โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี

โรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ และเป็นโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย แห่งที่ 4 เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาได้พิจารณาดำเนินการรับที่ดินไว้จัดตั้งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในปี พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งโรงเรียนในโครงการ 1 ใน 9 โรงเรียน โดยใช้ที่ดินบริจาคของคุณสมหมาย แก้วสวัสดิ์ในโครงการวิคตอเรียปาร์ค จำนวน 20 ไร่ และใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" ถือเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แห่งแรกของจังหวัดปทุมธานี และเป็นโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยแห่งที่4ของประเทศไทย

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
Nawamintharachinutit Suankularb Wittayalai Pathumthani School
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 45 หมู่ 9 หมู่บ้านวิคตอเรียปาร์ค (คลองสิบสาม) ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ข้อมูล
ชื่ออื่นนมร.ส.ก.ป. (NMR.S.K.P.)
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญบาลี: สุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา4 มีนาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี 200 วัน)
ผู้ก่อตั้งนายผจง อุบลเลิศ
ผู้บริหารนายวิสูตร คำนวณศักดิ์
ระดับปีที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3 และ 4
(มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย)
สี   ชมพู-ฟ้า
เพลง
สังกัดสพฐ.
เว็บไซต์www.skp.ac.th

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 โดยเป็นโรงเรียน 1 ใน 9 โรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า "นวมินทราชินูทิศ" และโดยที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้อยู่ในความดูแลของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระยะเริ่มแรก กระทรวงศึกษาธิการจึงให้เติมต่อท้ายชื่อ ว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" และได้รับมอบหมายให้นายผจง อุบลเลิศ ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในขณะนั้นเป็นผู้ประสานการจัดตั้งและดูแล โดยต่อมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานีคนแรก

ปัจจุบัน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ มีผู้บริหารสถานศึกษามาแล้ว 12 คน เปิดทำการสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 (ม.1 - 6)

ประวัติ

แก้

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี เป็น 1 ใน 11 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ 1 ใน 9 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ ซึ่งสถาปนาขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้สถาปนาโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติขึ้นจำนวน 9 แห่ง โดยโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 บนพื้นที่ 20 ไร่ บริเวณโครงการวิคตอเรียปาร์ค ซึ่งได้รับการบริจาคจากคุณสมหมาย แก้วสวัสดิ์ การก่อตั้งโรงเรียนในระยะแรกนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้น จึงใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี" ต่อมา เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงว่า "นวมินทราชินูทิศ" แล้ว จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี

ความหมายของชื่อโรงเรียน

แก้

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ก่อตั้งขึ้นจากการดำริที่จะขยายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ออกไปตามหัวเมือง เป็นเครือข่าย สวนกุหลาบ จากในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน และเป็นหนึ่งในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงใช้ชื่อ สวนกุหลาบวิทยาลัย อีกทั้งภายหลังเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พร้อมกันนี้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า นวมินทราชินูทิศ ดังนั้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแห่งนี้ จึงได้มีชื่อ นวมินทราชินูทิศ นำหน้าและตามด้วย สวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อท้ายที่ชื่อ ปทุมธานี อันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน โดยความหมายของชื่อโรงเรียนนั้น สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • นวมินทราชินูทิศ ซึ่งเกิดจากการสนธิของคำต่างๆ ดังนี้
นวม แปลว่า ลำดับที่เก้า
อินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
ราชินี แปลว่า พระมเหสี
อุทิศ แปลว่า ทำเพื่อ หรือ สละให้อย่างเจาะจง

ดังนั้นนามโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี จึงมีความหมายว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ณ จังหวัดปทุมธานี ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อถวายแด่พระราชินีแห่งพระมหากษัตริย์รัชกาลที่เก้า

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

แก้


 
ตราเสมา ชมพู - ฟ้า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 
ธงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในเครือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 
ตราอักษรประดิษฐ์ นมร. ตราประจำโรงเรียนในเครือโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
 
พระนามาภิไธยย่อ ส.ก. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตราประจำโรงเรียนในเครือโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
 
ต้นอินทนิล
ไฟล์:R08.JPG
ขนาดของกุหลาบจุฬาลงกรณ์ เมื่อเทียบกับพระพักตร์ "หม่อมเจ้าหญิง พูนพิศมัย ดิศกุล" จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่มาก
  • ตราประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีวิวัฒนาการมาหลายยุคสมัยเริ่มต้นจากแบบแรกเมื่อจุลศักราช 1244 เรื่อยมาจวบจนปัจจุบันที่ใช้อยู่เป็นแบบที่ 4 (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) โดยเป็นตราของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระมหาปรมาภิไธยย่อ "จปร." ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กลับมาบรรจุในตราประจำโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง หลังมีการเปลี่ยนแปลงตราประจำโรงเรียนมาแล้ว 4 แบบ นับแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2425 เป็นต้นมา มีลักษณะของตราเป็นรูปหนังสือ ที่บริเวณหน้าปกได้ประดิษฐาน พระปรมาภิไทยย่อ จ.ป.ร. และมี พระเกี้ยวยอด อยู่ด้านบน ในหนังสือ มีขนนก ดินสอ ไม้บรรทัด ด้านขวามีช่อกุหลาบ 4 ดอก อันหมายถึงหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ริ หรือ ฟัง พูด อ่าน เขียน การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเกิดจาก การฟัง คิด สอบถาม และจดบันทึก จึงจะเรียนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ด้านล่างซ้ายของ หนังสือมี ริบบิ้น ผูกอยู่ที่ก้านกุหลาบมีข้อความอยู่ที่ริบบิ้น เขียนว่า “โรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ” ด้านบน ปรากฏมีปรัชญาและคติพจน์ “สุวิชาโน ภว โหติ” ด้านล่างมีคำแปลว่า “ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ”ตรานี้จึงประมวลความดีทั้งหลายรวบรวมไว้ในตราโรงเรียน จึงถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวสวนกุหลาบวิทยาลัยควรภาคภูมิใจ [1]
  • อักษรย่อ ส.ก.ป. สำหรับเครื่องแบบนักเรียนทุกชั้นปี อักษรย่อ ส.ก.ป. สีกรมท่าหรือน้ำเงินเข้ม ประดับบริเวณอกข้างขวา
  • ตรานวมินทราชินูทิศ (นมร) ตราสัญลักษณ์เป็นด้ายปักรูปทรงตัวอักษรประดิษฐ์ นมร สีกรมท่าหรือน้ำเงินเข้ม ประดับเหนืออักษรย่อโรงเรียน ส.ก.ป. บริเวณอกข้างขวา สำหรับเครื่องแบบนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
  • สัญลักษณ์เสมาชมพู-ฟ้า ตราสัญลักษณ์เป็นด้ายปักรูปทรงใบเสมาสีชมพู-ฟ้าอย่างละครึ่ง ประดับเหนืออักษรย่อโรงเรียน ส.ก.ป. บริเวณอกข้างขวา สำหรับเครื่องแบบนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนรูปแบบที่ 3 เดิมเป็นเข็มประดับชุดนักเรียน "รูปเสมาตราโรงเรียน" ตรงกลางเป็นรูปดอกกุหลาบ ด้านล่างมีข้อความ "สุวิชา โน ภวํ โหติ" ที่โรงเรียนได้ให้โรงเรียนเพาะช่างออกแบบ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเข็มเสมาชมพู-ฟ้า และเปลี่ยนมาเป็นการปักด้วยด้ายรูปทรงใบเสมาสีชมพู-ฟ้าอย่างละครึ่ง ประดับเหนืออักษรย่อโรงเรียนบนชุดนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ใช้มาจวบจนปัจจุบัน
  • สีประจำโรงเรียน ชมพู - ฟ้า
    •   สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันอังคาร ความหมายของสีชมพู คือ ความสุภาพอ่อนหวาน อ่อนโยน นอบน้อมเป็นสีแห่งความรัก ความเอื้อเฟื้อที่มีต่อบุลคลทั่วไป เป็นสีแห่งความเมตตา
    •   สีฟ้า เป็นสีประจำนพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ความหมายของสีฟ้า คือ ความเข้มแข็งอดทน ความกล้าหาญ ความเสียสละเป็นสีของท้องฟ้าที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสีแห่งจักรวาล
    •    สีชมพู-ฟ้า จึงมีความหมายถึง องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และพระบรมราชินีนาถ ทั้งยังหมายถึง เป็นแหล่งที่มีความรัก ความสามัคคี ของผู้ที่มีความดีงาม มีความนึกคิดที่สูงส่ง[1]
  • มงกุฎขัตติยราชนารี คือ พระมหาพิชัยมงกุฏประดับพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ถือเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โรงเรียนในกลุ่มนวมินทราชินูทิศทั้งเก้าแห่ง ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้นำมงกุฎขัตติยราชนารีมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน ทั้งนี้มี เข็มกลัดตรามงกุฎขัตติยราชนารี (ส.ก.) อีกด้วย
  • ต้นอินทนิลน้ำ คือ ต้นไม้ประจำโรงเรียน
  • ดอกกุหลาบ พันธุ์จุฬาลงกรณ์ คือ ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก เกือบครึ่งหนึ่งของใบหน้าคน สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่โปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า กุหลาบจุฬาลงกรณ์
  • คติพจน์ประจำโรงเรียน "สุวิชาโน ภวํ โหติ" (อ่านว่า "สุ-วิ-ชา-โน-พะ-วัง-โห-ติ") แปลว่า "ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ"
    • ผู้รู้ดี คือ ผู้รู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ดี คือรู้อ่าน รู้คิด รู้เท่าทัน รู้ความและรู้คุณ
    • ผู้เจริญ คือผู้ที่เจริญด้วย ความประพฤติดี ดีพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์คำนึงถึงผลประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว[1]
  • คำขวัญประจำโรงเรียน รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
  • คติประจำโรงเรียน เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง สนองคุณแผ่นดิน เป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน “สุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ได้รับการปลูกฝังให้เป็นเป็นเลิศด้านคุณธรรม เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ มีวินัย ใส่ใจในระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นในสถาบันแห่งชาติ ไม่ละเลยในประโยชน์ส่วนรวม เอื้ออาทรต่อกันด้วยความรักความสามัคคี ประจักษ์ในพระคุณครู ร่วมเชิดชูเกียรติภูมิแห่งสวนกุหลาบ “เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง” เป็นสโลแกนช่วยให้จดจำได้ง่าย ต้องใส่ความเป็นสวนกุหลาบด้วยความภาคภูมิใจในเรื่องราวต่างๆ ของ “สวนกุหลาบฯ” เมื่อสิ่งต่างๆ สะสมอยู่ในตัวจึงจะเป็น “สุภาพบุรุษสวนกุหลาบฯ” ที่สมบูรณ์
  • เพลงประจำโรงเรียน

เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประพันธ์ขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำร้องโดย หม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา ผู้เรียบเรียงคือ สุวัฒน์ เทียมหงษ์ ทำนองจากเพลงแขกต่อยหม้อ อัตราจังหวะสองชั้น เป็นเพลงไทยเดิมที่ใช้ประกอบการแสดง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีจังหวะการเอื้อนทำนองโดยเฉพาะ[2][3] โดยเพลงนี้ได้ขับร้องครั้งแรกในงานรื่นเริงประจำปีพ.ศ. 2471 รู้จักกันในชื่อ บรรดาเรา[4] และมีเพลงอื่นๆอีกมากมาย

 
บันทึกต้นฉบับ เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

สิ่งเคารพสักการะ

แก้
  • หลวงพ่อสวนกุหลาบ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เมื่อครั้งเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระมหากรุณาธิคุณให้ตั้งชื่อเป็นครั้งที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2424 เข้าใจว่าเมื่อโรงเรียนย้ายออกมาตั้งภายนอก พระบรมมหาราชวัง หลวงพ่อสวนกุหลาบคงได้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนต่อมา
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมรูปประทับนั่งเต็มพระองค์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ฉลองพระองค์ชุดสากล พระหัตถ์ซ้ายถือธารพระกร พระหัตถ์ขวาถือพระมาลา ความสูง 267 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 800 กิโลกรัม รมสีเนื้อมันปู หรือสีเม็ดมะขามสุก บนแผ่นจารึกที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ อัญเชิญตราพระปรมาภิไธยย่อ จปร ไว้เหนือข้อความดังต่อไปนี้ :-

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

ทรงพระราชสมภพ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เสด็จสวรรคต วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเมตตาธรรม และพระคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ สร้างความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ ทางด้านการปกครอง การเลิกทาส การเศรษฐกิจ การคมนาคม การสาธารณสุข การศาสนา ทรงส่งเสริมการศึกษา และวางรากฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อพสกนิกรได้มีโอกาสศึกษาอย่างเสมอภาค ดังพระราชปณิธาน

‘เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้’

ข้าราชการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันสร้างและประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อสักการะ เฉลิมพระเกียรติ ประกาศเกียรติคุณ ให้แผ่ไพศาล ตราบกาลนาน


รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน

แก้
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายผจง อุบลเลิศ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539
2 นายคงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป์ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
3 นายมงคล อนุรักษ์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
4 นายกุศล กลแกม พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546
5 นายโชว์นันต์ มารุตวงศ์ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547
6 นางสาวประทุม จิวัธยากูล พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550
7 นายคณิต ภิรมย์ไกรภักดิ์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551
8 นายวีรพงษ์ คล้อยดี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554
9 นายสาทร สมบุญ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556
10 นายสมชาย ฟักทอง พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2558
11 นายวรพันธ์ แก้วอุดม พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561
12 นางชฎาพร เธียรศิริพิพัฒน์ พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563
13 นายวิสูตร คำนวณศักดิ์ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

สถาบันสวนกุหลาบ

แก้

ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 แห่งให้ไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่

ลำดับที่ โรงเรียน อักษรย่อ จังหวัด สถาปนา สถานศึกษาเดิม
1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส.ก. / S.K. กรุงเทพมหานคร 8 มีนาคม พ.ศ. 2425
(142 ปี 196 วัน)
2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ส.ก.น. / S.K.N. นนทบุรี 30 มีนาคม พ.ศ. 2521
(46 ปี 174 วัน)
3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ นมร.ส.ก.ส. / NMR.S.K.S. สมุทรปราการ 8 เมษายน พ.ศ. 2534
(33 ปี 165 วัน)
4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี นมร.ส.ก.ป. / NMR.S.K.P. ปทุมธานี 4 มีนาคม พ.ศ. 2535
(32 ปี 200 วัน)
5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ส.ก.ร. / S.K.R. ปทุมธานี 3 มีนาคม พ.ศ. 2536
(31 ปี 201 วัน)
6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ส.ก.ช. / S.K.C. ชลบุรี 5 มีนาคม พ.ศ. 2542
(25 ปี 199 วัน)
7 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ ส.ก.พ. / S.K.PB. เพชรบูรณ์ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(25 ปี 88 วัน)
โรงเรียนท่าพลพิทยาคม
(พ.ศ. 2519)
8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี ส.ก.บ. / S.K.B. สระบุรี 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(18 ปี 227 วัน)
โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม
(พ.ศ. 2537)
9 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ ส.ก.จ. / S.K.J. นครสวรรค์ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(16 ปี 268 วัน)
โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม
(พ.ศ. 2517)
10 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี ส.ก.ธ. / S.K.T. กรุงเทพมหานคร 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(16 ปี 43 วัน)
11 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ส.ก.นศ. / S.K.NS. นครศรีธรรมราช 3 มีนาคม พ.ศ. 2554
(13 ปี 201 วัน)
โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์
(พ.ศ. 2516)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,"ข้อมูลทั่วไป">เว็บไซต์ ส.ก.
  2. กาญจนา เตชะวณิชย์ (18 ตุลาคม 2551). "เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย". ไทยกู๊ดวิวดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "บทเพลงชาวสวนฯ : เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย". เว็บไซต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. https://www.facebook.com/1526437537574312/photos/a.1529400270611372.1073741828.1526437537574312/1939118809639514/?type=3&theater

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°56′38″N 100°53′04″E / 13.943969°N 100.884442°E / 13.943969; 100.884442