สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ เป็นสโมสรที่ยืนหยัดคู่กับวงการฟุตบอลไทยมา 50 ปี ได้สร้างชื่อเสียง และประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในอดีต ทีมตราโล่ และเสื้อสีเลือดหมูได้โลดแล่นอยู่ในวงการฟุตบอลไทยตลอดมา ในอดีตสโมสรฟุตบอลตำรวจ บริหารโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปี พ.ศ. 2551
![]() | |||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สุภาพบุรุษโล่เงิน (The Cop, The Silver Shields) | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2503 | ||
ยุติ | พ.ศ. 2560 | ||
สนาม | สนามกีฬาบุณยะจินดา กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย (ความจุ: 3,550) | ||
ประธานสโมสร | ![]() | ||
ผู้จัดการ | ![]() | ||
|
ประวัติสโมสรแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2552 สโมสรตำรวจได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ บริษัท สโมสรฟุตบอลโล่ห์เงิน จำกัด (มหาชน) ตามระเบียบของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ที่ออกระเบียบให้สโมสรฟุตบอลทุกสโมสรในเอเชียรวมทั้งสมาคมฟุตบอลมีบริษัทเป็นของตนเอง และเปลี่ยนชื่อสโมสรจากสโมสรตำรวจมาเป็น สโมสรเพื่อนตำรวจและเปลี่ยนมาเป็น สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ ในปี พ.ศ. 2553 ตามเงื่อนไขจากพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสโมสรแรกในประเทศไทยที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมีมาตรฐาน มีธรรมาภิบาลที่ดี โดยมีเป้าหมายเร่งด่วนเพื่อสร้างสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจให้กลับไปอยู่ในลีกสูงสุด (เล่นอยู่ในระดับไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี พ.ศ. 2552) และพัฒนาให้เป็นทีมระดับแนวหน้าของประเทศ ซึ่งก็สามารถขึ้นสู่ไทยลีกได้ตามเป้าหมาย ด้วยการครองแชมป์ดิวิชั่น 1 โดยมีแฟนบอลผู้สนับสนุนทีมที่มาจากพี่น้องครอบครัวตำรวจทั่วประเทศ และประชาชนทั่วไปที่หลงใหลในกีฬาฟุตบอลเป็นส่วนช่วยผลักดันให้สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ เหมือนเดิม ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ และได้ปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่เพื่อให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ป.ป.ง. ได้ทำการยึดทรัพย์จำนวน 800 ล้านบาทของนาย สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา หรือ เสี่ยบิ๊ก ประธานบริหารทีมเพื่อนตำรวจโดยหนึ่งในทรัพย์สินที่ถูกยึดทรัพย์นั้นมีทีมเพื่อนตำรวจรวมอยู่ด้วยสืบเนื่องมาจากนายสัมฤทธิ์ได้นำเงินที่ทุจริตมาบริหารทีมเพื่อนตำรวจ[1] ทำให้ไม่ผ่านคลับ ไลเซนซิ่ง จึงถูก บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด สั่งพักทีมเป็นเวลา 1 ปี[2]
โลโก้สโมสรจากอดีตถึงปัจจุบันแก้ไข
ทำเนียบผู้จัดการทีมแก้ไข
ปี | ชื่อ |
---|---|
2551-2553 | พล.ต.ต.ภูมิรา วัฒนปาณี |
2554-2556 | วสุ ชิวปรีชา |
ธันวาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2557 | ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล |
กุมภาพันธ์ 2557-ปัจจุบัน | พ.ต.อ.ต่อศักดิ์ สารีรัตน์ |
ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอนแก้ไข
ปี | ชื่อ |
---|---|
2549 - 2550 | พ.ต.ท.ชัยยง ขำเปี่ยม |
2551 | ร.ต.ต.วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ |
2552 - 2553 | พ.ต.ท.ชัยยง ขำเปี่ยม |
2554 - 2556 | ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล |
มกราคม 2557 - เมษายน 2557 | คาร์ลอส โรแบร์โต้ คาร์วัลโย่ |
พฤษภาคม 2557 - มิถุนายน 2557 | มิก้า ลอนน์สตรอม |
กรกฎาคม 2557 - กันยายน 2557 | ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล |
กันยายน 2557 - เมษายน 2558 | อรรถพล ปุษปาคม |
พฤษภาคม 2558 - ธันวาคม 2558 | ธชตวัน ศรีปาน |
มกราคม 2559 - ปัจจุบัน | อนุชิต เรือนก้อน |
ทีมอะคาเดมี่แก้ไข
สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ เป็นสโมสรแรกๆของประเทศไทย ที่มีแนวนโยบายในการสนับสนุนทีมอะคาเดมี่ เพื่อสร้างพัฒนาการของนักกีฬาตั้งแต่อายุยังน้อย รวมทั้งสร้างนักกีฬาเยาวชนให้สามารถขึ้นมาสู่ชุดใหญ่ โดยในปี 2009 สโมสรได้ทำ MOU กับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ในการเป็นฐานอะคาเดมี่ของโรงเรียน ซึ่งต่อมาได้มีผลผลิตจำนวนมากที่ปั้นขึ้นสู่ชุดใหญ่ได้ รวมทั้งปัจจุบัน (2557) สโมสรยังมีแนวนโยบายคงเดิมในการสร้างทีมอะคาเดมี่ เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงของสโมสรต่อไป
โรงเรียนพันธมิตรของสโมสรเพื่อนตำรวจแก้ไข
- 2553 - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
- 2554 - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
- 2555 - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี, โรงเรียนสารวิทยา
- 2556 - โรงเรียนปทุมวิไล, โรงเรียนสารวิทยา
- 2557 - โรงเรียนปทุมวิไล, โรงเรียนสารวิทยา
นักกีฬาที่เติบโตจากทีมอะคาเดมี่ของสโมสรขึ้นสู่ชุดใหญ่แก้ไข
นักกีฬาอะคาเดมี่ที่ถูกดันเข้าสู่ทีมสำรองในปี 2556แก้ไข
นักกีฬาอะคาเดมี่ที่ถูกดันเข้าสู่ทีมสำรองในปี 2557แก้ไข
ทีมสำรองแก้ไข
สโมสรเพื่อนตำรวจ นอกจากจะเป็นสโมสรแรกๆที่ได้มีการพัฒนาทีมอะคาเดมี่แล้วนั้น ยังเป็นทีมลำดับต้นๆของประเทศไทย ที่มีการสร้างทีมสำรอง ซึ่งเป็นนักกีฬาที่ขึ้นมาจากทีมอะคาเดมี่ เพื่อเป็นพื้นที่พัฒนาผีเท้า ก่อนขึ้นสู่ชุดใหญ่ของเพื่อนตำรวจต่อไป โดยมีการดูแลทีมแบบมืออาชีพ มีทีมผู้ฝึกสอนประจำ รวมทั้งทีทกายภาพบำบัดและทีมวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่พร้อมดูแลนักกีฬาอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้นักฟุตบอลทีมสำรอง จะได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิด และหากผีเท่าพร้อม จะถูกดันขึ้นสู่ชุดใหญ่ต่อไป โดยสโมสรได้จับมือเป็นพันธมิตรกับทีมในระดับดิวิชั่น 2 เพื่อให้นักกีฬาได้สัมผัสเกมส์อาชีพเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อให้นักกีฬาได้สัมผัสความเป็นมืออาชีพและพร้อมพัฒนาตัวเองสู่ชุดใหญ่ต่อไป นอกจากนี้นักกีฬาทีมสำรองยังสร้างผลงานได้อย่างเป็นที่น่าประทับใจ เนื่องจากมีอายุฉลี่ยไม่เกิน 21 ปี ตามแนวนโยบายของสโมสร แต่ยังสามารถลับแข้งกับสโมสรอาชีพอื่นๆได้อย่างเต็มความภาคภูมิ
สโมสรพันธมิตรของทีมเพื่อนตำรวจในระดับดิวิชั่น 2แก้ไข
- 2555 - ลูกอีสาน การบินไทย
- 2556 - ลูกอีสาน การบินไทย
- 2557 - นนทบุรี เอฟซี
- 2558 - สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครพนม,สโมสรฟุตบอลราชประชา
ผลงานของทีมสำรองแก้ไข
- 2555 - ลำดับที่ 15 ดิวิชั่น 2 โซนภาค กทม.
- 2556 - แชมป์ ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและตะวันออก , อันดับ 5 รอบแชมป์เปี้ยนลีก
นักกีฬาทีมสำรองที่ถูกดันขึ้นสู่ชุดใหญ่แก้ไข
- กฤษณ์พรหม บุญสาร อายุ 21 ปี - ปี 2555
- ภิญโญ อินพินิจอายุ 20 ปี - ปี 2556
- วันเฉลิม ยิ่งยงอายุ 20 ปี - ปี 2557
- รัตนัย ส่องแสงจันทร์อายุ 18 ปี - ปี 2557
- DOOH MOUKOKOอายุ 22 ปี - ปี 2557
รายชื่อผู้เล่นชุดสำรอง (ทีมดิวิชั่น 2)แก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน 2558แก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงานแก้ไข
- ลีก ดิวิชั่น 1 - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 2542,2549,2552,2558
- ถ้วย ก - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2508
- ถ้วย ข - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2496, 2497
- ไทยลีกคัพ - ชนะเลิศ 3 ครั้ง - 2532,2534,2536
ผลงานตามฤดูกาลแก้ไข
- 2539/40 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 10 แข่ง34 ชนะ13 เสมอ11 แพ้10 ได้51 เสีย39 ผลต่างประตู+12 แต้ม50
- 2540 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ11 (ตกชั้นไปเล่นไทยลีก ดิวิชั่น 1) แข่ง22 ชนะ4 เสมอ10 แพ้8 ได้19 เสีย25 ผลต่างประตู-6 แต้ม22
- 2541 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2542 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 - ชนะเลิศ
- 2543 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 7
- 2544 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 11
- 2545 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2546 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2547 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2548 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2549 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2550 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 16 (ตกชั้นไปเล่น ไทยลีก ดิวิชั่น 1)
- 2551 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 - อันดับ 4 แข่ง30 ชนะ12 เสมอ15 แพ้3 ได้35 เสีย24 +11 แต้ม51
- 2552 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - ชนะเลิศ
- 2553 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 11
- 2554 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 9
- 2555 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 11
- 2556 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 10
- 2557 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 16 (ตกชั้นไปเล่น ยามาฮ่า ลีก 1)
- 2558 - ยามาฮ่า ลีก 1 - ชนะเลิศ
- 2559 - พักทีม 1 ปี
อดีตผู้เล่นสำคัญแก้ไข
- พ.ต.อ.ณรงค์ สังขสุวรรณ์
- พ.ต.ท.ชัยยง ขำเปี่ยม
- พ.ต.ท.นที ทองสุขแก้ว
- ร.ต.ท.เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง
- ร.ต.ท.วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์
- ร.ต.ท.เฉลิมเกียรติ สมบัติปัน
- ส.ต.อ.ประเสริฐ ช้างมูล
- ดุสิต เฉลิมแสน
- ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล