พิชัย เลิศพงศ์อดิศร

พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ "สว.ก๊อง"[1] เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[2] อดีตสมาชิกวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 ประธานสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ยูไนเต็ด

พิชัย เลิศพงศ์อดิศร
ม.ว.ม., ป.ช.
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าบุญเลิศ บูรณุปกรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มีนาคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

พิชัย เลิศพงศ์อดิศร เดิมชื่อ "ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร" เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2507 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[3]

การทำงาน แก้

พิชัย หรือชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ประกอบอาชีพทนายความตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา เคยเป็นอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ธกส.เชียงใหม่ ที่ปรึกษากฎหมายสหกรณ์การเกษตรดอยหล่อ เชียงใหม่ ที่ปรึกษากฎหมายนายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้

พิชัย เคยลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับอำนวย ยศสุข อดีต ส.ส. อินสอน บัวเขียว อดีต ส.ส. แต่ได้รับเลือกตั้งเพียงคนเดียวคืออำนวย ยศสุข[4]

พิชัย ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2551 หมายเลข 1 ได้รับคะแนน 171,090 คะแนน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และได้รับตำแหน่งประธานกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10

ต่อมาการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยการสนับสนุนของพรรคเพื่อไทย และสามารถเอาชนะบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

กีฬา แก้

พิชัย เลิศพงศ์อดิศร ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลช้างเผือก เชียงใหม่ และจดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ในชื่อบริษัท ช้างเผือกเชียงใหม่ ยูไนเต็ด จำกัด โดยสโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559 ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับสมัครเล่น โดยสโมสรใช้วิธีการคัดเลือกนักฟุตบอลจากผู้ที่มาทดสอบฝีเท้ากว่า 900 คน[5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้


ก่อนหน้า พิชัย เลิศพงศ์อดิศร ถัดไป
บุญเลิศ บูรณุปกรณ์   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ