ไทยลีก 2
ไทยลีก 2 (อังกฤษ: Thai League 2; ชื่อย่อ T2) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ระดับที่สองใน ประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2540 ภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทยลีก จำกัด มีสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 สโมสร ดำเนินการแข่งขัน ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 306 นัดต่อฤดูกาล
![]() | |
ก่อตั้ง | 2540 |
---|---|
ประเทศ | ![]() |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
จำนวนทีม | 18 |
ระดับในพีระมิด | 2 |
เลื่อนชั้นสู่ | ไทยลีก |
ตกชั้นสู่ | ไทยลีก 3 |
ถ้วยระดับประเทศ | ไทยเอฟเอคัพ |
ถ้วยระดับลีก | ไทยลีกคัพ |
ถ้วยระดับนานาชาติ | เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (ผ่านบอลถ้วย) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | หนองบัว พิชญ (2563–64) |
ชนะเลิศมากที่สุด | เพื่อนตำรวจ (4 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | เซ้นส์ Eleven Sports |
เว็บไซต์ | Thai League 2 (T2) |
![]() |
ประวัติแก้ไข
ก่อนหน้าที่จะมีการจัดการแข่งขัน การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสองของประเทศ คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (ถ้วยน้อย) ซึ่งจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 จนถึงปี พ.ศ. 2539 ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีความคิดในการที่จะปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ โดยเริ่มก่อตั้งฟุตบอลลีกสูงสุดขึ้น และมีปรับโครงสร้างลีก โดยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับที่สองแทน เพื่อรองรับสโมสรที่ตกชั้นจาก ไทยลีก ฤดูกาล 2539 และ สโมสรที่ขึ้นชั้นมาจาก ถ้วย ข. ฤดูกาล 2539 โดยแข่งขันระบบลีกแบบพบกันหมดสองนัด เหย้า-เยือน ซึ่งมีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันใน ฤดูกาลแรก 10 สโมสร โดยมีการเพลย์ออฟเลื่อนชั้น-ตกชั้น อีกด้วย
การควบรวมลีกแก้ไข
โดยในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับเปลื่ยนระบบการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับการรวมลีกในอนาคต จึงทำให้ ฤดูกาล 2549 เป็นฤดูกาลแรกที่ยกเลิกการเพลย์ออฟเลื่อนชั้น-ตกชั้น โดยจะให้สโมสรชนะเลิศและรองชนะเลิศของการแข่งขัน เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันใน ไทยลีก โดยอัตโนมัติ[1] และสืบเนื่องจากการที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 2 ขึ้นมาเป็นลีกระดับสาม แทนที่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทำให้มีการเปลื่ยนแปลงคือให้สองทีมอันดับสุดท้ายของตาราง (อันดับที่ 11 และ 12) ตกชั้นไปทำการแข่งขันใน ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2550
จนกระทั่งในปีถัดมา (พ.ศ. 2550) จึงมีการควบรวม โปรวินเชียลลีก โดยได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[2] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีกทั้งสองเข้าเป็นลีกเดียว โดยให้สิทธิ์สโมสรที่จบอันดับ 4-14 ในการแข่งขัน โปรลีก ฤดูกาล 2549 เข้าร่วมการแข่งขันในลีก โดยรวมกับ สโมสรที่จบอันดับ 3-10 ของ ฤดูกาล 2549 เป็น 24 สโมสร และปรับโครงสร้างลีกให้ลดจำนวนสโมสรที่ทำการแข่งขัน เหลือ 16 สโมสร ใน ฤดูกาล 2551
การปรับโครงสร้างลีกสู่ลีกอาชีพแก้ไข
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผลให้สมาคมฯ ต้องดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อบริหารลีกและจัดการแข่งขันแทนที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันเชิงรูปแบบ การบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น รวมทั้งแพร่หลายออกไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยใน ฤดูกาล 2554 สมาคมฯ ประกาศเพิ่มจำนวนสโมสรที่จะทำการแข่งขัน เป็น 18 สโมสรเป็นตันมาจนถึงปัจจุบัน[3]
- ประวัติตราไทยลีก 2
โครงสร้างของลีกแก้ไข
การเลื่อนชั้นแก้ไข
ในช่วงจัดการแข่งขันใหม่ๆ จนถึง ฤดูกาล 2548 การเลื่อนชั้นจะมีหลักเกณฑ์คือ สโมสรที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันในไทยลีกโดยอัตโนมัติ และจะมีการเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น-ตกชั้น ระหว่างสโมสรที่จบอันดับรองชนะเลิศ กับสโมสรอันดับที่ 11 ของไทยลีก (จนถึง ฤดูกาล 2543) ต่อมาใน ฤดูกาล 2545/46 มีการเปลี่ยนแปลง โดยให้สโมสรที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ และการเพลย์ออฟยังคงเดิม แต่ให้สิทธิ์สโมสรที่จบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 3 จะต้องไปแข่งเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น-ตกชั้น กับอันดับที่ 8 ของไทยลีกจนถึงฤดูกาล 2548
ใน ฤดูกาล 2563 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการแข่งขันใหม่ ซึ่งได้นำระบบการเพลย์ออฟกลับมาใช้อีกครั้งกล่าวคือ ยังคงให้สโมสรชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันใน ไทยลีก โดยอัตโนมัติ แต่จะให้สโมสรที่จบการแข่งขันอันดับที่ 3 - 6 จะต้องมาทำการแข่งขันเพลย์ออฟเพื่อหาสโมสรชนะเลิศเพลย์ออฟเลื่อนชั้นขึ้นไปทำการแข่งขันในไทยลีก ซึ่งแตกต่างจากหลายฤดูกาลก่อนหน้าที่มีการเลื่อนชั้นทั้งหมด 3 สโมสร โดยใช้ตารางอันดับเมื่อจบการแข่งขัน (กล่าวคือ สโมสรชนะเลิศ รองชนะเลิศ และ สโมสรที่จบอันดับ 3 ในการแข่งขันได้เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ)
การตกชั้นแก้ไข
สำหรับการตกชั้นไปเล่นใน ไทยเนชันนัลลีก ของสโมสรในลีกไทยลีก 2 นั้น ทีมอันดับ 16-18 จะต้องตกชั้นลงมาเล่นใน ไทยเนชันนัลลีก ในขณะเดียวกัน สโมสรชนะเลิศทั้งสายบน และ ล่างของประเทศ รวมไปถึงสโมสรชนะเลิศเพลย์ออฟ (สโมสรรองชนะเลิศของทั้งสองสาย) จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นมาทำการแข่งขันแทน โดยในสองฤดูกาลแรกของการแข่งขัน ได้จัดให้สโมสรอันดับที่ 10 ตกชั้นโดยอัตโนมัติ และสโมสรอันดับที่ 9 จะต้องไปเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น-ตกชั้น กับสโมสรรองชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ของปีนั้นๆ และยกเลิกไปใน ฤดูกาล 2542 ต่อมาเมื่อมีการจัดการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 2 ขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ทำให้มีการปรับกฎระเบียบ โดยสโมสรที่จบสองอันดับสุดท้ายของ ฤดูกาล 2549 ตกชั้นลงไปเล่นดิวิชั่น 2 ต่อมาเมื่อมีการปรับโครงสร้างลีก โดยใน ฤดูกาล 2550 กำหนดให้สโมสรที่จบอันดับที่ 8-12 ของสาย A และ B ตกชั้นไปทำการแข่งขันดิวิชั่น 2 เพื่อปรับโครงสร้างลีกให้ได้ 16 ทีมใน ฤดูกาลถัดไป
เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์แก้ไข
- ครั้งที่ 13 : สยามสปอร์ต
- ครั้งที่ 14-18 : ทรูวิชั่นส์ (ทรูสปอร์ต) / สยามสปอร์ต
- ครั้งที่ 19-23 : ทรูวิชั่นส์ (ทรูสปอร์ต) / ทีเอ็นเอ็น24 / สยามสปอร์ต / ไทยไทยแชนแนล
- ครั้งที่ 23-30 : เซ้นส์ / Eleven Sports
ผู้สนับสนุนหลักแก้ไข
รายชื่อผู้สนับสนุนหลักแข่งขันในฤดูกาลต่างๆ
- 2540-2541: ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 1)
- 2542: ยาตราปลามังกร (ฟุตบอลปลามังกรลีก ดิวิชั่น 1)
- 2543-2554: ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยลีก ดิวิชั่น 1)
- 2555-2559: ยามาฮ่า (ยามาฮ่า ลีกวัน (จนถึง 2558) แล้วเปลี่ยนเป็น ยามาฮ่าลีก ดิวิชั่น 1)
- 2560-ปัจจุบัน: โอสถสภา (เอ็ม-150 เดอะ แชมเปียนชิป)
สโมสรที่เข้าร่วมไทยลีก 2 (ฤดูกาล 2563–64)แก้ไข
และปริมณฑล
เกษตรศาสตร์
ไทยยูเนียน สมุทรสาคร
นครปฐม ยูไนเต็ด
เอ็มโอเอฟ ศุลกากรฯ
ทำเนียบสโมสรแก้ไข
ชนะเลิศและเลื่อนชั้นแก้ไข
2540 ถึง 2549แก้ไข
2550 ถึง 2562แก้ไข
2563 ถึง ปัจจุบันแก้ไข
สโมสรที่ชนะเลิศเพลย์ออฟและเลื่อนชั้น จะเป็น ตัวหนา
# | ฤดูกาล | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | สโมสรที่เข้าร่วมเพลย์ออฟ | สโมสรที่เลื่อนชั้น |
---|---|---|---|---|---|
23 | 2563–64 | หนองบัว พิชญ | เชียงใหม่ ยูไนเต็ด | นครปฐม ยูไนเต็ด ขอนแก่น ยูไนเต็ด แพร่ ยูไนเต็ด ชัยนาท ฮอร์นบิล |
หนองบัว พิชญ เชียงใหม่ ยูไนเต็ด รอระบุ |
24 | 2564–65 |
รางวัลแก้ไข
ผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาลแก้ไข
ปี | ผู้เล่น | สโมสร | ประตู |
---|---|---|---|
2563–64 | เปาโล คอนราโด้ | ขอนแก่น ยูไนเต็ด | 25 |
2562 | ติอาโก ชูลาปา | ระยอง | 19 |
2561 | บารอส ทาเดลลี่ | ตราด | 18 |
2560 | ฌูนาตัน เฟร์ไรรา เรอิส | ม.เกษตรศาสตร์ | 25 |
2559 | ฮริสติยาน คีรอฟสกี | ประจวบ | 17 |
2558 | เฟลิเป้ เฟอร์เรร่า ธนา ชะนะบุตร |
สุโขทัย เพื่อนตำรวจ |
25 |
2557 | บาโบ มาร์ค แลนดรี | อ่างทอง | 19 |
2556 | เลอังดรู จี โอลีเวย์รา ดา ลุส | สิงห์ท่าเรือ | 24 |
2555 | ลี ทัค | บางกอก | 23 |
2554 | อดิศักดิ์ ศรีกำปัง ภูวดล สุวรรณชาติ |
ปตท.ระยอง ชัยนาท |
21 |
2553 | ชัยณรงค์ ทาทอง | จุฬาฯ ยูไนเต็ด | 19 |
2552 | วุฒิพงษ์ เกิดกุล | รัตนบัณฑิต | 27 |
2551 | ทนงศักดิ์ พรมดาด มุสซา ซิลลา |
ราชวิถี สุพรรณบุรี |
18 |
2550 | มานะ หลักชุม | สุราษฎร์ธานี | 12 |
2549 | อานนท์ สังข์สระน้อย | เซ็นทรัล | 20 |
2548 | อานนท์ สังข์สระน้อย | เซ็นทรัล | 14 |
2547 | จักรพงษ์ สมบูรณ์ | ทหารบก | 14 |
2545/46 | กฤษขจร วงษ์รัตนะ | การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | 15 |
2544/45 | ชูชีพ ปุจฉาการณ์ | การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | 16 |
2543 | พิพัฒน์ ต้นกันยา ไชยา สอนไชยา คาราแมน |
ราชประชา กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย พนักงานยาสูบ |
10 |
2542 | ยอดชาย เดชเลย์ | ตำรวจ | 15 |
2541 | ปุณณรัตน์ จงรักษ์ | ระยอง-ราชพฤกษ์ | 17 |
2540 | เบลลี่ เย็บ | พนักงานยาสูบ | 18 |
เงินรางวัลและถ้วยรางวัลแก้ไข
เงินรางวัลแก้ไข
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท ไทยลีก จำกัด เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอลซึ่งได้คะแนนรวม เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับต่างๆ ดังต่อไปนี้
อันดับที่ | รางวัล |
---|---|
อันดับที่ 1 | 5,000,000 บาท |
อันดับที่ 2 | 3,000,000 บาท |
อันดับที่ 3 | 1,000,000 บาท |
อันดับที่ 4 | 500,000 บาท |
อันดับที่ 5 | 300,000 บาท |
อันดับที่ 6 | 100,000 บาท |
อันดับที่ 7 | 50,000 บาท |
นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน และโล่รางวัลสำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม, ผู้ทำประตูสูงสุด, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง, กองหน้า[6]
ถ้วยรางวัลชนะเลิศแก้ไข
ถ้วยรางวัลชนะเลิศ เป็นถ้วยเกียรติยศที่ทาง “สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ” และ “ฝ่ายจัดการแข่งขัน” จะมอบให้กับทีมชนะเลิศในวันแข่งขันนัดเหย้าที่เป็นนัดสุดท้ายของทีมชนะเลิศในแต่ละประเภท โดยมอบให้ครองเป็นเกียรตินาน 1 ปีและจะต้องส่งคืนให้กับ บริษัท ไทยลีก จำกัด ก่อนจบฤดูกาลของการแข่งขันปีถัดไปไม่น้อยกว่า 2 เดือน รวมทั้งจะต้องรับผิดชอบต่อการชำรุดหรือสูญหายของถ้วยรางวัลระหว่างที่ครอบครองอยู่ด้วย ทั้งนี้ “สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ” และ “ฝ่ายจัดการแข่งขัน” ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกคืนถ้วยรางวัลชนะเลิศได้ตลอดเวลา
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://web.archive.org/web/20060702011415/http://fat.or.th:80/download/Division1-2006-Policy.doc ระเบียบการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 2006 - ส.ฟ.ท.
- ↑ http://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัปภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
- ↑ "แถลงแล้ว ไทยลีก-ด.1 เพิ่ม 18 ทีม เพลย์อ๊อฟเริ่มหวด ธ.ค." SMM Sport. SMM Sport. 9 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ https://sport.mthai.com/football-thai/73392.html บุรีรัมย์เอฟซี เปลี่ยนชื่อเป็น วัวชน ยูไนเต็ด ลุยไทยลีก! - Mthai.com
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/574898 'ทีมเพื่อนตำรวจ' อดเตะไทยลีก ดันบีบีซียูเสียบแทน - ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ประกาศรางวัล และโล่ห์เกีรยติยศ ฟุตบอลสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก และลีกดิวิชั่น 1
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- Thai League 2 M-150 Championship ทางเฟซบุ๊ก
- โต๊ะข่าวThai League 2 ทางเฟซบุ๊ก
- League One Thailand ทางเฟซบุ๊ก