สโมสรฟุตบอลธำรงไทยสโมสร

สมาคมธำรงไทยสโมสร เป็นสโมสรฟุตบอลที่ก่อตั้งโดย สุเมธ แก้วทิพยเนตร โดยเริ่มแรกได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในนามทีมน้องของ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2524 จึงได้ส่งทีมในนามของตัวเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จีงได้มาลงแข่งขันใน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 ปัจจุบันเล่นใน ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนกรุงเทพมหานคร

ธำรงไทยสโมสร
ชื่อเต็มสมาคมธำรงไทยสโมสร
ฉายาทีมสหประชาชาติ
ก่อตั้งพ.ศ. 2523
สนามViking Soccer Field
กรุงเทพมหานคร , ประเทศไทย
ประธานสุเมธทิพย์ แก้วทิพยเนตร
ผู้ฝึกสอนฐากร เณรจิ๋ว
ลีกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
2562รอบคัดเลือก โซนกรุงเทพมหานคร

ประวัติสโมสร

แก้

สมาคมธำรงไทยสโมสร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 โดย สุเมธ แก้วทิพยเนตร ต้องการที่จะให้เป็นสโมสรฟุตบอลที่สามารถผลิตนักฟุตบอลอาชีพ โดยในระยะแรก สโมสรก่อตั้งมาพร้อมๆ กับ สโมสรบุญรอด บริวเวอรี โดยการสนับสนุนของ สันติ ภิรมย์ภักดี โดยในปีนั้น สโมสรบุญรอดฯ ทำการแข่งขันอยู่ใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ส่วนทางสโมสรธำรงไทยฯ ทำการแข่งขันอยู่ใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.[1]

ส่งแข่งขันในนามธำรงไทยฯ

แก้
 
ตราของสโมสรฯ

ต่อมาสโมสรบุญรอดฯ ชนะเลิศการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ค. ฤดูกาล 2523 ร่วมกับ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย เนื่องเพราะในปีนั้นเกิดเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ใน กรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ ต่อมาจึงได้ยุบสโมสรบุญรอด บริวเวอรี่ ทำให้ทางสโมสรธำรงไทยฯ ตัดสินใจส่งทีมลงแข่งขันเอง[1] โดยซ้อมและลงเล่นอยู่ใน สนามของตนเอง ณ ซอยวัดคู้บอน ถนนรามอินทรา กม.8 โดยเริ่มต้นสอนฟุตบอลในแบบของ ทีมชาติบราซิล และเริ่มส่งนักฟุตบอลและทีมงาน ไปอบรมที่ สโมสรฟลาเมงโก้ ขณะเดียวกันทางฟาเมงโก้ก็ได้ส่งเยาวชนของสโมสรฯ มาเล่นให้กับทางสโมสรธำรงไทยฯ อีกด้วย

ผงาดในระดับยุวชนโลก

แก้
 
ชุดแข่งของสโมสรฯ ในระดับเยาวชน

ต่อมาสโมสรธำรงไทยได้ลงแข่งขันฟุตบอลในระดับยุวชนโลกหลายรายการ โดยได้ลงแข่งขันในระดับยุวชนรายการแรก ที่ สหรัฐอเมริกา ในการแข่งขัน PREMIER CLASSIC CUP ในปี พ.ศ. 2532 และได้รางวัลชนะเลิศ ต่อมาสโมสรธำรงไทยได้ทำการแข่งขัน ในหลายประเทศจนได้ตำแหน่งชนะเลิศฟุตบอลยุวชนโลกถึง 23 ตำแหน่ง โดยใน 23 ตำแหน่งนี้ มีการแข่งขัน ฟุตบอลยุวชนต่างๆเช่น ฟุตบอลยุวชน เฮลซิงกิคัพ ปี 1999 [2] และ ฟุตบอลยุวชน โกเธียคัพ ปี 2000 ที่สร้างนักฟุตบอลอย่าง แอลัน เชียเรอร์ โดยสโมสรธำรงไทยส่งในรุ่น 11, 12, และ 13 ปี[3] เป็นต้น

สู่ฟุตบอลอาชีพ

แก้

นับตั้งแต่สโมสรฯ เลื่อนขั้นมาเล่นใน ถ้วยพระราชทาน ข. ในปี พ.ศ. 2525 ก็ได้สร้างความฮือฮาให้ วงการฟุตบอลไทย ด้วยที่ว่า เป็นสโมสรแรกๆ ที่จ้างนักฟุตบอลชาวต่างชาติมาเล่นในฟุตบอลไทย โดยส่วนมากมาจาก บราซิล โดยนักฟุตบอลบราซิลคนแรกๆ ในเมืองไทยตือ ตูลิโอ เฟโดร [1] ต่อมาจึงสามารถพาสโมสรมาเล่นใน ไทยลีก ได้สำเร็จ ต่อมาสโมสร ได้ลงเล่นใน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 แต่ทว่าสโมสรฯ กลับทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยจบอันดับที่ 18 โดยชนะแคเกมเดียว แพ้ไปถึง 27 นัด ยิงได้ 26 ประตูเสียไป 101 ลูก นับว่าเป็นสถิติการเสียประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล[1] ชณะเดียวกัน ทางสโมสรฯ กลับเจอเรื่องที่ไม่คาดฝัน เมื่อในการแข่งขันไทยลีก ที่ต้องพบกับ สโมสรตำรวจ กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ เข้ามารุมทำร้ายนักฟุตบอลของสโมสรในระหว่างเกมการแข่งขัน จนถึงขั้นบาดเจ็บ [4] นอกจากนี้ ยังต้องเจอกับการที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งกฎการเลื่อนชั้น-ตกชั้น ทั้งๆที่ ทางสโมสรฯ ไม่ทราบล่วงหน้า[1] ทำให้ต้องตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชัน 1 ในปีถัดมา

ประสบปัญหา

แก้

ต่อมาสโมสรฯ มีปัญหาทางการเงิน และด้านการจัดการของสมาคม ทำให้ สุเมธ แก้วทิพยเนตร ตัดสินใจปล่อยทีม จนกลายเป็นว่าสโมสรฯ ต้องกลับไปเล่นใน ถ้วยพระราชทาน ข. จนกระทั่งมีการฟอร์มทีมขึ้นใหม่ แต่ทว่ากลับโดนความไม่เป็นธรรมของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในการแข่งขัน ทำให้ทีมเริ่มถอดใจ ต่อมา สโมสรได้พยายามส่งทีมเข้าแข่งขันใน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 แต่กลับถูกทางฝ่ายจัดการแข่งขันปฏิเสธ ทำให้ต้อมีการยื่นฟ้องต่อศาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553[5] แต่ก็ได้เงียบหายไปจนไม่มีความเคลื่อนไหวอีก

กลับมาส่งทีมเข้าแข่งขัน

แก้

หลังจากทางสโมสรได้ยุติความเคลื่อนไหวในการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันของ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี 2560 ทางสโมสรได้ขอแสดงความจำนงที่จะส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ โดยส่งทีมลงเล่นในโซนภาคกลางและตะวันตก [6] มีบอส สุเมธทิพย์ แก้วทิพยเนตร บุตรชายของอาจารย์สุเมธมาเป็นประธานสโมสร

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ธนวัฒน์ สร้อยจิตร
2 GK   สันติสุข ทรงศิริ
3 DF   กฤชชลัช ชาญกล
4 DF   วรรณพงษ์ สวาทะสุข
5 MF   ศราวุธ แสงเยือน
7 MF   พิศาล พรหมสวาท
8 DF   ฐากร เณรจิ๋ว
9 FW   ณัฐวรรธน์ วรฐิติวาที
10 MF   พีร์ ไขว้พันธุ์
11 MF   ธนพล แก้วเรือน
13 MF   กองเงิน นันตา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 FW   ชลัทพงษ์ วัฒนา
15 MF   สถาพร จันทนเสวี
16 MF   ชาญณรงค์ อุ่นพงษ์
17 MF   อัษฎางค์ ฐานะวุฒิ
18 DF   นราวิชญ์ ธานีวัฒน์
19 MF   กันติกร พูสุวรรณ
20 FW   พีรสิทธิ์ อินทร์ทอง
21 MF   กชคุณ ผาสุข
22 DF   เอกภพ ขวานทอง
23 DF   วรรณพงษ์ สวาทะสุข
24 MF   ปรมัตถ์ พ่วงฉางทอง
25 DF   ศุภฤกษ์ เสตางกูล

อดีตผู้เล่นที่โดดเด่น

แก้

ผลงาน

แก้

สมาคมฟุตบอลฯ

แก้
ชนะเลิศ (1): 2523 (ชนะเลิศร่วมกับ ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์)

เยาวชน

แก้
ชนะเลิศ (3) : 2532, 2535, 2543
รองชนะเลิศ (1) : 2531
อันดับสาม (1) : 2533
ชนะเลิศ (1) : 2542
รองชนะเลิศ (1) : 2535
  • TIVOLI CUP
ชนะเลิศ (1) : 2542
รองชนะเลิศ (1) : 2535
ชนะเลิศ (1) : 2534, 2542
รองชนะเลิศ (1) : 2542
ชนะเลิศ (1) : 2534
  • STOCKHOLM SUMMER GAME
ชนะเลิศ (1) : 2543
รองชนะเลิศ (1) : 2538


อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 http://www.fourfourtwo.com/th/features/eruuengelaakhngsomsrthiihaayaip-pankhaamolkcchuderimtnkhng-thamrngaithy?page=0%2C1 เก็บถาวร 2016-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรื่องเล่าของสโมสรที่หายไป : ปั่นข้ามโลก...จุดเริ่มต้นของ "ธำรงไทย"- FourFourTwo Thailand
  2. https://web.archive.org/web/20040604043514/http://www.thaifootball.com/clubs/team-thamrongthai.html THAMRONGTHAI SAMOSORN CLUB (YOUTH) - Thaifootball.com
  3. http://www.gothiacup.se/swe/wp-content/uploads/group2000.pdf เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gothia Cup 2000
  4. http://www.supersubthailand.com/article/43-1/index.html 50 ปีในวงการฟุตบอล เรื่องเล่าของ สุเมธ แก้วทิพยเนตร - SuperSub Thailand
  5. http://www.smmsport.com/reader.php?news=38378[ลิงก์เสีย] ธำรงไทยยื่นฟ้องส.ฟุตบอลฯต่อศาลแล้วลั่นปีหน้าเล่นไทยลีก - SMMSPORT.com
  6. https://www.facebook.com/298448697232820/photos/a.298512503893106.1073741829.298448697232820/301996790211344/?type=3 - ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้