สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ

สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งในสายงานธุรกิจของธนาคารกรุงเทพ ก่อตั้งในปี 2506 โดยสามารถชนะเลิศ ถ้วย ก ได้ถึง 9 สมัย และเป็นทีมแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ในปี พ.ศ. 2539

ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ
ฉายาแบงค์บัวหลวง
พิ้งค์อาร์มี
ก่อตั้งพ.ศ. 2504
(ในนาม สโมสรธนาคารรวม)
ยุบพ.ศ. 2551
สนามสโมสรธนาคารกรุงเทพ อุดมสุข
บางนา, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ความจุ2,000
ประธานอนันต์ อมรเกียรติ
ผู้จัดการวิสูตร วิชายา
ฤดูกาลสุดท้าย
2551

อันดับที่ 14
(ตกชั้นและยุบสโมสร)
สีชุดทีมเยือน

ประวัติสโมสร

แก้
 
ตราสโมสรของสโมสรฯ ใช้ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร จนถึงปี 2515 แต่ก็ยังใช้ในธงแลกเปลี่ยน

สโมสรธนาคารกรุงเทพ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2498 โดยที่ตั้งสโมสรแห่งแรก อยู่หลังตึกกลางของธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ (ถนนพลับพลาชัย) โดยมีจุดมุ่งหมายเป็นที่สังสรรค์ของพนักงานของธนาคาร

กระทั่งในปี 2504 ได้มีการก่อตั้งทีมฟุตบอลในนาม ทีมธนาคารรวม โดยมาจากการริเริ่มของ บุญชู โรจนเสถียร ตัวแทนของ ธนาคารกรุงเทพ และ เกษม ล่ำซำ จาก ธนาคารกสิกรไทย[1]

ต่อมาในปี 2505 ได้ส่งทีมลงแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่องในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะสมัครเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในปีนั้นเอง และได้รับอนุญาตให้ลงแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยใหญ่

กระทั่งในปี 2506 ทีมได้ตัดสินใจแยกตัวออกมาจากทีมธนาคารรวม พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ พร้อมกับย้ายที่ตั้งของสโมสร มาอยู่ที่ซอยอุดมสุข ก่อนที่จะสามารถคว้าแชมป์ ฟุตบอลถ้วยใหญ่ สมัยแรกได้ในปีเดียวกันนั้นเอง[2]

สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆของวงการฟุตบอลไทยเสมอมา โดยชนะเลิศ ถ้วย ก 9 สมัย และชนะเลิศ ไทยลีก 1 สมัย

ทว่าหลังจากการแข่งขัน ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 ปิดฤดูกาลลง สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพซึ่งจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 14 จาก 16 ทีม ต้องตกชั้นไปเล่นไทยลีกดิวิชัน 1 2552 ร่วมกับการที่สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพไม่มีสิทธิจดทะเบียนนิติบุคคล เพราะขัดระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย สโมสรธนาคารกรุงเทพจึงประกาศยุบสโมสรไปในปีนั้นเอง[3]

ผู้เล่นชุดสุดท้ายของสโมสรก่อนยุบสโมสร

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ทนงศักดิ์ พันภิพัฒน์
2 MF   เจษฎา บุญเรืองรอด
3 DF   วุฒิศักดิ์ มณีสุข
4 DF   วีนัส พลซา
5 DF   วิทยา นับทอง
6 MF   นิติพงษ์ ไสยสิทธิ์
7 MF   อมฤต เอกวงศ์
8 MF   สุรศักดิ์ คุ้มกัน
9 FW   อนุสรณ์ ศรีชาหลวง
10 FW   สนอง ชัยประโคม
11 DF   ชวฤทธิ์ เขียวชอุ่ม
12 MF   ไตรภพ ชูชื่นกลิ่น
13 MF   พิชิต เกสโร
14 FW   ทัศพล อินแก้ว
15 MF   ทศพล ยอดจันทร์
16 FW   สิทธิศักดิ์ ตาระพัน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 FW   สมเดช มีเดช
18 GK   เชาวลิต จันทโคตร
19 FW   พีรชาติ มาตรสงคราม
20 MF   วัฒนา ฮมภาลาด
21 DF   กันตภณ สมพิทยานุรักษ์
23 DF   ทัศนา แช่มสะอาด
24 DF   จักรพงศ์ แสนหลวง
25 GK   ภานุพงศ์ พิจิตรธรรม
26 DF   จิรนิติ แถลงจิตร
27 MF   ภูวนาถ แสงศรี
28 DF   ปณต จุนทะจิตต์
29 DF   กิษฐชัย วงศ์สิม
30 FW   นริศ พูนทรัพย์
31 MF   อภิชาติ ทวีเฉลิมดิษฐ์ (กัปตัน)
32 FW   เสถียรพงษ์ การฟุ้ง
33 FW   เรวัติ มีเรียน

รายชื่อสต๊าฟ

แก้
ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน   วิสูตร วิชายา
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน   ก้องเกียรติ ก้องแดนไพร
  ประพันธ์ ขันโคกกรวด
  แดนชัย วิชัยดิษฐ

ผลงาน

แก้

ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย

แก้

ผลงานในไทยลีก

แก้
  • 2539/40 - ไทยลีก - ชนะเลิศ
  • 2540 - ไทยลีก - อันดับ 3
  • 2541 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2542 - ไทยลีก - อันดับ 8
  • 2543 - ไทยลีก - อันดับ 9
  • 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2545/46 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2546/47 - ไทยลีก - อันดับ 6
  • 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 8
  • 2549 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2550 - ไทยลีก - อันดับ 7
  • 2551 - ไทยลีก - อันดับ 14 (ตกชั้นไปเล่น ไทยลีก ดิวิชั่น 1 พร้อมประกาศยุบทีม)

อ้างอิง

แก้
  1. ปิยวดี สถิตย์วิภาวี (2523). ธนาคารกรุงเทพ จำกัด : การส่งเสริมการกีฬาเพื่อการประชาสัมพันธ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน., หน้า 29-31
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  3. "บัวหลวง"ปิดฉากประกาศยุบทีมลูกหนัง เหตุขัดระเบียบแบงก์ชาติ[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้