พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ
นายพลตำรวจเอก นายพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าคำรบ (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2482) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ กับหม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
อธิบดีกรมตำรวจภูธร | |
ดำรงตำแหน่ง | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 - 14 เมษายน พ.ศ. 2472 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พลตรี พระยาวาสุเทพ |
ถัดไป | พลตำรวจตรี พระยาอธิกรณ์ประกาศ |
ประสูติ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2414 |
สิ้นพระชนม์ | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2482 (67 ปี) |
หม่อม | หม่อมผาด หม่อมแดง หม่อมนุ่ม |
พระบุตร | 9 คน |
ราชสกุล | ปราโมช |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ |
พระมารดา | หม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช |
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กรมตำรวจ |
---|---|
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก พลโท |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ เป็นทหารบก ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2444[1] ผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก หลังจากนั้นทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพน้อยที่ 2 (ปัจจุบันคือ กองทัพภาคที่ 3) ระหว่าง พ.ศ. 2454 - 2457 ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ จากนั้นทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457[2] และกรมตำรวจ ระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2472 ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีบทบาทในการปรับปรุงกิจการตำรวจ โดยทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ พระองค์แรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 [3]
นายพลตำรวจเอก นายพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2482 สิริพระชันษา 67 ปี 277 วัน
องคมนตรี
แก้พระบุตรและพระธิดา
แก้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ มีหม่อมทั้งหมด 3 คน คือ หม่อมผาด ปราโมช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา),หม่อมแดง ปราโมช ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) และหม่อมนุ่ม มีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 9 คน ได้แก่[6]
- หม่อมผาด มีพระโอรส-ธิดา 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์ชาย ปราโมช
- หม่อมราชวงศ์ประณตน้อม ปราโมช
- หม่อมแดง ปราโมช ณ อยุธยา (ต.จ.) ธิดาเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) กับหม่อมแหวว บุรณศิริ[7]
- หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี สมรสกับพระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต)
- หม่อมราชวงศ์อุไรวรรณ ปราโมช
- หม่อมราชวงศ์เล็ก ปราโมช
- หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สมรสกับท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศาลิคุปต์) มีบุตร 3 คน
- หม่อมราชวงศ์ถ้วนเท่านึก ปราโมช
- หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สมรสและแยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ มีบุตร 2 คน
- หม่อมนุ่ม มีพระธิดาเพียงคนเดียวคือ
- หม่อมราชวงศ์สอางค์ เทวกุล เสกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และสมรสกับหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล มีพระธิดาจากการสมรสครั้งแรก 1 องค์ และโอรส-ธิดาจากการสมรสครั้งที่สองอีก 4 คน
หน้าที่ราชการ
แก้- 2 ธันวาคม พ.ศ. 2444 - ผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่[8]
- 6 สิงหาคม พ.ศ. 2446 - ผู้บัญชาการทหารมณฑลนครสวรรค์[9]
- ผู้บัญชาการกองพลที่ 6 มณฑลนครสวรรค์
- กรกฎาคม พ.ศ. 2452 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 9 มณฑลปราจิณบุรี[10]
- 26 กันยายน พ.ศ. 2453 - มรรคนายก วัดโสธรวรารามวรวิหาร[11]
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก และเป็นผู้รั้งแม่ทัพกองที่ 2[12]
- มิถุนายน พ.ศ. 2455 - พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 7 มณฑลพิษณุโลก และเป็นแม่ทัพกองที่ 2[13]
- มิถุนายน พ.ศ. 2456 - ออกจากประจำการเป็นกองหนุนสังกัดกรมปลัดทัพบก และออกจากราชองครักษ์เวร[14]
- ผู้ช่วยจเรเสือป่า
- ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 - อธิบดีกรมตำรวจภูธร
- 12:มีนาคม 2457 – ราชองครักษ์พิเศษ[15]
- 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 - อธิบดีกรมตำรวจ
พระยศ
แก้- 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 - ร้อยโท[16]
- 21 กันยายน พ.ศ. 2449 - พลตรี[17]
- 7 ตุลาคม 2454 – นายหมู่เอก[18]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2455 - นายหมู่ใหญ่[19]
- 7 มกราคม พ.ศ. 2457 - นายกองโท[20]
- 28 เมษายน พ.ศ. 2458 - นายพลโท[21]
- 27 เมษายน พ.ศ. 2460 - นายกองเอก[22]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - พระตำรวจตรี[23]
- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - นายกองใหญ่[24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[27]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[28]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2462 เข็มข้าหลวงเดิม[29]
อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระยาวาสุเทพลาออกจากหน้าที่อธิบดีกรมตำรวจภูธร
- ↑ ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมตำรวจภูธรแลกรมพลตระเวน
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/112.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
- ↑ คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. โครงกระดูกในตู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามรัฐ, พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2547. 109 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-131-1
- ↑ "หลวงอัครเทพฯ ทวิภพ ที่แท้ "ปู่ทวด" นีโน่!!". ผู้จัดการออนไลน์. 18 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ "แจ้งความกรมยุทธนาธิการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ถอนและตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-30.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศพระตำรวจตรีพิเศษ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา 27 พฤศจิกายน 2464 เล่ม 38 หน้า 2471 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3120.PDF
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตรี พระยาวาสุเทพ (กุสตาฟ เชา) |
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 6 (2458 – 2472) |
พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) |