ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (อังกฤษ: Khor Royal Cup) ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานระดับชั้นที่ 3 ของประเทศไทย โดยจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 พร้อมกับ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. โดยเป็นการจัดการแข่งขันที่มีลักษณะเป็นขั้นๆ ตามแบบฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น โดย สโมสรพลศึกษา ได้ตำแหน่งชนะเลิศในรายการนี้เป็นสโมสรแรก
ก่อตั้ง | 2505 |
---|---|
ยุติ | 2558 |
ประเทศ | ไทย |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
ระดับในพีระมิด | 3 (2505-2538) 4 (2539-2549) 5 (2550-2558) |
เลื่อนชั้นสู่ | ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. |
ตกชั้นสู่ | ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. |
ทีมชนะเลิศสุดท้าย | วิทยาลัยเทคโนโลยีพิชญเกษม (สมัยที่ 1) (2558) |
ชนะเลิศมากที่สุด | ทหารอากาศ (9 สมัย) |
ต่อมาเมื่อมีการ จัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ในปี 2539 และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้ระดับชั้นของการแข่งขันถอยลงเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น
ต่อมาในปี 2559 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการปรับปรุงการแข่งขันระดับสโมสร จึงได้มีการยุบรวมฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[1] ประกอบกับทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง
ประวัติ
แก้สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีดำริ ที่จะต้องการพัฒนาการแข่งขันฟุตบอลสโมสร ในขณะนั้น จากเดิมที่มีเพียง ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย ให้เป็นระบบดิวิชั่น เหมือนประเทศอังกฤษ โดย พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค นายกสมาคมฯ ในขณะนั้น ได้ทำหนังสือถึง สำนักราชเลขาธิการ ขอพระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับสโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขันเพิ่มเติม
ต่อมา ในปี 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัล ก็คือ ถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ถ้วยพระราชทานประเภท ง. ทำให้การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรของไทยในขณะนั้น เพิ่มเป็น 4 ระดับขั้น และ เกิดการเปลื่ยนชื่อ การแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่เป็น ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ถ้วยน้อยเป็น ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยได้มีการเริ่มต้นการแข่งขัน ในการแข่งขันประจำปี 2505
รายนามสโมสรชนะเลิศ
แก้ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (2505-2538)
แก้รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (2505-2538) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสามของประเทศ[2]
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (2539-2547)
แก้รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2539-2548) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสี่ของประเทศ[2]
ครั้งที่ | ประจำปี | สโมสรชนะเลิศ |
---|---|---|
35 | 2539 | สโมสรธนาคารทหารไทย |
36 | 2540 | สโมสรองค์การค้าของคุรุสภา |
37 | 2541 | โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย |
38 | 2542 | สโมสรธนาคารสหธนาคาร |
39 | 2543 | สโมสรศุลกากร |
40 | 2544 | สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ |
41 | 2545 | สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า |
42 | 2546 | สถาบันราชภัฏเทพสตรี |
43 | 2547/48 | มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย |
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (2548-2558)
แก้รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2548-2558) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับห้าของประเทศ[2]
ครั้งที่ | ประจำปี | สโมสรชนะเลิศ |
---|---|---|
44 | 2549 | สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ |
45 | 2550/51 | โรงเรียนบ้านทุ่งเค็ด |
46 | 2552 | สโมสร เจ ดับบลิว กรุ๊ป |
47 | 2553 | สมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก |
48 | 2554 | สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย |
50 | 2555 | สโมสรพัทยา เอฟซี |
51 | 2556 | สโมสรมูลนิธิรวมน้ำใจ บางนา เอฟซี |
52 | 2557 | สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปากช่อง |
52 | 2558 | วิทยาลัยเทคโนโลยีพิชญเกษม |
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41244 “ทนายอ๊อด” เตรียมยื่นร้อง กกท. หลังส.บอลจัด ดี3 - PPTV 36
- ↑ 2.0 2.1 2.2 http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=64633.15;wap2 เก็บถาวร 2021-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทำเนียบแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภท ง - ไทยแลนด์สู้ๆ