกัด จะจัดพิธีการมอบถ้วยรางวัลที่ออกแบบใหม่ให้กับทีมแชมป์ โตโยต้า ไทยลีก, เอ็ม-150 แชมเปียนชิพ, ยูโร่เค้ก ลีก โปร และ ยูโร่เค้ก ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2017 นี้เป็นต้นไป[22]
ผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาล
แก้ผู้เล่นยอดเยี่ยม
แก้ดาวรุ่งยอดเยี่ยม
แก้ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม
แก้ลีกเยาวชน
แก้ลีกเยาวชนก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยความร่วมมือของการกีฬาแห่งประเทศไทย ใช้ชื่อการแข่งขันว่า ไทยแลนด์ยูธลีก มีรูปแบบการแข่งขันคล้ายกับ ไทยลีก 4 และมีการแข่งขันทั้งหมด 4 รุ่นได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 13 ปี, 15 ปี, 17 ปี และ 19 ปี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ https://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัปภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
- ↑ "แถลงแล้ว ไทยลีก-ด.1 เพิ่ม 18 ทีม เพลย์อ๊อฟเริ่มหวด ธ.ค." SMM Sport. SMM Sport. 9 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ไทยลีก 1". สยามกีฬารายวัน. 8 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ไทยลีกเพิ่ม 20 ทีมถาวร "กูปรี" รอด! ร่วงทีมเดียว". ผู้จัดการออนไลน์. 30 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
- ↑ "โฉมใหม่! ส.บอลตั้งบริษัทพรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ (PLT)"". โกล ไทยแลนด์. 15 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตั้งบริษัทไทยลีกใหม่! 'บิ๊กอ๊อด' โอนหุ้น 99.98% เข้าสมาคมฟุตบอลฯ". ไทยรัฐ. 20 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สรุปการแถลงข่าว "FA THAILAND ROADMAP 2017-2019"". สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ. 15 ธันวาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ หัวจะปวด “ทีมไทยลีก 1” ตกลง “แยกตัว" จัดแข่งเอง เหตุค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดได้น้อยน่าใจหาย
- ↑ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ไฟเขียว 16 สโมสรบริหารลิขสิทธิ์ไทยลีก 2023
- ↑ เซฟไทยลีก! เคาะราคา ดูบอล “ไทยลีก 2023-24” แบ่ง 2 แพ็กเกจ แพงกว่าฤดูกาล 2022-23
- ↑ รายที่ 8! "อัสซัมเซา"จารึกประวัติศาสตร์ ยิงครบ 100 ประตูในไทยลีก
- ↑ 10 อันดับดาวยิงสูงสุดตลอดกาลไทยลีก ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2565
- ↑ ไทยรัฐ: วันนี้ที่รอคอย “เฮเบอร์ตี” ยิง 1 ประตูใส่ เทโร รั้งดาวซัลโวตลอดกาลไทยลีก
- ↑ "SMMSPORT: 10 ความเป็นที่สุด ศึกไทยลีก 2020/21 - บทความฟุตบอลไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ ""บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" คว้าแชมป์ไทยลีกเร็วสุดในประวัติศาสตร์". สำนักข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
- ↑ 'เมืองทอง' ทำสถิติชนะ 14 นัดติด ทาบ 'บุรีรัมย์' หลังเฉือนชนะบีจี 2-1
- ↑ Finally a win for Super Power - Bangkok Post
- ↑ สถิติตลอดกาลไทยลีก! "ฉลามชล" ถลกหนัง เชียงใหม่ สุดมันส์ 7-5
- ↑ 'เอไอเอสเพลย์' ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก ฤดูกาล 2021
- ↑ สมาคม - ไทยลีก ผนึก AIS "แพลตฟอร์มฟุตบอลไทย" รับชมฟุตบอลไทยได้หลากหลายช่องทาง
- ↑ "ประกาศรางวัล และโล่ห์เกีรยติยศ ฟุตบอลสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก และลีกดิวิชั่น 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
- ↑ http://www.goal.com/th/ข่าว/official-จากชางระดบโลก-สบอลเปดตว-5-ถวยแชมปไทยลกเอฟเอ-คพ/syw96erimw051a2aih1lqwd11 ส.บอล ทำการเปิดตัวถ้วยชนะเลิศไทยลีก ทั้ง 4 ดิวิชั่น และถ้วยช้าง เอฟเอ คัพ ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ซีซั่น ฝีมือจากช่างระดับโลก
- ↑ สมาคมบอลฯประกาศเกียรติคุณบุคลากรฟุตบอล FA Thailand Awards 2020
- ↑ "สมาคมฯ จัดงานประกาศเกียรติคุณ "FA Thailand Awards 2019 "". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.
- ↑ "สมาคมฯ จัดงานประกาศเกียรติคุณ "FA Thailand Awards 2018 "". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2019-12-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2017-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Thai League ทางเฟซบุ๊ก
- TPL Thai League ทางเฟซบุ๊ก
- Thaileague mania ทางเฟซบุ๊ก
- ไทยลีก ทางเฟซบุ๊ก