สโมสรฟุตบอลโกลเบล็ก

สโมสรฟุตบอลโกลเบล็ก หรือสมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เคยลงแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2

โกลเบล็ก เอฟซี
โลโก้ในฤดูกาล 2554
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลโกลเบล็ก
ฉายาเจ้าพ่อตลาดหุ้น (พ.ศ. 2550-2555)
ราชสีห์สายฟ้า (พ.ศ. 2556)
กระทิงดุ (พ.ศ. 2557-2558)
ก่อตั้งพ.ศ. 2549
(ในชื่อสมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก)
ยุบพ.ศ. 2559
(ขายสิทธิในการลงเล่นให้กับบีทียู ยูไนเต็ด)
สนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อำเภอคลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี

โดยสโมสรฟุตบอลโกลเบล็ก สามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ค. ประจำปี พ.ศ. 2552 และคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข ประจำปี 2553 ทำให้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ตั้งแต่ฤดูกาล 2554–2558 และเปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนได้แก่ โกลเบล็ก ราชสีห์ และ โกลเบล็ก ทีดับบลิวดี

ปี พ.ศ. 2559 สโมสรได้ยุบทีมเนื่องจากประสบปัญหาด้านงบประมาณในการทำทีมและได้ขายสิทธิในการลงเล่นลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2ให้กับบริษัท สโมสรกีฬา ส.บุญมีฤทธิ์ จำกัด ผู้เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลบีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด

ประวัติสโมสร

แก้

สมาคมพนักงานบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก

แก้

สมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด ได้เริ่มก่อตั้งทีมฟุตบอลของพนักงาน เพื่อใช้ในการแข่งขัน โบรกเกอร์ คัพ (Brokers Cup) ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างบริษัทโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และยังได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลในรายการระดับสมัครเล่นอย่างฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ซึ่งในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน จะใช้ผู้เล่นที่มาจากภายนอกบริษัทร่วมกับผู้เล่นที่เป็นพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด [1]

ในไทยลีก ดิวิชัน 1ฤดูกาล 2546-47 บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ได้เข้ามาสนับสนุนและบริหาร สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำ หนองจอก (โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์) ทำให้สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำ หนองจอก เปลี่ยนชื่อในฤดูกาลนั้นเป็น สโมสรฟุตบอลหลักทรัพย์โกลเบล็ค หนองจอก เพื่อลงแข่งขันในไทยลีก ดิวิชัน 1 แต่ผลงานในลีกไม่ดีเท่าที่ควร และถึงขนาดตกชั้นไปเล่นในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข เมื่อจบฤดูกาล

หลังจากตกชั้นทางบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัดได้ยุติการบริหารสโมสรร่วมกับโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์ โดยในปัจจุบันโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์คือสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค

แก้

หลังจากเลิกทำทีมร่วมกับโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์ สมาคมพนักงานบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด ได้ส่งทีมฟุตบอลของตนเองลงแข่งขันในรายการฟุตบอลถ้วยพระราชทาน โดยในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2551 สโมสรไม่ประสบความสำเร็จเมื่อตกรอบแรก

ฤดูกาลต่อมา สโมสรเข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2551-52 และผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้ให้กับ เทศบาลเมืองคูคต ไป 2–0 ตกรอบไปในที่สุด

ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ค. ประจำปี 2552 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ได้สำเร็จ และได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. โดยนับเป็นการคว้าแชมป์ครั้งแรกในรายการที่จัดโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข

แก้

ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข 2553 ที่จัดขึ้นที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม เป็นปีแรกในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ข. ของสโมสร และสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม

โดยในการแข่งขันรอบสอง สโมสรสามารถเอาชนะ โรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน ธนบุรี ไปได้อย่างขาดลอยถึง 8–0[2] ก่อนที่ในรอบรองชนะเลิศจะเอาชนะ โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ไป 4–0 และเข้าไปชิงชนะเลิศกับสโมสรฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี

ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 สโมสรสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรีไปได้ 3–1 คว้าแชมป์ไปครองและคว้าสิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2เป็นครั้งแรก

ดิวิชัน 2

แก้

ฤดูกาล 2554 สมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็กได้เข้ามาสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 เป็นฤดูกาลแรก โดยลงแข่งขันในโซนกรุงเทพและปริมณฑล และใช้สนามกีฬามหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ เป็นสนามเหย้า

สมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก ลงแข่งขันในระบบลีกของประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2554 ในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 นัดที่พบกับสโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยสโมสรสามารถเอาชนะไปได้ 1–0[3]

ยุบทีม

แก้

ในปี 2559 ทาง มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้เข้าซื้อกิจการสโมสรโกลเบล็ก เอฟซีพร้อมกับเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรบีทียู ยูไนเต็ด

สถิติต่างๆของสโมสร

แก้
  • ชนะขาดลอยมากที่สุด

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

อ้างอิง

แก้