ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก (อังกฤษ: Thailand Semi-Pro League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับที่ 4 ของไทย จัดโดยบริษัท ไทยลีก จำกัด เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2566 โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพัฒนาสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นของไทยให้ดียิ่งขึ้น และเตรียมความพร้อมสำหรับสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นให้พร้อมลงเล่นในฟุตบอลลีกแต่ละภูมิภาค[1] การแข่งขันนี้จัดขึ้นเพื่อค้นหาสโมสรที่จะเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2566 (2 ปีก่อน) |
---|---|
ประเทศ | ![]() |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
จำนวนทีม | 40 |
ระดับในพีระมิด | 4 |
เลื่อนชั้นสู่ | ไทยลีก 3 |
ตกชั้นสู่ | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก |
ถ้วยระดับประเทศ | ไทยเอฟเอคัพ |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด (2567) |
ชนะเลิศมากที่สุด | ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด, สตูล (สโมสรละ 1 สมัย) |
เว็บไซต์ | ไทยลีก |
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2568 |
สโมสรที่จะเข้าร่วมการแข่งขันจะมีการคัดเลือกผ่านการสมัครทุกปี ดังนั้น จำนวนสโมสรที่เข้าแข่งขันในแต่ละปีจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีสโมสรที่สมัครเข้าร่วมกี่สโมสรในแต่ละปี สโมสรสมัครเล่นทั้งหมดสามารถสมัครเข้าแข่งขันได้ แต่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการออกใบอนุญาตของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัติ
แก้ในฤดูกาลแรก การแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และกรุงเทพและปริมณฑล โซนภาคใต้ไม่มีการแข่งขันเนื่องจากไม่มีทีมสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ส่งผลให้ตำแหน่งทีมเลื่อนชั้นในโซนภาคใต้ตกเป็นของแชมป์ไทยแลนด์ อเมเจอร์ ลีก โซนภาคใต้ ปี 2566 กรณีพิเศษที่เกิดขึ้นในโซนภาคตะวันออก: เนื่องด้วยทีมจันทบุรีและพัทยาดอลฟินส์ ยูไนเต็ด เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2566–67 ทำให้ 2 ทีมจาก ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ฤดูกาล 2566 ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเพื่อเติมเต็มตำแหน่งที่ว่างลง ในปี พ.ศ. 2567 ได้ขยายการแข่งขันออกไปครบทั้ง 6 โซน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นทั่วประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
ตั้งแต่ฤดูกาล 2568 เป็นต้นไป ลีกยังคงแบ่งออกเป็น 6 โซน อย่างไรก็ตาม มีการปรับโครงสร้างโดยยุบโซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแทนที่ด้วยโซนภาคกลางที่ตั้งขึ้นใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบการแบ่งโซนที่แก้ไขใหม่ซึ่งนำมาใช้ในไทยลีก 3 ฤดูกาล 2567–68 โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดความสอดคล้องกันในระดับอาชีพและกึ่งอาชีพ
ผู้สนับสนุนหลัก
แก้รายชื่อผู้สนับสนุนหลักแข่งขันในฤดูกาลต่าง ๆ
- 2566: พีทีที ลูบริแคนท์ส (พีทีที ลูบริแคนท์ส เซมิโปรลีก)[2]
ทำเนียบสโมสรที่ชนะเลิศและเลื่อนชั้น
แก้ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3
ฤดูกาล | จำนวนสโมสร | รอบระดับประเทศ | สโมสรที่เลื่อนชั้น | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ภาคเหนือ | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ภาคตะวันออก | ภาคตะวันตก | ภาคใต้ | กรุงเทพปริมณฑล | ||
2566 | 34 | พีที สตูล | เขลางค์ ยูไนเต็ด | เขลางค์ ยูไนเต็ด (ชนะเลิศ) |
สุรนารี แบล็คแคท (ชนะเลิศ) |
ปราจีนบุรี ซิตี้ (ชนะเลิศ) |
ทัพหลวง ยูไนเต็ด (ชนะเลิศ) |
พีที สตูล (ผู้ชนะเลิศ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก กลุ่มภาคใต้)[note 1] |
ดิไอคอน อาร์เอสยู (ชนะเลิศ) |
บ้านฟุตบอล พัทยา (รองชนะเลิศ) | |||||||||
2567 | 39 | ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด | โดม | ชาติตระการ ซิตี้ (ชนะเลิศ) |
ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด (ชนะเลิศ) |
แปดริ้ว ซิตี้ (ชนะเลิศ) |
สมุทรสงคราม ซิตี้ (ชนะเลิศ) |
ยะลา ซิตี้ (ชนะเลิศ) |
โดม (ชนะเลิศ) |
ฤดูกาล | จำนวนสโมสร | รอบระดับประเทศ | สโมสรที่เลื่อนชั้น | ||||||
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ภาคเหนือ | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ภาคตะวันออก | ภาคตะวันตก | ภาคใต้ | ภาคกลาง | ||
2568 | 40 | พิจิตร ยูไนเต็ด 2021 (ชนะเลิศ) |
อุดร บ้านจั่น ยูไนเต็ด (ชนะเลิศ) |
บ้านบึง ซิตี้ (ชนะเลิศ) |
เขากำแพง (ชนะเลิศ) |
สมุย ยูไนเต็ด (ชนะเลิศ) |
สิงห์บุรี วอร์ริเออร์ (ชนะเลิศ) |
หมายเหตุ:
- ↑ เนื่องจากไม่มีการแข่งขันไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ฤดูกาล 2566 โซนภาคใต้ ทำให้สิทธิ์ในการเลื่อนชั้นถูกส่งต่อให้กับผู้ชนะเลิศไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก กลุ่มภาคใต้ ฤดูกาล 2566
รางวัล
แก้ผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาล
แก้ปี | ผู้เล่น | สโมสร | ประตู |
---|---|---|---|
2568 | |||
2567 | |||
2566 |
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
แก้ปี | ผู้เล่น | สโมสร |
---|---|---|
2568 | ||
2567 | ||
2566 |
ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม
แก้ปี | ผู้ฝึกสอน | สโมสร |
---|---|---|
2568 | ||
2567 | ||
2566 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ไทยลีก ประชุมตัวแทนทีม TA วางแนวทางจัด Semi Pro League". Supersub Thailand. 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
- ↑ PTT Lubricants เติมพลัง Semi-pro League 2023