สโมสรฟุตบอลโบลาเวน สมุทรปราการ

สโมสรฟุตบอลโบลาเวน สมุทรปราการ หรือ โบลาเวน สมุทรปราการ เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก

โบลาเวน สมุทรปราการ เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลโบลาเวน สมุทรปราการ
ฉายาป้อมปราการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2546
(ในชื่อ เทศบาลนครสมุทรปราการ)
พ.ศ. 2551
(ในชื่อ สมุทรปราการ เอฟซี)
พ.ศ. 2565
(ในชื่อ โบลาเวน สมุทรปราการ เอฟซี)
สนามสนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี
(ความจุ:6,800 ที่นั่ง)
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ จำกัด
ประธานบูรไท พัลลภดิษฐ์สกุล ไทย
ผู้จัดการทีมบูรไท พัลลภดิษฐ์สกุล ไทย
ผู้ฝึกสอนจิราวัฒน์ ไหลนานานุกูล ไทย
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 กรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 12
เว็บไซต์www.samutprakanfc.com
สีชุดทีมเยือน

ประวัติ

แก้

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ หรือสมุทรปราการ เอฟซี ก่อตั้งจากแรงบันดาลใจของ พีรพัฒน์ ถานิตย์

ปฐมบทของตำนานฟ้า-ขาว ชาวสมุทรปราการ 30 ตุลาคม 2551 สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ก่อตั้งขึ้นโดยเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ เลขที่สมาชิก 1507 พร้อมการลงนามรับรองจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างถูกต้อง ให้สิทธิ์เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมกับสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพครั้งแรกของจังหวัดสมุทรปราการ ในรายการ "ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2" ประจำปี 2009 โดยเป็นทีมฟุตบอลอาชีพทีมแรกในจังหวัดสมุทรปราการ

บันทึกหน้าที่ 1 วันที่ 31 มีนาคม 2552 เวลา 16.00 น. คือวันที่ปฏิทินของสมุทรปราการเอฟซีถูกเปิดขึ้นในแผนที่ลูกหนังเมืองไทยอย่างเป็นทางการ โดยลงสนามในฐานะทีมเหย้า ต้อนรับการมาเยือน "สโมสรฟุตบอลโรสเอเชีย ปทุมธานี" ที่ "สนามฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ อุดมสุข" ผลการแข่งขันนัดประเดิมสนาม “ป้อมปราการ” สามารถต้อนเอาชนะคู่แข่งไปได้ 3-0 เก็บชัยชนะนัดแรก ตั้งแต่เกมแรกที่ทำการแข่งขัน ที่ทีมได้ประตูจาก ปราโมทย์ บุตะโรต, วุฒิชัย ถิ่นทวี และ จียัมฟี่ อาดู โดยมี ปราโมทย์ บุตะโรต เป็นนักเตะประวัติศาสตร์ของสโมสรที่ทำประตูแรกให้กับสมุทรปราการเอฟซีได้ ในนาทีที่ 30

แต่แล้ว “ป้อมปราการ” ที่กำลังทำผลงานในสนามได้อย่างยอดเยี่ยมเวลานั้น ต้องมาพบบททดสอบสำคัญเมื่อ สโมสรฯ กำลังจะต้องถูกยุบ ด้วยเหตุผลทางด้านการเงิน และสนามแข่งขันที่ไม่ผ่านสมาคมฯ เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างแรงกระเพื่อมขนาดใหญ่ให้กับแฟนบอลเลือดข้นทั้งหลาย ก่อนจะเกิดปรากฏการณ์ "ฟ้า-ขาว" ทั้งจังหวัด เพื่อช่วยพยุงให้สโมสรไม่ต้องล้มหายไปจากแผนที่ลูกหนังเมืองไทย อันนำมาซึ่งตำนานบทสำคัญที่เกิดขึ้นจาก"ศรัทธา" ของแฟนบอลจนเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว

คอนเสิร์ตบ่าววีเพื่อสมุทรปราการเอฟซี คอนเสิร์ตแห่งแรงพลังศรัทธา "พ.อ.อ. วีระยุทธิ์ นานช้า" หรือที่เรารู้กันในวงกว้างว่า "บ่าววี" นักร้องชื่อดัง ผู้ก้าวเข้ามาเป็น "ศิลปิน-นักกีฬา" คนแรกของสโมสรสมุทรปราการเอฟซี ได้ทำการระดมทุนจากแฟนคลับเพื่อช่วยหาเงินในการพยุงสมุทรปราการเอฟซี ไม่ให้ต้องถูกยุบ ด้วยการจัดคอนเสิร์ตที่ชื่อว่า "บ่าววีเพื่อสมุทรปราการเอฟซี"

สถานการณ์ในวันนั้น...สมุทรปราการเอฟซี ตามหลังผู้นำที่ชื่อ อยุธยา เอฟซี อยู่ 1 แต้ม ส่งผลให้โจทย์ในเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาลของ “ป้อมปราการ” คือต้องเก็บ 3 แต้มให้ได้เท่านั้น พร้อมภาวนาให้ผลอีกสนามออกมาเป็นใจ

เกมนัดดังกล่าว สมุทรปราการเอฟซีบุกไปเฉือนชนะโรสเอเชียถึงถิ่น ได้ประตูชัยจากปลายสตั๊ดของ "กฤษดา นาคพันธ์" พร้อมกับโยนความกดดันไปให้อยุธยา เอฟซี ที่สุดท้ายพลาดท่าบุกไปโดน สิงห์บุรี เอฟซี ไล่ตามตีเสมอไปด้วยสกอร์ 1-1

ส่งผลให้ สมุทรปราการเอฟซี เถลิงบัลลังค์แชมป์ภาคกลางอย่างยิ่งใหญ่ และดราม่าบีบหัวใจกองเชียร์จนก้อนเลือดที่หน้าอกข้างซ้ายแทบจะหยุดทำงานกันเลยทีเดียว นับเป็นแชมป์ครั้งแรกของสโมสรฯ ตั้งแต่ปีแรกที่เข้าร่วมแข่งขันลีกอาชีพ

ผู้เล่นคนที่ 12 เรียกเขาว่า "ฟอร์เทรสเซี่ยน" ผู้เล่นหมายเลข 12 ของสมุทรปราการเอฟซีไม่ใช่ผู้ตัดสินในสนาม ไม่ใช่มือลึกลับจากเบื้องบน ไม่ใช่ผู้มีอำนาจนอกสารบบ แต่ผู้เล่นคนดังกล่าวของสมุทรปราการเอฟซีคือ "ฟอร์เทรสเซี่ยน" แฟนบอลฟ้า-ขาว ผู้มีใจรักป้อมปราการป้อมนี้จนสุดหัวใจต่างหาก

พลังบริสุทธิ์จากกลุ่มกองเชียร์ที่ชื่อว่า "ฟอร์เทรสเซี่ยน" นี้ คือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกอย่างของสมุทรปราการเอฟซี ทุกนัด ทุกชั่วโมง ทุกนาที ทุกวินาที และทุกๆ หยาดเหงื่อที่นักฟุตบอลสมุทรปราการเอฟซีเสียไปในเกมการแข่งขัน ผู้เล่นคนที่ 12 คนนี้ ก็เหน็ดเหนื่อย และสูญเสียพลังงานไปไม่แพ้กัน

"พี่ระ" หรือ ธีระพงษ์ ราชดุษฏี กองหน้าตัวเก๋าของทีมเคยหล่นความในใจถึงผู้เล่นคนที่ 12 ไว้ว่า "แฟนคลับของสมุทรปราการเอฟซี เป็นแฟนคลับที่สุดยอดมากครับ เชียร์แล้วนักเตะมีความสุขที่สุด ทำให้เราอยากวิ่งไม่มีหมด เพราะสมัยที่ผมเล่นให้เทศบาลนครสมุทรปราการ มีแต่นักฟุตบอลนั่งดูกันเอง ขอบคุณแฟนคลับทุกคนนะครับ ที่ให้กำลังใจกันตลอดมา ขอสัญญาว่าจะทุ่มเทเพื่อทีมทุกนัดครับผม"

ด้วยสโลแกนการเชียร์สุดเท่ "90 นาทีไม่มีหยุด...สุภาพบุรุษ สมุทรปราการ" ทำให้ในทุกๆ นัดที่สมุทรปราการเอฟซีลงแข่งขัน ไม่มีเลยสักครั้งที่ความเงียบจะเข้ามากลืนกินอัฒจันทร์ฝั่งที่ "ฟอร์เทรสเซี่ยน" ไปยืนทำหน้าที่อยู่ นี่คืออีกหนึ่งเคล็ดลับและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้สมุทรปราการเอฟซี สร้างตำนานแล้ว...ตำนานเล่า จนสโมสรฟุตบอลสีฟ้า-ขาวสโมสรนี้ กำลังขยับเข้าใกล้ความเป็น "สถาบัน" เข้าไปทุกขณะ

รังเหย้าลำดับที่ 10 ใครจะเชื่อว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน “ป้อมปราการ” จะผ่านการใช้สนามเหย้าในการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพมาแล้วทั้งสิ้น 10 สนามด้วยกัน!!! โดยไล่เรียงลำดับได้ตามนี้คือ สนามสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ (อุดมสุข), สนามฟุตบอลโรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ,สนามกีฬามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สนามเฉลิมพระเกียรติ (บางมด), สนามราชมังคลากีฬาสถาน, สนามเทพหัสดิน, สนามกีฬาลาดกระบัง 54, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา, สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ (สนามบางปลา), สนามกีฬาเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า, สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย (บางพลี)

ปี 2016 ทีมได้รับการตอบรับจาก กกท.สป. ในการย้ายกลับไปใช้ สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ การกีฬาแห่งประเทศไทย (บางพลี) สนามมาตรฐานระดับไทยลีก เพื่อตอบโจทย์กับระเบียบใหม่ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในเรื่องของคลับไลเซนต์ซิ่ง ที่ถูกนำมาปรับใช้กับทีมในระดับดิวิชั่น 2 ในปัจจุบัน

ผนึกกำลัง สองสิงห์ บนหน้าประวัติศาสตร์สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ คุณสมพร สิงห์รื่นรมย์ นักธุรกิจหนุ่มเจ้าของธุรกิจจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์รายใหญ่หลายสาขา และเจ้าของฟุตบอลหญ้าเทียม สองสิงห์ อารีน่า สปอร์ตคลับ ได้ก้าวเข้ามานั่งแท่นรองประธานสโมสรฯ พร้อมทำหน้าที่ผู้จัดการทีม

ในเวลานั้น “ป้อมปราการ” กลับมาสู่การเป็นทีมชั้นนำอีกครั้ง ด้วยเงินลงทุนมากมายอย่างที่เคยไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยิ่งเมื่อได้สปอร์นเซอร์อย่าง ลีโก้ โคเงียว และออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ เข้ามาร่วมผนึกกำลัง นั่นยิ่งส่งผลให้ในปี 2015 คืออีกหนึ่งยุคทองของทัพ “ป้อมปราการ” อย่างแท้จริง

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย สมุทรปราการเอฟซี ยังคงหยัดยืนได้อย่างมั่นคง ด้วยขุมกำลังสายเลือดใหม่ ที่สร้างความภาคภูมิใจให้จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเป็นตัวแทนสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรปราการ คว้าตำแหน่งแชมป์ ในการแข่งขัน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มวก.นนทบุรี คัพ ครั้งที่ 24 ได้สำเร็จ

โดยในทีมชุดนี้มี “เดอะดั๊ก” พงษ์สิริ ยะกัณฐะ หรือชื่อเดิมคือ ประพัฒน์ ยะกัณฐะ ตำนานกัปตันทีมผู้อยู่ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ที่หวนกลับมาสวมปลอกแขนกัปตันทีม พาทีมประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ ลำดับที่ 2 บนหน้าประวัติศาสตร์สโมสรฯ แห่งนี้

สู่การเป็นทีมฟุตบอลอาชีพอย่างแท้จริง สมุทรปราการเอฟซี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบเต็มตัว นั่นคือการที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในรูปแบบบริษัท โดยได้ทำการจดทะเบียนบริษัทขึ้นมาในชื่อ "บริษัท สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ จำกัด"

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ยังเดินหน้าพัฒนาอย่างเป็นระบบ ด้วยการดำเนินการจดแจ้งสโมสรกีฬาอาชีพ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมลีกอาชีพ กับการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยเป็นสมาชิกเลขที่ 062 เพื่อให้ได้มาตรฐาน คลับไลเซนซิ่ง หรือ ข้อกำหนดที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า)

ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ถือเป็นทีมในระดับ ดิวิชั่น 2 ลำดับต้นๆ ที่ผ่านเกณฑ์ คลับไลเซนซิ่ง ที่ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กำหนดไว้ ทั้งในเรื่องโครงสร้าง การจัดการ สนามแข่งขัน ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

สมุทรปราการเอฟซี ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนลูกหนังหลายต่อหลายแห่งในจังหวัด อาทิ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว และโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ รวมถึงทำการเปิดสอนฟุตบอลอะคาเดมี่ เพื่อสรรค์สร้างเยาวชนร่วมกันเพื่อป้อนเมล็ดพันธ์เหล่านี้สู่ทีมจังหวัดสมุทรปราการในอนาคตต่อไป

สนาม

แก้

ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรจนถึงปัจจุบัน “ป้อมปราการ” จะผ่านการใช้สนามเหย้าในการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพมาแล้วทั้งสิ้น 10 สนาม โดยไล่เรียงลำดับได้ตามนี้คือ สนามสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ (อุดมสุข), สนามฟุตบอลโรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ,สนามกีฬามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สนามเฉลิมพระเกียรติ (บางมด), สนามราชมังคลากีฬาสถาน, สนามเทพหัสดิน, สนามกีฬาลาดกระบัง 54, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา, สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ (สนามบางปลา), สนามกีฬาเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า, สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย (บางพลี)

ปัจจุบันใช้ สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ หรือ สมุทรปราการสเตเดียม เป็นสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้และสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ถนนเคหะบางพลี อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มีความจุทั้งหมด 6,800 ที่นั่ง

พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ (ที่นั่ง) ปี
13°36′40″N 100°35′35″E / 13.611216°N 100.593056°E / 13.611216; 100.593056 เมือง,สมุทรปราการ สนามฟุตบอลโรงเรียนนายเรือ 2550
13°36′28″N 100°37′05″E / 13.607707°N 100.618082°E / 13.607707; 100.618082 เมือง,สมุทรปราการ สนามสมุทรปราการเอฟซี 2551
13°37′00″N 100°45′26″E / 13.616635°N 100.757172°E / 13.616635; 100.757172 บางพลี,สมุทรปราการ สนามกีฬามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2552
13°34′46″N 100°47′41″E / 13.579326°N 100.794778°E / 13.579326; 100.794778 เขตทุ่งครุ,กรุงเทพมหานคร สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ (บางมด) 8,000 2552
13°34′46″N 100°47′40″E / 13.579414°N 100.794345°E / 13.579414; 100.794345 บางเสาธง,สมุทรปราการ สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ (เคหะบางพลี) 6,800 2553
13°42′22″N 100°47′02″E / 13.706226°N 100.783876°E / 13.706226; 100.783876 บางเสาธง,สมุทรปราการ สนามกีฬากรมศุลกากร (ลาดกระบัง 54) 2,000 2553–2554
13°48′07″N 100°47′27″E / 13.801944°N 100.790833°E / 13.801944; 100.790833 เขตมีนบุรี,กรุงเทพมหานคร สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (มีนบุรี) 10,000 2555
13°31′36″N 100°45′28″E / 13.526559°N 100.757874°E / 13.526559; 100.757874 บางพลี,สมุทรปราการ สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ (สนามบางปลา) 800 2555–2556
13°34′06″N 100°34′00″E / 13.568207°N 100.566732°E / 13.568207; 100.566732 พระสมุทรเจดีย์,สมุทรปราการ สนามกีฬาเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า 3,000 2556–2558
13°34′46″N 100°47′40″E / 13.579414°N 100.794345°E / 13.579414; 100.794345 บางเสาธง,สมุทรปราการ สนามกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ (เคหะบางพลี) 6,800 2559–ปัจจุบัน

ทีมงานชุดปัจจุบัน

แก้
 
แฟนคลับสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
4 DF   อาดัม มาเธอร์
6 MF   ธวัชชัย หวังหมู่กลาง
7 FW   นิโคลัส บอยด์
8 MF   ถิรวัสส์ ถนอมเเนว
9 FW   ณัฐวุฒิ ศรีจันทร์
10 MF   เตชธร สีหะวงษ์
11 MF   ณัฐวิทย์ แก้วพรม
13 MF   ไอแซก อาโบอักเย
14 MF   สิรวิชญ์ ปั้นสมใจ
16 MF   พัสกร ศรีทับทิม (กัปตันทีม)
17 DF   ธนเดช แซ่โซว
18 DF   สิวะ แสงสุข
19 MF   อเนชา ใจทน
20 MF   อโณทัย ป้องกัน
21 DF   พงศกร อินเนตร
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 FW   ภัทราวุธ น้อยพลทัน
23 DF   ชนภัทร หมั้นยืน
24 DF   ภัทรเดช กงพาน
25 GK   นิมิตร เรืองวงศ์
26 FW   เทพศิลป์ เมืองสุข
27 MF   มาร์เซล ซีกฮาร์ท
30 MF   กิตติธัช เจริญราช
35 FW   ชาติชาย รุ่งประเสริฐผล
37 MF   นวรรตกรณ์ ศรีภิรมวิจิตร
47 MF   จีรพงษ์ แสงสีภูมิ
48 GK   ณัฐพงศ์ ใจยิ้ม
55 GK   ก่อลาภ ตัณฑะตะนัย
77 DF   พสธร สมยศ
79 DF   ชิม พโย-ชัน
97 MF   ชานน โสภณพงศ์พิพัฒน์

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

แก้
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2549 (2006) ไทยลีกดิวิชัน 1 22 2 4 16 22 46 10 12
2550 (2007) ไทยลีกดิวิชัน 2 22 9 7 6 38 33 34 5
2551 (2008) ไทยลีกดิวิชัน 2 20 8 7 5 30 21 31 4
2552 (2009) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก 22 13 7 2 41 20 46 1 รอบสอง   จียัมฟี อาดู 18
2553 (2010) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก 30 15 14 1 43 16 59 2 รอบสอง รอบแรก   อามัวห์ ไอแซค 17
2554 (2011) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก 30 10 11 9 41 33 41 9 รอบสาม รอบ 64 ทีม   อุสมาน เชอรีฟ 8
2555 (2012) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก 34 7 12 15 29 49 33 13 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือก   พัฒนากรณ์ ทรายแก้ว 8
2556 (2013) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและตะวันออก 26 9 5 12 20 23 32 11 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือก   ซาโฟ่ ปรินซ์ โอฟี
  จิลซีมาร์ เปเรย์ร่า มาซิเอล
3
2557 (2014) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 กลุ่มภาคกลางตะวันออก 26 8 10 8 33 38 34 9 รอบแรก รอบคัดเลือก   ไบรท์ เคนเน็ต เอบูซอร์ 10
2558 (2015) ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 กลุ่มภาคกลางตะวันออก 26 15 5 6 36 22 50 3 รอบสอง 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ   แฟรงค์ เรโน่ 9
2559 (2016) ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออก 22 8 5 9 28 28 29 7 รอบสอง 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ   ฮามีรูล เจ๊ะอาแซ 7
2560 (2017) ไทยลีก 4 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 30 14 9 7 51 29 51 2 รอบสอง 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือก   กาเบรียล มินตา 14
2561 (2018) ไทยลีก 4 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 22 7 4 11 24 38 25 6 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบแรก   เดนนิส บอร์กีเต้ บอร์เตียร์ 7
2562 (2019) ไทยลีก 4 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 24 6 6 12 22 33 24 9 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบสอง   โจชัว เปร์เรยร่า ดา ซิลวา ฟิลโญ่ 6
2563-64 (2020-21) ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 20 2 6 12 15 35 12 12 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบสอง   มามูดู คอนเด้ 3
มีการยุติการแข่งขันหลังการระบาดโควิด-19 ระลอก 2 เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564
2564-65 (2021-22) ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล 26 1 12 13 23 38 15 13 รอบคัดเลือกรอบสอง   คาซูโอะ ฮอมมะ 10
2565–66 (2022-23) ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 8 12 6 33 27 36 7 รอบแรก รอบเพลย์ออฟ   ภัคพล ไหมหมาด 6
2566–67 (2023-24) ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 5 5 16 20 59 20 12 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม รอบ 16 ทีมสุดท้าย   ลูอัง บอร์ฌิส 6
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติของทีม

แก้

• 2552:   รางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก

• 2553:   รางวัลรองชนะเลิศ การแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก

• 2559:   รางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ''มวก.นนทบุรี คัพ'' ครั้งที่ 24

• 2560:   รางวัลรองชนะเลิศ การแข่งขัน ไทยลีก 4 โซนกรุงเทพและปริมณฑล

สโมสรพันธมิตร

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้