หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร
พลตำรวจตรี หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนโตของหม่อมเจ้าจิตร์ปรีดี ประวิตร และหม่อมหลวงเหมือนจันทร์ ดารากร (ธิดาเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร))[1]
หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ สมรสกับ คุณหญิงสุปรียา ประวิตร ณ อยุธยา (รักตประจิต) มีบุตร 2 คน คือ
- พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เลขาธิการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พลเอก หม่อมหลวงสุปรีดี ประวิตร[2] หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รับการศึกษาชั้นประถมที่ โรงเรียนราชินี และมาต่อชั้นมัธยมศึกษาและเตรียมอุดมศึกษา ที่วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ โรงเรียน จีลอง แกรมมา สกูล จบการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล เมลเบิร์น เทคนิคอล คอลเลจ ประเทศออสเตรเลีย ศึกษาวิชาตำรวจและสายตรวจวิทยุ ที่สหรัฐอเมริกา ศึกษาวิชาบรรเทาสาธารณภัยที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ก่อนเข้ารับราชการตำรวจเมื่อปี 2498 โดยเป็นตำรวจสังกัดกองตำรวจยานยนต์ สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ต่อมาในปี 2503 ได้ย้ายมาสังกัดกองตำรวจดับเพลิง ได้เลื่อนยศเป็น ร.ต.อ. ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกช่าง จนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจดับเพลิง เมื่อปี 2516 และเป็น ผช.ผบช.น. อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งรถวิทยุสายตรวจนครบาล และรถวิทยุตำรวจทางหลวง ก่อตั้งอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและลูกเสือดับเพลิง และก่อตั้งหน่วยดับเพลิงของประชาชน 111 สถานี รวมถึงเป็นประธานผู้ก่อตั้งสโมสรกีฬาราชประชา และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย แห่งประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี อย่างต่อเนื่องมาหลายวาระตั้งแต่ ปี 2533 ได้สร้างราชประชาสปอร์ตชูเล่ย์ สำหรับเก็บตัวนักกีฬา และศูนย์ฝึกดับเพลิงและกู้ภัยที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ม.ร.ว.เจตจันทร์ ประวิตร เคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2528 ในนามพรรคประชากรไทย แต่พ่ายแพ้พลตรีจำลอง ศรีเมือง ไม่ได้รับเลือก[3]
พล.ต.ต. ม.ร.ว.เจตจันทร์ ประวิตร ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 เวลา 19.45 น.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[6]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[9]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[10]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ชีวิตครอบครัว[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-18. สืบค้นเมื่อ 2007-08-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๑๙๑๗, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๖, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๗๓๑, ๒๑ มีนาคม ๒๕๑๕