สโมสรฟุตบอลทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
- ระวังสับสนกับ สโมสรฟุตบอลบางกอก ในไทยลีก 3
สโมสรฟุตบอลทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เคยชนะเลิศการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 1 สมัยในปี พ.ศ. 2549 และได้รับสิทธิไปร่วมเล่นใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ในอดีตเคยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามาเป็นผู้สนับสนุน จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด มาจนถึงปัจจุบัน สโมสรมีชื่อที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า บียูเอฟซี มีที่มาจากอักษรย่อในภาษาอังกฤษของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่คนทั่วไปเรียกว่า "'บียู'" ชื่อนี้จึงถูกใช้เรียก สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้กระทั่งในตอนที่เปลี่ยนชื่อเป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด ทีมก็ยังนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า บียูเอฟซี เพราะชื่อภาษาอังกฤษของทีมสามารถย่อเป็น บียูเอฟซี ได้เหมือนกัน
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | แข้งเทพ , บียูเอฟซี | |||
ก่อตั้ง | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (1962 พ.ศ. 2531 (1988 ) (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ) พ.ศ. 2552 (2009 ) (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด) พ.ศ. 2561 (2018 ) (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด) | ) (ในชื่อ ทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ) |||
สนาม | ทรู สเตเดียม | |||
ความจุ | 25,000 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | บริษัท ทรู ยูไนเต็ด ฟุตบอล คลับ จำกัด (ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น) | |||
ประธาน | ขจร เจียรวนนท์ | |||
ผู้จัดการ | สุรเดช อนันทพงศ์ | |||
ผู้ฝึกสอน | ธชตวัน ศรีปาน | |||
ลีก | ไทยลีก | |||
2566–67 | ไทยลีก, อันดับที่ 2 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
ประวัติสโมสร
แก้ยุคแรก
แก้สโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ตามการก่อตั้งของ โรงเรียนไทยเทคนิค โดยสุรัตน์ และปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (เจ้าของกิจการกลุ่มโอสถสภา) ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของทั้งสอง ภายในซอยบ้านกล้วยใต้ ริมถนนพระรามที่ 4 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตกล้วยน้ำไท) ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นถนนลูกรังอยู่ แต่เป็นย่านค้าขายของเหล่าบรรดานายห้างต่างชาติ รวมถึงท่าเรือสินค้าที่คลองเตยด้วย เริ่มแรกเป็นทีมฟุตบอลประจำสถานศึกษาที่ลงแข่งขันในฟุตบอลรายการระดับอุดมศึกษาก่อนจะมีการเปลี่ยนชื่อทีมตามสถานศึกษาเป็น ทีมฟุตบอลวิทยาลัยไทยเทคนิค ในปี 2505 เป็น ทีมฟุตบอลวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี 2508 และเปลี่ยนชื่อเป็น ทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี 2527 จากปณิธานตั้งมั่นของผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้องการสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพชั้นนำของประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากมุ่งส่งเสริมด้านการเรียน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนกิจกรรมการกีฬา โดยจัดให้มีศูนย์กีฬาและสนามกีฬาเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรตลอดจนบุคคลภายนอก และได้ส่งทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันตามคำเชิญของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และฟุตบอลถือเป็นกีฬาหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยได้ส่งสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันเรื่อยมา
เข้าร่วมกับสมาคมฟุตบอล
แก้เมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2531 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ร่วมเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นการเริ่มต้นการเป็นสโมสรฟุตบอลอย่างเป็นทางการ และได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ก่อนจะสามารถเลื่อนระดับชั้นสู่ถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี พ.ศ. 2533 และเลื่อนขึ้นไปแข่งในถ้วยพระราชทานประเภท ข. ในปี พ.ศ. 2534 จากการบ่มเพาะฝึกฝนพัฒนาทักษะของทีมเรื่อยมา จนปี พ.ศ. 2543 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ตำแหน่งรองชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทำให้ได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมการแข่งขันในไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2544/2545 และจบที่อันดับ 3
ไทยพรีเมียร์ลีก
แก้ในฤดูกาล 2545/2546 สโมสรคว้าแชมป์ไทยลีกดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ ทำให้ได้รับสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งถือเป็นผลงานในระดับที่ดีที่สุดครั้งแรกของการก่อตั้งสโมสร และถือเป็นทีมสโมสรเดียวจากสถาบันการศึกษาที่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศได้โดยที่มีนักกีฬาส่วนใหญ่มาจากนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย จนมาถึงการเข้าร่วมแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพก็สามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของไทยได้สำเร็จ จากทีมร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม และได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และยังได้รับเชิญจากสมาคมฟุตบอลประเทศสิงคโปร์ให้เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลสิงคโปร์คัพ 2007 (ได้อันดับ 3) และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 ในไทยพรีเมียร์ลีก ส่วนผลแข่งขันจากรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008 จับฉลากได้อยู่ในสายเอฟ ซึ่งแข่งขันกับทีมคาวาซากิ ฟรอนตาเล่ จากญี่ปุ่น อาเรมามาลังจากอินโดนีเซีย และชุนนัม ดรากอนส์จากเกาหลีใต้ โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 6 นัด ทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพเสมอ 3 และแพ้ 3 ตกรอบแบ่งกลุ่มของรายการนี้ แต่ก็ถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทีมสู่การแข่งขันอาชีพระดับนานาชาติ
เปลี่ยนชื่อเป็นแบงค็อก ยูไนเต็ด
แก้ปี พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด จากการร่วมเป็นพันธมิตรกับกรุงเทพมหานคร ด้วยหลักการและเหตุผลที่ต้องการพัฒนาทีมของมหาวิทยาลัยให้เป็นทีมของชาวกรุงเทพฯ และเพื่อยกระดับมาตรฐานฟุตบอลอาชีพของไทยสู่ความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว ทำให้มีการปรับเปลี่ยนของสโมสรหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนตัวประธานสโมสรจากเรือโทหญิงสุธี บูรณธนิต เป็นนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และเปลี่ยนสัญลักษณ์ตลอดจนสีชุดแข่งขันจากสีประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสีประจำกรุงเทพมหานคร รวมทั้งย้ายสนามแข่งขันจากสนามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มาเป็นสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
และเมื่อเดือนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมสนับสนุนโดยการถือหุ้นรายใหญ่ของสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตให้เกิดแก่วงการฟุตบอลไทย รวมทั้งได้เริ่มจัดตั้ง สถาบันสอนฟุตบอลกรุงเทพมหานคร หรือ แบงค็อก ฟุตบอล อคาเดมี จากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร พร้อมกับสร้างปูทางสู่ระดับนานาชาติให้กับทีมด้วยการดึงนักเตะต่างชาติมาเข้าร่วมทีม ตลอดจนรวมพลนักเตะระดับชาติที่มีชื่อหลายคนมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีม ด้วยเป้าหมายสำคัญกับการขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของไทยพรีเมียร์ลีก แต่สโมสรก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังจนจบฤดูกาล 2552 และฤดูกาล 2553 ด้วยอันดับ 13 และ 15 ตามลำดับ ตกชั้นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลต่อมา
ตกชั้น
แก้หลังจากตกชั้นลงสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 สโมสรก็ได้ตั้งเป้าหมายในการกลับขึ้นไปแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนแปลงทีมใหม่ทั้งหมดเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและสร้างรากฐานให้มีความพร้อมในการเป็นสโมสรฟุตบอลชั้นนำของประเทศ โดยในฤดูกาล 2554 สโมสรจบการแข่งขันด้วยอันดับ 6 ของไทยลีก ดิวิชั่น 1 พลาดการเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกอย่างน่าเสียดาย สำหรับในฤดูกาล 2555 ภายใต้การนำของ สะสม พบประเสริฐ แม้จะออกสตาร์ทช่วงต้นฤดูกาลไม่ดีนัก แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายสโมสรจึงกลับมาทำผลงานได้ดีในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล ส่งผลให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 คว้าตั๋วใบสุดท้ายเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกได้ในที่สุด
ยุคใหม่และการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก
แก้ปี พ.ศ. 2556 ขจร เจียรวนนท์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด คนใหม่ ต่อจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ซึ่งมีการปรับปรุงสโมสรให้มีความแข็งแกร่งขึ้นในหลายๆ ด้านเพื่อสู้ศึกไทยพรีเมียร์ลีก โดยในปีเดียวกัน ผู้สนับสนุนหลักอย่าง ทรูวิชั่นส์ ได้ทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่กว่า 60 ล้านบาทเพื่อใช้สนับสนุนสโมสร พร้อมกับเปิดตัวนักเตะหน้าใหม่ที่สโมสรดึงเข้ามาร่วมทีมอาทิเช่น รณชัย รังสิโย, ปกาศิต แสนสุข, พงษ์พิพัฒน์ คำนวณ, โทนี่ คอสต้า และ มาริโอ ดาซิลวา เข้ามาผนึกกำลังร่วมกับนักเตะชุดเก่าเมื่อฤดูกาลที่แล้วซึ่งช่วยให้ศักยภาพของทีมโดยรวมดีขึ้น สำหรับเป้าหมายในฤดูกาล 2556 สะสม พบประเสริฐ หัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งเป้าที่จะพาทีมให้อยู่รอดในลีกสูงสุดของประเทศไทยให้ได้ ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่เป้าหมายที่สูงกว่าในอันดับต่อไป
สำหรับผลการแข่งขันในฤดูกาล 2556 สโมสรออกสตาร์ทได้ไม่ดีนักเก็บได้เพียง 1 คะแนนจากการแข่งขัน 7 นัดแรก ทำให้ถูกมองว่าเป็นทีมเต็งในปีนี้ที่ต้องตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชั่น 1 แต่ด้วยกำลังใจจากกองเชียร์ ประกอบกับความมุ่งมั่นของทีมงานและนักเตะ ส่งผลให้สโมสรมีผลงานที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล จนสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 และรักษาสถานะสโมสรในลีกสูงสุดของประเทศไทยได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก่อนจะไต่ขึ้นมาตามลำดับภายใต้การคุมทีมของ อาเลชังดรี ปอลกิง จนกระทั่งในฤดูกาล 2559 แข้งเทพ ก็ประสบความสำเร็จในการคว้าสิทธิ์ไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2017 หลังจากจบฤดูกาลด้วยรองแชมป์ นับเป็นการกลับไปแข่งขันถ้วยสโมสรเอเชียครั้งแรกในรอบ 10 นับตั้งแต่ปี 2550 ที่คว้าสิทธิ์ไปแข่งขันในฐานะแชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549
ในการแข่งขันถ้วยสโมสรเอเชียของ แข้งเทพ ในปี 2560 เริ่มต้นที่รอบเพลย์ออฟ ซึ่งพวกเขาเปิดบ้านเจอกับสโมสรฟุตบอลยะโฮร์ดารุลตาซิม ทีมแชมป์มาเลเซียซูเปอร์ลีก แต่ แข้งเทพ กลับพลาดท่าดวลจุดโทษแพ้ไป 6-5 ตกรอบไปในที่สุด และถือเป็นการพ่ายแพ้ยะโฮร์ของทีมสโมสรจากไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย
ปี 2562 สโมสรได้รับสิทธิ์เข้าไปแข่งขันในการแข่งขันถ้วยสโมสรเอเชียอีกครั้ง เริ่มต้นในรอบเพลย์ออฟ ซึ่งพวกเขาเปิดบ้านเจอกับ สโมสรฟุตบอลฮานอย แต่ก็สิ้นสุดการแข่งขันแค่รอบนี้เพราะพลาดท่าแพ้ไปด้วยสกอร์ 0-1 ต้องผิดหวังและหยุดการเดินทางที่รอบเพลย์ออฟอีกครั้ง
ในปี 2566 สโมสรชนะเลิศไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 นับเป็นการชนะเลิศรายการแรกของสโมสร นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อทีมจากสโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นแบงค็อก ยูไนเต็ด และชนะเลิศการแข่งขัน ช้าง เอฟเอคัพ 2566–67 โดยการเอาชนะจุดโทษ ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี 4-2 หลังจากเสมอกันในเวลา 1-1 ซึ่งถือเป็นแชมป์รายการเมเจอร์แรกในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่คว้าแชมป์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 สิ้นสุดการรอคอยอันยาวนานของสโมสร และในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยสโมสรเอเชีย สโมสรได้สิทธิ์เข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มในฐานะรองแชมป์ไทยลีก ฤดูกาล 2565-66 ในรอบแบ่งกลุ่มพวกเขาทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม เอฟ ร่วมกลุ่มกับ สโมสรฟุตบอลช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ จากเกาหลีใต้ ไลออนซิตีเซเลอส์ จากสิงคโปร์ และ สโมสรกีฬาคิตฉี จากฮ่องกง นับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้สโมสรด้วยการเข้ารอบสู่การแข่งขันรอบ 16 ทีมสุดท้าย พบกับ โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส จากประเทศญี่ปุ่น โดยในเกมแรกสามารถยันเสมอได้ด้วยสกอร์ 2-2 ก่อนต้องตกรอบไปอย่างน่าเสียดายในเลกที่สองช่วงต่อเวลาพิเศษด้วยสกอร์ 1-0 หลังจากเสมอกันในเวลา 0-0 ซึ่งเป็นสถิติใหม่ของสโมสรในรายการถ้วยสโมสรเอเชียที่เคยทำได้ดีที่สุดที่รอบแบ่งกลุ่มในการแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2007
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2023–24 กลุ่ม เอฟ
แก้อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ | UTD | JBH | LCS | KIT | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แบงค็อก ยูไนเต็ด | 6 | 4 | 1 | 1 | 11 | 8 | +3 | 13 | ผ่านเข้าสู่ รอบ 16 ทีมสุดท้าย | — | 3–2 | 1–0 | 1–1 | |
2 | ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ | 6 | 4 | 0 | 2 | 12 | 9 | +3 | 12 | 3–2 | — | 3–0 | 2–1 | ||
3 | ไลออนซิตีเซเลอส์ | 6 | 2 | 0 | 4 | 5 | 9 | −4 | 6 | 1–2 | 2–0 | — | 0–2 | ||
4 | คิตฉี | 6 | 1 | 1 | 4 | 7 | 9 | −2 | 4 | 1–2 | 1–2 | 1–2 | — |
สัญลักษณ์สโมสร
แก้-
ฤดูกาล 2543–2551
-
ฤดูกาล 2552–2556
-
ฤดูกาล 2557
-
ฤดูกาล 2561–ปัจจุบัน
สนามแข่งขัน
แก้สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้ สนามกีฬาภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต เป็นสนามแข่งขันในนัดเหย้า
ในปี 2552 หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด ได้ย้ายสนามเหย้ามาที่ สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร แต่ก็มีการสลับกลับมาใช้ สนามกีฬาภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ศูนย์กีฬาสุรี บูรณธนิต เป็นบางครั้งในวันที่สนามไม่ว่าง
ในปี 2559 แบงค็อก ยูไนเต็ด ย้ายจากสนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ไปใช้ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีความจุผู้ชม 20,000 ที่นั่ง และได้มาตรฐานจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2559 ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมเพื่อลงแข่งขันในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นชุดรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทีมงาน
แก้ตำแหน่ง | สัญชาติ | ชื่อ |
---|---|---|
ประธานสโมสร | ขจร เจียรวนนท์ | |
ผู้อำนวยการสโมสร | เอิร์นส์ มิดเดนดอร์ป | |
ผู้จัดการทีม | สุรเดช อนันทพงศ์ | |
หัวหน้าผู้ฝีกสอน | ธชตวัน ศรีปาน | |
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝีกสอน | ซารีฟ สายนุ้ย | |
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝีกสอน | ภานุพงศ์ วงศ์ษา | |
โค้ชฟิตเนส | เปาโล อเล็กซานเดร | |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | ปาโวล ฮรันเคียลิก | |
นักกายภาพบำบัด | แอนดี้ ชิลลิงเกอร์ | |
นักกายภาพบำบัด | นรีภัทร ลิ้มเทียมรัตน์, มงคล แซ่ท้าว, นคินทร์ สุวรรณหังสกุล | |
เจ้าหน้าที่ทีม | ปกป้อง พงศ์จันทรเสถียร, นิธินันท์ ศิริลดาจินดาเลิศ, ชัชชัย พึ่งทอง, สุวิทย์ พิมพ์สวรรค์ |
ทำเนียบผู้ฝึกสอน
แก้ชื่อ | สัญชาติ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
สมชาย ทรัพย์เพิ่ม | 2549 – มีนาคม 2553 | ชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 | |
วรกร วิจารณรงค์ | มีนาคม – กรกฎาคม 2553 | ||
ทวีรักษ์ สิทธิพูลทอง | กรกฎาคม – สิงหาคม 2553 | ||
ประพล พงษ์พานิช | สิงหาคม 2553 – ตุลาคม 2554 | ||
สุวโรจน์ อภิวัฒน์วราชัย | ตุลาคม – พฤศจิกายน 2554 | ||
สะสม พบประเสริฐ | พฤศจิกายน 2554 – มกราคม 2557 | ||
รุย เบงตู | มกราคม – เมษายน 2557 | ||
ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล | เมษายน – มิถุนายน 2557 | ||
อาเลชังดรี ปอลกิง | มิถุนายน 2557 – ตุลาคม 2563 | รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2559 รองชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2560 รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2561 | |
ธชตวัน ศรีปาน | พฤศจิกายน 2563 – มีนาคม 2565 | ||
ออเรลิโอ วิดมาร์ | มีนาคม – ธันวาคม 2565 | ||
ธชตวัน ศรีปาน | ธันวาคม 2565 – | รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 รองชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2565–66 ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2566–67 ชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2566-67 |
สถิติ
แก้ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ถ้วย ก/แชมเปียนส์คัพ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู | ผู้ทำประตูสูงสุด | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดิวิชั่น | P | W | D | L | F | A | GD | Pts | Pos. | ชื่อ | ประตู | ||||||
2545/46 | ไทยลีกดิวิชั่น 1 | 22 | 13 | 8 | 1 | 42 | 10 | +32 | 47 | 1 | — | — | — | ||||
2546/47 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 18 | 9 | 4 | 5 | 26 | 22 | +4 | 31 | 4 | — | — | |||||
2547/48 | 18 | 5 | 7 | 6 | 16 | 21 | -5 | 22 | 7 | — | — | ||||||
2549 | 22 | 11 | 6 | 5 | 25 | 17 | +8 | 39 | 1 | รองชนะเลิศ | อุบล ไก่แก้ว | 7 | |||||
2550 | 30 | 14 | 5 | 11 | 39 | 36 | +3 | 47 | 4 | รอบแบ่งกลุ่ม | — | กิตติศักดิ์ ศิริแว่น | 8 | ||||
2551 | 30 | 9 | 8 | 13 | 27 | 36 | -9 | 35 | 10 | — | — | สุริยา ดอมไธสง | 8 | ||||
2552 | 30 | 5 | 15 | 10 | 24 | 34 | -10 | 30 | 13 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | อุบล ไก่แก้ว | 4 | |||||
2553 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 30 | 5 | 9 | 16 | 25 | 52 | -27 | 24 | 15 | รอบสี่ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | ซารีฟ สายนุ้ย | 5 | |||
2554 | ไทยลีกดิวิชั่น 1 | 34 | 15 | 6 | 13 | 56 | 52 | +4 | 51 | 6 | รอบสอง | รอบแรก | รอแม็ง กัสมี | 13 | |||
2555 | ไทยลีกดิวิชั่น 1 | 34 | 23 | 5 | 6 | 57 | 29 | +28 | 74 | 3 | รอบสาม | รอบแรก | 17 | ||||
2556 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 32 | 8 | 7 | 17 | 38 | 61 | -23 | 31 | 13 | รอบสี่ | รอบแรก | สมปอง สอเหลบ | 9 | |||
2557 | 38 | 15 | 14 | 9 | 38 | 37 | +1 | 54 | 8 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบแรก | รอแม็ง กัสมี | 12 | ||||
2558 | 34 | 16 | 9 | 9 | 59 | 47 | +12 | 57 | 5 | รอบแรก | รอบสอง | ดราแกน บอสโควิช | 13 | ||||
2559 | 31 | 26 | 2 | 3 | 72 | 36 | +36 | 75 | 2 | รอบแรก | รอบก่อนรองชนะเลิศ | 20 | |||||
2560 | ไทยลีก | 34 | 21 | 3 | 10 | 97 | 57 | +40 | 66 | 3 | รองชนะเลิศ | รอบสอง | รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ รอบ 2 | — | 38 | ||
2561 | 34 | 21 | 5 | 10 | 68 | 36 | +32 | 71 | 2 | รอบแรก | รอบสอง | — | — | ร็อบสัน | 14 | ||
2562 | 30 | 13 | 11 | 6 | 55 | 32 | +23 | 50 | 4 | รอบรองชนะเลิศ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ รอบ 2 | — | เนลซอน โบนิยา | 16 | ||
2563–64 | 30 | 15 | 6 | 9 | 57 | 39 | +18 | 51 | 5 | รอบรองชนะเลิศ | งดจัดการแข่งขัน | — | — | ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม | 12 | ||
2564–65 | 30 | 15 | 8 | 7 | 53 | 30 | +23 | 53 | 3 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | เอเบร์ชี | 15 | ||||
2565–66 | 30 | 19 | 5 | 6 | 55 | 22 | +33 | 62 | 2 | รองชนะเลิศ | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | วิลเลี่ยน โมต้า | 12 | ||||
2566–67 | 30 | 17 | 10 | 3 | 58 | 24 | 34 | 61 | 2 | ชนะเลิศ | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | ชนะเลิศ | รอบ 16 ทีม | — | วิลเลี่ยน โมต้า | 20 | |
2567–68 |
ชนะเลิศ |
รองชนะเลิศ |
อันดับที่สาม |
เลื่อนชั้น |
ตกชั้น |
N/A = ไม่ทราบข้อมูล |
ผลงานระดับทวีป
แก้ฤดูกาล | การแข่งขัน | รอบ | คู่แข่ง | เหย้า | เยือน | อันดับ |
---|---|---|---|---|---|---|
2550 | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | กลุ่มเอฟ | ช็อนนัมดรากอนส์ | 0–0 | 2–3 | อันดับที่ 4 |
คาวาซากิ ฟรอนตาเล | 1–2 | 1–1 | ||||
อาเรมามาลัง | 0–0 | 0–1 | ||||
2560 | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | รอบคัดเลือกรอบสอง | โจโฮร์ดารุลตักซิม | 1–1 (ต่อเวลา) (4–5 p) | ||
2562 | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | รอบคัดเลือกรอบสอง | ฮานอย | 0–1 | ||
2566–67 | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | กลุ่มเอฟ | ไลออนซิตีเซเลอส์ | 1–0 | 2–1 | อันดับที่ 1 |
ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ | 3–2 | 2–3 | ||||
คิตฉี | 1–1 | 2–1 | ||||
รอบ 16 ทีม | โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส | 2–2 | 0–1 (ต่อเวลา) |
2–3 | ||
2567–68 | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท | รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ | ชานตงไท่ชาน | 1–1 (ต่อเวลา) (3–4 p) | ||
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู | กลุ่มจี | นามดิ่ญ | 3–2 | 0–0 | อันดับที่ 1 | |
ลีแมน | 4–1 | 1–0 | ||||
แทมพินีสโรเวอส์ | 4–2 | 0–1 | ||||
รอบ 16 ทีมสุดท้าย | ซิดนีย์ |
เกียรติประวัติ
แก้- ชนะเลิศ (1) : 2549
- รองชนะเลิศ (4) : 2559, 2561, 2565–66, 2566–67
- ชนะเลิศ (1) : 2545–46
- ชนะเลิศ (1) : 2566–67
- รองชนะเลิศ (2) : 2560, 2565–66
- ชนะเลิศ (1) : 2566