มณฑลปราจีนบุรี หรือ มณฑลปราจิณ อดีตมณฑลหนึ่งของไทยในระบบการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยรวม 7 เมืองฝั่งตะวันออกเข้ามาอยู่รวมกันคือ

มณฑลปราจิณบุรี
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2436 – 2476
Flag of มณฑลปราจิณบุรี
ธง

แผนที่มณฑลปราจิณบุรี
เมืองหลวงปราจีนบุรี
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2436–2440
พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) (คนแรก)
• พ.ศ. 2442–2446
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ
• พ.ศ. 2446–2458
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
• พ.ศ. 2458–2468
หม่อมเจ้าธำรงสิริ ศรีธวัช
• พ.ศ. 2474–2476
พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้ง
พ.ศ. 2436
• รวมมณฑลจันทบุรีไว้ในการปกครอง
1 เมษายน พ.ศ. 2475
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองปราจีนบุรี
เมืองชลบุรี
เมืองนครนายก
เมืองฉะเชิงเทรา
เมืองบางละมุง
เมืองพนัสนิคม
เมืองพนมสารคาม
มณฑลจันทบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดนครนายก
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดระยอง
จังหวัดตราด
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

โดยมีเมืองปราจีนบุรีเป็นที่ว่าการมณฑล ต่อมาเมื่อมีการตัดเส้นทางรถไฟมาถึงเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบกับเมืองฉะเชิงเทรามีราชการมากกว่าเมืองอื่น ๆ ในมณฑลและเพื่อเป็นการสะดวกแก่การปกครองและการบริหารราชการในมณฑลปราจิณ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการมณฑลจาก ปราจีนบุรี มาอยู่ที่ ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 8 มกราคม รัตนโกสินทรศก 121 ตรงกับ พ.ศ. 2445 [1] ในสมัยที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ เป็นข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล

เมื่อ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ พ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณในวันที่ 26 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 122 ตรงกับ พ.ศ. 2446 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระอนุชาต่างพระมารดาข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณอีกตำแหน่งหนึ่งสืบต่อมาโดยให้ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เดชะคุปต์) รั้งตำแหน่งข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลกรุงเก่า[2]

กระทั่งวันที่ 25 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก 125 ตรงกับ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า และให้ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณเพียงตำแหน่งเดียว โดยได้พระราชทานสัญญาบัตรให้กับ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เตชะคุปต์) เป็นข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าสืบต่อมา [3]

อ้างอิง

แก้