สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Chiangmai United) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนช้างเผือก ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[1] ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 2

เชียงใหม่ ยูไนเต็ด
Chiangmai United
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด
Chiangmai United Football Club
ฉายาช้างเผือก
ชื่อย่อCMUTD
ก่อตั้งพ.ศ. 2558
สนามสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
ความจุ25,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท เจแอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานไทย พิชัย เลิศพงศ์อดิศร
ผู้จัดการไทย ศรีโสภา โกฏคำลือ
ผู้ฝึกสอนไทย อนุชา ไชยวงค์
ลีกไทยลีก 2
2566–67อันดับที่ 9
สีชุดทีมเยือน

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อสโมสรฟุตบอลช้างเผือก เชียงใหม่ และสร้างผลงานชนะเลิศฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559 โซนภาคเหนือ ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีก 4 หลังจากที่สโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกอาชีพได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ตามชื่อผลิตภัณฑ์ของผู้สนับสนุนหลัก และสามารถคว้าแชมป์ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ มาครองได้ตั้งแต่ฤดูกาลแรกที่เล่นในลีกอาชีพ และได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีก 3 นอกจากนี้ยังสร้างผลงานเป็นสโมสรจากไทยลีก 4 สโมสรแรกที่สามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันไทยเอฟเอคัพ ต่อมาในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อจากสโมสรเจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด เป็น เชียงใหม่ ยูไนเต็ด[2][3] ปัจจุบันใช้สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีเป็นสนามเหย้า[4]

ประวัติสโมสร

แก้

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลช้างเผือก เชียงใหม่ โดยนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ซึ่งเป็นทนายความ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และจดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ในชื่อบริษัท ช้างเผือกเชียงใหม่ ยูไนเต็ด จำกัด

สโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559 ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับสมัครเล่น โดยสโมสรใช้วิธีการคัดเลือกนักฟุตบอลจากผู้ที่มาทดสอบฝีเท้ากว่า 900 คน[5][6]

ดิวิชั่น 3 โซนภาคเหนือ

แก้

หลังจากได้นักฟุตบอลที่ผ่านการคัดเลือก 25 คนจากผู้มาทดสอบฝีเท้าทั้งหมดแล้ว สโมสรได้ลงแข่งขันในฟุตบอลดิวิชั่น 3 ฤดูกาล 2559 โซนภาคเหนือ ภายใต้การคุมทีมของ ฉลองชัย ลีฬหาชีวะ อดีตผู้ฝึกสอนของลำพูน วอริเออร์และมรภ.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนแรกของสโมสร

วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560 สโมสรลงแข่งขันเป็นนัดแรก โดยเป็นการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 3 โซนภาคเหนือ รอบแบ่งกลุ่ม พบกับสโมสรฟุตบอลกองทัพภาคที่ 3 - สมาคมกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสโมสรเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 4–1 และ มณฑล เชื้อศรีลา ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้เล่นของสโมสรที่ทำประตูได้เป็นคนแรก

โดยสโมสรทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมตั้งแต่ฤดูกาลแรกที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน โดยสามารถเอาชนะได้ 3 นัดรวดในรอบแบ่งกลุ่ม เป็นที่หนึ่งของสายและเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป

ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย สโมสรต้องพบกับนครแม่สอด ยูไนเต็ด และสามารถเอาชนะได้ในการดวลจุดโทษหลังเสมอกันในช่วงเวลาปกติ 1–1 เข้าสู่รอบรองชนะเลิศไปพบกับชัยนาท ยูไนเต็ด โดยในรอบรองชนะเลิศ สโมสรสามารถเอาชนะชัยนาท ยูไนเต็ด ไปได้อย่างขาดลอยถึง 4–0 เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศไปพบกับ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 ที่สนามกีฬาอินทนิล,มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 1–1 สโมสรสามารถเอาชนะสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ ไปได้ในการดวลจุดโทษ ทำให้ได้ตำแหน่งแชมป์ของโซนภาคเหนือ และได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4 ซึ่งเป็นลีกอาชีพระดับแรก นอกจากนี้ กฤษฎา ถาพิงยศ กองหน้าของสโมสรยังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในระดับดิวิชั่น 3 ฤดูกาล 2559 [7]

ไทยลีก 4

แก้

หลังจากสโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นมาสู่ลีกอาชีพแล้ว บริษัท ศรีนานาพร มาร์เกตติ้ง จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ขนมหวานเจลาติน ยี่ห้อ เจเล (Jele) ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสร สโมสรจึงเปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการแข่งขันเป็น เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ตั้งแต่ฤดูกาล 2560 เป็นต้นไป นอกจากนี้สโมสรยังได้สร้างทีมสำรองระดับเยาวชนขึ้นมา โดยทีมเยาวชนของสโมสรยังคงใช้ชื่อว่าช้างเผือก เชียงใหม่ เช่นเดิม และใช้ในการลงแข่งไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2560

สโมสรเริ่มต้นฤดูกาลแรกในลีกอาชีพด้วยความไม่พร้อม โดยมีการยุติสัญญากับ ฉลองชัย ลีฬหาชีวะ ผู้ฝึกสอนที่พาทีมเลื่อนชั้นขึ้นมา โดยให้ พีรภัทธ์ พษิฐาการกุล เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอนชั่วคราว รวมถึงการหาสนามเหย้าประจำ โดยในระหว่างฤดูกาล 2560 มีการเปลี่ยนสนามเหย้าของสโมสรถึง 4 ครั้ง

นอกจากนี้สโมสรยังถูกฝ่ายจัดการแข่งขันลงโทษตั้งแต่นัดแรก โดยสโมสรมีโปรแกรมลงแข่งขันไทยลีก 4 นัดแรกของฤดูกาล กับพิษณุโลก เอฟซี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 แต่เนื่องจากทางสโมสรส่งรายชื่อผู้เล่นให้ฝ่ายจัดการแข่งขันไม่ทัน จึงถูกตัดสิทธิห้ามลงแข่งขันในนัดดังกล่าว และถูกปรับแพ้ 0–2

ต่อมาสโมสรได้ลงแข่งขันในลีกเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กับอุตรดิตถ์ เอฟซี ที่สนามกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ 2–0 โดยทีมมีผลงานไม่ดีนักในช่วง 4 นัดแรก จนมีการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนจาก พีรภัทธ์ พษิฐาการกุล เป็น อภิชาติ โมสิกะ อดีตผู้ฝึกสอนของสีหมอก เอฟซี ในเดือนมีนาคม หลังจากนั้นสโมสรเริ่มมีผลงานในลีกที่ดีขึ้นโดยฉัตรชัย นาควิจิตร กองหน้าของทีมยิงประตูในลีกไปถึง 17 ประตูและเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ โดยสโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ และเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในไทยลีก 3 นอกจากนี้ในการแข่งขันไทยเอฟเอคัพ สโมสรยังสร้างผลงานผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะแพ้ให้กับแบงค็อก ยูไนเต็ด โดยนับเป็นสโมสรจากระดับลีกล่างสุดสโมสรแรกในประเทศไทย ที่สามารถผ่านเข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศ

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

แก้
ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีกคัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2560 ไทยลีก 4 24 15 4 5 46 17 49 อันดับ 1 รอบรองชนะเลิศ รอบคัดเลือก รอบแรก   ฉัตรชัย นาควิจิตร 20
2561 ไทยลีก 3 26 17 8 1 60 31 59 อันดับ 1 รอบ 32 ทีม รอบคัดเลือก รอบแรก   ฉัตรชัย นาควิจิตร 20
2562 ไทยลีก 2 34 10 10 14 43 43 40 อันดับ 11 รอบ 64 ทีม รอบ 16 ทีม   อีเซียล โซซา ซัวรีช 12
2563–64 ไทยลีก 2 34 20 9 5 64 28 69 อันดับ 2 รอบ 64 ทีม งดจัดการแข่งขัน   เมลวิน เดอ ลูว์ 17
2564–65 ไทยลีก 30 4 7 19 28 56 19 อันดับ 16 รอบ 16 ทีม รอบ 16 ทีม   บิล 5
2565–66 ไทยลีก 2 34 15 9 10 36 32 54 อันดับ 5 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม   เมลวิน เดอ ลูว์ 8
2566–67 ไทยลีก 2 34 12 13 9 52 41 49 อันดับ 9 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ   มอสกีตู 13
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF   อัครินทร์ ปิตตาโส
4 DF   ทศพล ชมชน
6 MF   ธีรภักดิ์ เปรื่องนา (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
7 MF   ชลวิทย์ คนึงคิด
8 MF   กานต์ จรเทศ
9 FW   เอลสัน ฮุย
10 MF   อนนต์ สมากร
11 MF   กานตพงศ์ บรรดาศักดิ์
13 FW   ธนา อิซอ
15 DF   กิตติพงศ์ บัวทอง
16 FW   อัครวินทร์ สวัสดี
17 FW   ณัฐวุฒิ แสงอุทัย
19 MF   ธนวิชช์ ธเนศศิร์ภัทร์ (กัปตันทีม)
20 MF   เกียรติศักดิ์ นันทวิเชียรฤทธิ์
21 DF   สุวิจักขณ์ มูลแก้ว
23 MF   วรินทร วัชรไพรงาม
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 MF   ภูริเดช แคลนตัน
25 DF   เรียว ชินซาโตะ
26 FW   ศราวุธ สินธุปัน
29 DF   ภูริณัฐ จรเทศ
31 MF   นูรูล ศรียานเก็ม
35 GK   ไพโรจน์ เอี่ยมมาก
36 GK   ปภาวิน สิริทองโสภา
47 DF   ชนพัฒน์ วงศ์คำ
48 GK   กึกก้อง บรรจงศิริ
65 DF   บุคฆอรี เหล็มดี (ยืมตัวจาก ชลบุรี)
72 DF   สิรดนัย แสงงาม
79 MF   เจริญศักดิ์ เพ็งวิชา
80 MF   ศักรินทร์ เสนาจักร
91 FW   อาร์โนลด์ ซึว
96 FW   การ์ลุส แนตู
99 GK   ภูมินิวัฒน์ ทุหา

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 FW   สุขสันต์ แก้วปัญญา (ไป เขลางค์ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

แก้
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง ความสำเร็จ
ฉลองชัย ลีฬหาชีวะ ไทย   ธันวาคม พ.ศ. 2559 มกราคม พ.ศ. 2560 ชนะเลิศ ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์
(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4)
พีรภัทธ์ พษิฐาการกุล ไทย   มกราคม พ.ศ. 2560 มีนาคม พ.ศ. 2560
อภิชาติ โมสิกะ ไทย   มีนาคม พ.ศ. 2560 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 อันดับ 1 ไทยลีก 4 โซนภาคเหนือ
สุรชัย จิระศิริโชติ ไทย   พฤษภาคม พ.ศ. 2561 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ ไทย   กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ชนะเลิศ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2561
(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2)
สมชาย มากมูล ไทย   ตุลาคม พ.ศ. 2561 เมษายน พ.ศ. 2562
เลโอเนส ซานโตส บราซิล   เมษายน พ.ศ. 2562 สิงหาคม พ.ศ. 2562
สุรชัย จิระศิริโชติ ไทย   สิงหาคม พ.ศ. 2562 มกราคม พ.ศ. 2563
การ์ลุส เอดูวาร์ดู ปาร์เรย์รา บราซิล   มกราคม พ.ศ. 2563 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เดนนิส อามาโต เยอรมัน   พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มีนาคม พ.ศ. 2564 รองชนะเลิศ ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64
(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก)
สุรพงษ์ คงเทพ ไทย   มิถุนายน พ.ศ. 2564 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ไอล์ตง ซิลวา บราซิล   ตุลาคม พ.ศ. 2564 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
สุรชัย จิระศิริโชติ (รักษาการ) ไทย   กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ ไทย   มิถุนายน พ.ศ. 2565 สิงหาคม พ.ศ. 2565
สมชาย ชวยบุญชุม ไทย   สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีนาคม พ.ศ. 2566
วานเดอร์เลย์ ฌูนีโยร์ บราซิล   มีนาคม พ.ศ. 2566 มิถุนายน พ.ศ. 2566
สุรชัย จิระศิริโชติ ไทย   มิถุนายน พ.ศ. 2566 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
เฆฟเฟรน ซัวเรซ เวเนซุเอลา   กรกฎาคม พ.ศ. 2567 กันยายน พ.ศ. 2567
อนุชา ไชยวงค์ ไทย   กันยายน พ.ศ. 2567

สถิติต่าง ๆ

แก้

สถิติสโมสร

แก้

สถิติผู้เล่น

แก้

ผลงาน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://idewblog.net/0505558007082.html
  2. "เจแอล เชียงใหม่เตรียมเปลี่ยนชื่อลุยศึกที 2".
  3. "ต้อนรับปี 2020 !เจแอล เชียงใหม่ฯเปลี่ยนชื่อ "เชียงใหม่ ยูไนเต็ด"".
  4. "สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี", วิกิพีเดีย, 2024-05-31, สืบค้นเมื่อ 2024-09-11
  5. http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/504203
  6. http://www.goal.com/th/ข่าว/เปดบนทก-15-เดอน-เจแอล-เชยงใหม-จากนอกลกสทมลนแชมป-ชาง-fa-cup/17bnmq17qb1j71k5lhace56jkb
  7. https://www.khaosod.co.th/sports/news_187085

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้