เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)
เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ นามเดิม แพ เป็นขุนนางตระกูลบุนนาค เคยดำรงตำแหน่งจางวางกรมพระคลังสินค้าและองคมนตรีในรัชกาลที่ 5
เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ | |
---|---|
จางวางกรมพระคลังสินค้า | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2362 |
เสียชีวิต | 17 เมษายน พ.ศ. 2429 |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงอ่วม |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ มีนามเดิมว่าแพ เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับหม่อมหงิม พงษาวดารราชินิกุลบางช้างระบุว่าท่านเกิดในปีเถาะ จ.ศ. 1181 (ตรงกับ พ.ศ. 2362) เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบรรดาศักดิ์เป็นนายศัลวิไชย หุ้มแพร แล้วเลื่อนเป็นจมื่นสมุหพิมาน ปลัดกรมพระตำรวจสนมทหาร[1]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนเป็นพระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหาร แล้วเลื่อนเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ จางวางกรมพระคลังสินค้า[2] ถึงปี พ.ศ. 2400 ได้โปรดให้ท่านเป็นราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ณ กรุงฝรั่งเศส[3] ออกเดินทางเมื่อวันพฤหัสบดี 10 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ. 1223[4] (ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2404)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาและองคมนตรี และได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี วรมนตรีมหามาตยานุนายก รัชชดิลกสุริยวงศ์ ดำรงศักดิบรมมหาพิไชยญาติ ราชกิจปฏิการาภิธยาศรัย ตรัยศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000
เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ป่วยเป็นไข้มาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน แพทย์จัดยารักษาแล้วอาการไม่ทุเลา ต่อมาจึงหมดสติและถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 เวลา 5 ทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2429 สิริอายุได้ 67 ปี แต่บางแห่งว่าอายุ 68 ปี[5] วันรุ่งขึ้นเสด็จฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าพนักงานแต่งศพลงโกศไม้สิบสองตั้งบนชั้น มีฉัตรเบญจา 4 คัน ตั้งเป็นเกียรติยศ[6]
ครอบครัว
แก้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์กับท่านผู้หญิงอ่วมมีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน กับภรรยาอื่นอีก 16 คน[5] รวมมีบุตรธิดาทั้งสิ้น 25 คน ที่สำคัญ เช่น นายนาวาเอก พระยาสุนทรานุกิจปรีชา (หลง บุนนาค) เจ้าจอมปุก ในรัชกาลที่ 5 และ หม่อมแดง ปราโมช ณ อยุธยา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2417 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 109
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๗. ทรงแต่งตั้งขุนนาง
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๘๘. ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๙๑. ราชทูตกราบถวายบังคมลา
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา". ชมรมสายสกุลบุนนาค. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (4): 33. 22 พฤษภาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค)] - สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 155. ISBN 974-417-534-6