สโมสรฟุตบอลตราด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลตราด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพจากจังหวัดตราด ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 2 โดยสโมสรเคยลงแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2562
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลตราด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | ช้างขาวจ้าวเกาะ | |||
ก่อตั้ง | 2012 | |||
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดตราด | |||
ความจุ | 7,000 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | บริษัท ตราด เอฟซี จำกัด | |||
ประธาน | ชูชีพ เลี้ยงถนอม | |||
ผู้จัดการ | มนัส ชลาลัย | |||
ผู้ฝึกสอน | สมชาย มากมูล | |||
ลีก | ไทยลีก 2 | |||
2566–67 | ไทยลีก, อันดับที่ 16 (ตกชั้น) | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
ประวัติสโมสร
แก้สโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 จากการริเริ่มของชมรมกีฬาฟุตบอลของจังหวัด เพื่อส่งเข้าร่วมการแข่งขัน เอไอเอสลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ปี พ.ศ. 2555 โดย วิเชียร ทรัพย์เจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด เป็นที่ปรึกษาของสโมสร โดยมีฉายาของสโมสรในช่วงแรกว่า "สิงห์ร้ายตะวันออก"
ซึ่งในปีแรกของการแข่งขัน สโมสรทำผลงานได้ดีโดยจบอันดับสามของการแข่งขันฯ ในโซนภาคกลางและภาคตะวันออก และผ่านเข้ารอบไปทำการแข่งขันในรอบแชมเปี้ยนส์ ลีก และจบด้วยตำแหน่งชนะเลิศ ของสาย บี ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 ปี 2556 และได้รองชนะเลิศการแข่งขันในปีนั้นอีกด้วย
หลังจากที่สโมสร เลื่อนชั้นมาทำการแข่งขันในระดับดิวิชั่น 1 ผลงานของสโมสรทำได้ดี โดยจบอันดับที่ 7 ของตารางสองปีติดต่อกัน (2556, 2557)
ทว่า ในฤดูกาลถัดมา (ฤดูกาล 2558) ผลงานของสโมสรไม่ดีนัก โดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 20 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย มี 27 คะแนน จาก 38 นัด ตกชั้นกลับไปแข่งขัน ลีกภูมิภาคในปีถัดมา
ใน ดิวิชั่น 2 ปี 2559 สโมสรทำผลงานได้อย่างน่าพอใจโดย ได้ตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขัน ของโซนภาคตะวันออก และผ่านเข้ารอบทำการแข่งขันในรอบแชมเปี้ยนส์ ลีก ต่อมาสืบเนื่องจาก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติให้ยุติการแข่งขันฟุตบอลทุกรายการภายในประเทศเพื่อถวายความไว้อาลัย จึงได้มีการจับสลากเพื่อหา 3 สโมสรที่ได้เลื่อนชั้นสู่ ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2560[1] โดยผลการจับสลากเป็นสโมสรได้อันดับหนึ่ง ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันได้สำเร็จ
ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า
แก้สโมสรใช้สนามกีฬากลางจังหวัดตราด เป็นสนามเหย้า โดยรายละเอียดของสนามนั้นเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ที่ ถนนเนินตาแมว ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยเป็นที่ตั้งของศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดตราด และโรงเรียนกีฬาจังหวัดตราด ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด
พิกัดภูมิศาสตร์ | ที่ตั้ง | สนามเหย้า | ความจุ | ปี |
---|---|---|---|---|
12°14′02″N 102°31′30″E / 12.233759°N 102.524949°E | ตราด | สนามกีฬากลางจังหวัดตราด | 7,000 | 2555-ปัจจุบัน |
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ทีมงานสโมสร
แก้ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | ชูชีพ เลี้ยงถนอม |
ประธานที่ปรึกษาสโมสร | วิเชียร ทรัพย์เจริญ |
ผู้จัดการทีม | มนัส ชลาลัย |
หัวหน้าผู้ฝีกสอน | สมชาย มากมูล |
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน | มนัสวิน คติกำจร |
เจ้าหน้าที่ทีม | ณัฐกฤตา เข็มเพชร์ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน
แก้- สุรพงศ์ กุลนรา 2555 –2556
- หาญณรงค์ ชุณหะคุณากร 2556 –2557
- กฤษณ์ สิงหปรีชา 2557 –2558
- ประภาร นาคพงษ์ 2558 –2559
- สมเกียรติ ฟองเพชร 2559 –2560
- วรกรณ์ วิจารณ์ณรงค์ 2560
- ดุสิต เฉลิมแสน 2560 –2561
- พยงค์ ขุนเณร 2561 –2563
- สมชาย ชวยบุญชุม 2564 –2565
- หาญณรงค์ ชุษหะคุณากร 2565 –2566
- สันติ ไชยเผือก 2566 –2567
- ครองพล ดาวเรือง 2567
- สมชาย มากมูล 2567 –
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |||
2555 | ดิวิชั่น 2 ภาคกลาง | 34 | 20 | 11 | 3 | 66 | 34 | 71 | อันดับ 3 | รอบสาม | รอบสอง | รัฐพร แซ่ตั๋น | 22 |
2556 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 12 | 11 | 11 | 59 | 60 | 47 | อันดับ 6 | รอบสี่ | รอบแรก | Woukoue Mefire Raymond | 9 |
2557 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 14 | 7 | 13 | 47 | 33 | 49 | อันดับ 7 | รอบสี่ | — | เซยะ ซูงิชิตะ | 12 |
2558 | ดิวิชั่น 1 | 38 | 7 | 6 | 25 | 35 | 100 | 27 | อันดับ 20 | — | — | Borce Manevski | 9 |
2559 | ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออก | 22 | 16 | 4 | 2 | 45 | 19 | 52 | ชนะเลิศ | รอบสอง | — | Erivaldo | 12 |
2560 | ไทยลีก 2 | 32 | 9 | 10 | 13 | 49 | 59 | 34 | อันดับ 15 | รอบสาม | — | บาร์รอส ทาร์เดลี | 20 |
2561 | ไทยลีก 2 | 28 | 15 | 9 | 4 | 51 | 32 | 54 | รองชนะเลิศ | รอบ 16 ทีม | รอบ 32 ทีม | บาร์รอส ทาร์เดลี | 22 |
2562 | ไทยลีก | 30 | 9 | 8 | 13 | 47 | 47 | 35 | อันดับ 10 | รอบ 8 ทีม | รอบ 32 ทีม | ลอนซานา ดูมบูยา | 20 |
2563–64 | ไทยลีก | 30 | 4 | 5 | 21 | 31 | 64 | 17 | อันดับ 15 | รอบ 8 ทีม | งดจัดการแข่งขัน | รีการ์ดู ซังตุส | 10 |
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 20 | 8 | 6 | 55 | 33 | 68 | อันดับ 3 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | เปาลู คงราดู | 19 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 17 | 9 | 8 | 55 | 34 | 60 | อันดับที่ 2 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | เฟร์ไรรา ดุส ซังตุส | 15 |
2566–67 | ไทยลีก | 30 | 6 | 8 | 16 | 40 | 64 | 26 | อันดับที่ 16 | รอบ 64 ทีม | รอบ 16 ทีม | ลิดอร์ โคเฮน | 8 |
2567–68 | ไทยลีก 2 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
เกียรติประวัติ
แก้ลีก
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "มติเอกฉันท์ยุติฤดูกาล2559-ยึด18ทีมชัยนาท,อาร์มี่ตกชั้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2018-05-25.