สโมสรฟุตบอลทหารบก

สโมสรฟุตบอลทหารบก (ทหารบก เอฟซี) หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก[1]

ทหารบก เอฟซี
ชื่อเต็มทหารบก เอฟซี
ฉายาตรากงจักร
สนามมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
เจ้าของบริษัท อาร์มี่ ฟุตบอล จำกัด
ประธานพล.ต.เกษม เบญจนิรัติศัย
ผู้จัดการพ.อ.สมสกุล วิจิตรภาพ ไทย
ผู้ฝึกสอนร.ท.ชัยวัฒน์ นาคเอี่ยม ไทย
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 9
สีชุดทีมเยือน

โดยสโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบกในอดีต เคยสร้างผลงานคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ในปี พ.ศ. 2542 และได้ตำแหน่งรองแชมป์ในการแข่งขันไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2551 ต่อมาได้มีการพักสโมสร และโอนผู้เล่นให้กับทาง สโมสรฟุตบอลทหารบก ในปี 2552 ก่อนที่จะกลับมาส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้งในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี พ.ศ. 2553 และสามารถกลับเข้าสู่ระบบลีกอาชีพได้ ด้วยการเป็นแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ประจำปี พ.ศ. 2557 ทำให้ได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2อีกครั้งหนึ่ง

ในฤดูกาล 2558 หลังจากที่ได้กลับเข้ามาเล่นในดิวิชั่น 2 สโมสรได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นทหารบก เอฟซี โดยใช้สัญลักษณ์แบบเดิมของสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ดเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของสโมสร

ประวัติ

แก้

ยุคกรมสวัสดิการทหารบก

แก้

สโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.) ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการระดับสมัครเล่นอย่างฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. และสามารถคว้าแชมป์ได้ในปี 2542 จากนั้นได้ขึ้นมาเล่นในไทยลีก ดิวิชัน 2 และสามารถคว้าตำแหน่งรองแชมป์ไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2551 แม้จะได้เลื่อนชั้นไปสู่ไทยลีก ดิวิชัน 1 แต่ยังไม่ทันได้ลงแข่งก็มีการพักการแข่งขัน และโอนผู้เล่นที่อยู่ในการดูแลไปรวมกับสโมสรฟุตบอลทหารบก (เดิม) ที่ขณะนั้นลงแข่งขันในดิวิชั่น 1 อยู่เช่นกัน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 โดยภายหลังจากสโมสรทหารบก ได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก กรมสวัสดิการทหารบก ก็กลับมาส่งทีมลงแข่งขันอีกครั้งในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ปี 2553 เป็นต้นมา

ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2557 สโมสรภายใต้การคุมทีมของ พ.ท.ขวัญ รัตนรังษี ประสบความสำเร็จเมื่อผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ ไปพบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่สนามศุภชลาศัย สโมสรสามารถเอาชนะไปได้ 3-1 คว้าแชมป์และเลื่อนชั้นกลับขึ้นไปเล่นในระดับดิวิชัน 2ได้สำเร็จ

ทหารบก เอฟซี

แก้

หลังจากคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ทำให้สโมสรได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ในโซนกรุงเทพและภาคกลาง และได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์และชื่อสโมสรใหม่เป็น ทหารบก เอฟซี

โดยทหารบก เอฟซี ลงแข่งขันภายใต้ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 ในการแข่งขัน โตโยต้า ลีกคัพ 2558 รอบเพลย์ออฟที่พบกับสโมสรฟุตบอลปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด ที่สนามกีฬาพัฒนาสปอร์ต คลับ โดยสโมสรเอาชนะไปได้ 4-2 และเข้าถึงรอบ 64 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้ให้กับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ส่วนการแข่งขันในลีกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 ในโซนกรุงเทพและภาคกลาง

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
5 MF   ธนพล สินทำ
6 MF   ณรงค์ศักดิ์ แซ่เก้า
7 MF   อติกันต์ เกาะแก้ว
8 MF   อนุสรณ์ พรมประสิทธิ์ (กัปตันทีม)
9 MF   พิสิษฐ์ สุพัฒน์ธนกุล
10 FW   กนกพล นุชรุ่งเรือง
13 FW   นพดล กาแสน
14 MF   ชนวัตร สุขเกษม
17 MF   จิรายุทธ พรมทวี
18 MF   กรณ์วรรธน์ ก่ำแก้ว
19 DF   รุ่งรดิศ เดชอุปการ
20 MF   ชัชชนะ ศรีโพธิ์
22 DF   ฉัตรชัย โมกเกษม
23 DF   ศิวกร แยกโคกสูง
27 MF   ภาคภูมิ โสภา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
29 DF   พรชัย อินนอก
30 GK   รัชชานนท์ ขุนพรหม
33 DF   ธนพัฒน์ จำปาหอม
36 MF   ภูวาสิต ขำเขียน
39 GK   ณัฐวุฒิ ท้าวเงิน
42 GK   บรรลือศักดิ์ ค้าขาย
47 DF   เดชธนากร ตรีชา
62 MF   วทัญญู พรมโสภา
63 MF   ฐิติวัสส์ บุญระเพ็ง
64 DF   วสวัฒน์ หมัดอะดั้ม
66 DF   ดนุสรณ์ สมชอบ
69 DF   สุพจน์ บัวไร่ขิง
70 MF   อภิรักษ์ ดาวเรือง
88 MF   ธนรัตน์ ทุมเสน
99 DF   วศิน เทียมเมือง

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

แก้
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง
พ.ท.ขวัญ รัตนรังษี ไทย   มกราคม พ.ศ. 2557 มกราคม พ.ศ. 2559
จ.ส.อ.แมน จันทนาม ไทย   มกราคม พ.ศ. 2559 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ร.ท.อดุลย์ ฉำแสง ไทย   มกราคม พ.ศ. 2560 สิงหาคม พ.ศ. 2562
จ.ส.อ. ยุทธนา แสนศักดิ์ ไทย   สิงหาคม พ.ศ. 2562 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ร.ท.ชัยวัฒน์ นาคเอี่ยม ไทย   สิงหาคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน

แก้
เสื้อ ผู้สนับสนุน ช่วงปี
  กีล่า สปอร์ต เบียร์ช้าง 2558-ปัจจุบัน

เกียรติประวัติ

แก้

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

แก้
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2563–64 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
20 5 7 8 18 33 22 อันดับที่ 10 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม   นิพนธ์ คำทอง
  ศาสตรา โพธิ์คำ
  อติกันต์ เกาะแก้ว
3
2564–65 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 7 12 7 24 23 33 อันดับที่ 9 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม   คริษมายย์ ซึ้งตระกูลชัย
  นพดล กาแสน
4
2565–66 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 8 6 12 25 39 30 อันดับที่ 9 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม   สุรัตน์ สุริยะฉาย 7
2566–67 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 5 6 15 27 59 21 อันดับที่ 9 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม   รุ่งศักดิ์ คชรักษ์
  สุกฤษฏ์ ขุนอินทร์ธานี
4

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้