สโมสรฟุตบอลนครสวรรค์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลนครสวรรค์ เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครสวรรค์ โดยปัจจุบันได้เล่นอยู่ในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคเหนือ
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | สิงโตแดง (The Red Lions) | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2542 | |||
สนาม | สนามกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ | |||
ความจุ | 15,000 ที่นั่ง | |||
ประธาน | จิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ | |||
ผู้จัดการ | ยงยุทธ มาหะมัด | |||
ผู้ฝึกสอน | ปิยะพงษ์ ภูฆัง | |||
ลีก | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก | |||
2567 | อันดับที่ 7 โซนภาคเหนือ | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
ประวัติสโมสร
แก้ยุคก่อนระบบลีก
แก้สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เริ่มส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในการแข่งขัน กีฬาแห่งชาติ ฟุตบอลไทยแลนด์คัพ และ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ มาอย่างยาวนาน โดยในระดับเยาวชนจะใช้ชื่อ ทีมเยาวชนนครสวรรค์ ซึ่งเคยได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลเยาวชนแห่งประเทศไทย ปี 2521, ชนะเลิศ กีฬาฟุตบอลเยาวชนระดับภูมิภาค ปี 2526 และในระดับบุคคลทั่วไป ในช่วงที่ไม่มีระบบการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ สโมสรฟุตบอลที่เป็นตัวแทนของจังหวัดนครสวรรค์ บางครั้งก็ส่งในนาม สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ หรือ ส่งร่วมกับ สมาคมสโมสรอื่นๆ ในจังหวัด โดยเฉพาะ สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม โดยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งใน กีฬาแห่งชาติ, ไทยแลนด์ คัพ
โดยในสมัยก่อน ทีมที่เป็นตัวแทนของจังหวัด จะมีฉายาที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "สิงห์เหนือ" เนื่องจากใช้โลโก้ "ไลอ้อน แมน" ติดที่หน้าอกเสื้อแข่ง ซึ่งถือว่าเป็นโลโก้อย่างเป็นทางการของทีมจังหวัดที่ทำให้คนรู้จักทีมฟุตบอลของจังหวัดมากขึ้น และกลายเป็นรากฐานตราสัญลักษณ์ของทีมในการแข่งขัน โปรลีก และอีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อกลุ่มแฟนคลับของสโมสร คือ "สิงโตแดง แฟนคลับ"
อนึ่ง สิงโตแดง แฟนคลับยังมีวัฒนธรรมการเชียร์ฟุตบอลแบบเดิมที่สืบทอดกันมาใน แฟนฟุตบอลนครสวรรค์ นั่นคือ "เชียร์ทุกสโมสรที่เป็นสโมสรฟุตบอลตัวแทนของจังหวัดนครสวรรค์" จึงทำให้ ยังเป็นแฟนคลับของ สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู, สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม, สมาคมสโมสร ส. จันทะพิงค์ ฯลฯ อีกด้วย
ต่อมา ในฤดูกาล 2555 สโมสรปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ได้ย้ายจาก โซนกรุงเทพฯและปริมณฑล มาแข่งขันใน โซนภาคเหนือ แฟนคลับกลุ่มหนึ่งจึงได้แยกตัวออกไปสร้างกลุ่มแฟนคลับของสโมสรอย่างเป็นเอกเทศ
ยุค โปรลีก
แก้ต่อมาทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการจัดการแข่งขัน โปรวินเชียลลีก และทางทีมจังหวัด ก็ได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน ร่วมกับ ทีมจังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ ฤดูกาล 2542/43 โดยได้รับความร่วมมือจาก สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ และ สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม โดยใช้ชื่อ ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์
ต่อมาเมื่อฝ่ายจัดการแข่งขันฯ มีดำริในการสร้างอัตลักษณ์และปรับปรุงทีมให้มีความเป็นสากลมากขึ้นใน ฤดูกาล 2546 ทางฝ่ายจัดการแข่งขันฯ เลยให้ชื่อทีมว่า นครสวรรค์ ไลออนส์ มีตราสัญลักษณ์สโมสรอย่างเป็นทางการ และมีฉายาว่า สิงโตแดง (Red Lions) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสโมสร โดยในระหว่างที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมถือเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่ง โดยชนะเลิศการแข่งขัน ถึง 2 ครั้งใน ฤดูกาล 2543/44 และ ฤดูกาล 2546 นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศใน ฤดูกาล 2547
ยุคปัจจุบัน
แก้ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายในการรวมลีกเข้าด้วยกัน โดยที่ทีมซึ่งจบอันดับ 4 ได้ถูกจัดให้แข่งในระดับ ดิวิชั่น 1 2550 สโมสรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นรากฐานในการยกระดับสโมสรสู่ระดับอาชีพ นอกจากนี้ยังออกแบบโลโก้สโมสรให้มีความสวยงามมากขึ้น แต่ผลงานกลับตกต่ำลงอย่างมาก โดย ฤดูกาล 2550 สโมสรจบในอันดับ 7 ของสาย บี จาก 12 สโมสร รอดการตกชั้นอย่างหวุดหวิด และเมื่อจบ ฤดูกาล 2551 สโมสรจบอันดับ 15 จาก 16 สโมสร จึงตกชั้นสู่ดิวิชั่น 2 แต่ก็ยังได้สิทธิ์ลงทำการแข่งขันต่อ เหตุเพราะ สโมสรกรมสวัสดิการทหารบก ได้ตัดสินใจถอนทีมออกแต่สโมสรกลับทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยจบอันดับที่ 16 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย และ และเสียประตูถึง 122 ประตู มีเพียง 9 คะแนนจากการแข่งขัน 30 นัด และตกสู่ ดิวิชั่น 2 ในที่สุด
จากความล้มเหลวในฤดูกาล 2552 ในฤดูกาล พ.ศ. 2553 นครสวรรค์ เอฟซีจึงปฏิรูปสโมสรอีกครั้ง โดยการสร้างระบบการจัดการแบบมืออาชีพขึ้นใหม่ มีการประสานงานกับกลุ่มสิงโตแดง แฟนคลับมากขึ้น และยังเปลี่ยนโลโก้สโมสรให้มีความน่าเกรงขามมากขึ้นตามความเชื่อของคนจีน ในปัจจุบันทีมนครสวรรค์ เอฟซียังเป็นสโมสรฟุตบอลกึ่งอาชีพ
-
(ยุคไทยแลนด์ คัพ)
-
(2546 – 2550 ; ยุคโปรลีก)
-
(2551 – 2553 ; ยุคดิวิชั่น 1)
-
(2554 - ปัจจุบัน)
สี่แควดาร์บี้
แก้ตั้งแต่มีระบบลีกอาชีพใน พ.ศ. 2542 สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ และสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูไม่เคยแข่งขันในลีกเดียวกันเลย จนกระทั่งในฤดูกาล 2555 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ได้ย้ายเข้ามาแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มภาคเหนือ จึงทำให้เกิดการแข่งขันดาร์บี้แมทช์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 4 มีนาคม 2555 โดยการแข่งขันนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่ว่ามีการเรียกขานกันในหมู่แฟนคลับว่า "สี่แควดาร์บี้" แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า เจ้าพระยาดาร์บี้ ด้วย ในฤดูกาล 2556 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูย้ายไปแข่งขันในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ดาร์บี้แมชท์ในการแข่งขันที่เป็นทางการจึงยุติลง
ครั้งที่ | วัน/เดือน/ปี | การแข่งขัน | สโมสรเหย้า | สโมสรเยือน | ผลการแข่งขัน | ผู้ทำประตู |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 4 มีนาคม 2555 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | นครสวรรค์ | ปากน้ำโพ | 1 - 0 | 1 - 0 ปิยะพงษ์ ภูฆัง [1] |
2 | 1 กรกฎาคม 2555 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | ปากน้ำโพ | นครสวรรค์ | 1 - 0 | 1 - 0 ฌิอัทชู จูลส์ 'บรีซ' [2] |
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้- ณ วันที่ 10 มีนาคม 2566[3]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน
แก้อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
แก้ยุคก่อนระบบลีกอาชีพ
ผู้เล่น | ผลงานในอดีตที่โดดเด่น |
---|---|
ประทีป ปานขาว |
|
สะสม พบประเสริฐ |
|
วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ |
|
ประทีป ศรีวารี |
|
วิทยา วาจาบัณฑิต |
|
ยุคระบบลีกอาชีพ
ผู้เล่น | ผลงานในอดีตที่โดดเด่น |
---|---|
เสนาะ โล่งสว่าง |
|
ทนงศักดิ์ พรมดาด |
|
สมภพ นิลวงษ์ |
|
ใหญ่ นิลวงษ์ |
|
อานนท์ บุษผา |
|
สัญญา พวงจันทร์ |
|
ศราวุธ มาสุข |
|
ผลงาน
แก้ยุคก่อนระบบลีก
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2527 | ไทยแลนด์ คัพ
ถ้วยพระราชทาน ประเภท ค. |
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ |
2528 | ถ้วยพระราชทาน ประเภท ค. | ชนะเลิศ |
2529 | กีฬาแห่งชาติ | รองชนะเลิศ |
2532 | ไทยแลนด์ คัพ | ชนะเลิศ |
ยุคโปรลีก
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2542/43 | โปรวินเชียล ลีก | อันดับ 5 |
2544 | โปรวินเชียล ลีก | ชนะเลิศ |
2545 | โปรวินเชียล ลีก | อันดับ 3 รอบสุดท้าย (ชนะเลิศรอบแรก สาย เอ) |
2546 | โปรวินเชียล ลีก | ชนะเลิศ |
2547 | โปรวินเชียล ลีก | รองชนะเลิศ |
2548 | โปรวินเชียล ลีก | อันดับ 4 |
2549 | โปรเฟสชันนัล ลีก | อันดับ 4 |
ยุคระบบลีกอาชีพ
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2550 |
| |
2551 |
| |
2552 |
| |
2553 |
| |
2554 |
| |
2555 |
| |
2556 |
| |
2561 |
| |
2562 |
| |
2565 |
| |
2566 |
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "นัดที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 4 มี.ค.2555 นครสวรรค์ เอฟซี พบ ปากน้ำโพ NSRU FC". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-28.
- ↑ http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=247290.0 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค "ดิวิชั่น 2" 2012 ภาคเหนือ วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2555
- ↑ ข้อมูลนักฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลนครสวรรค์ สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
- ↑ "ศราวุธ มาสุข เขาคือใคร!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-09.