สโมสรฟุตบอลสุราษฎร์ธานี

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2542 ในปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคใต้

สุราษฎร์ธานี เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉายาไก่พิฆาต
ก่อตั้ง1999; 25 ปีที่แล้ว (1999)
สนามสนามกีฬากลางสุราษฎร์ธานี
(ความจุ:ประมาณ 10,000 คน)
ประธานไทย รังสรรค์ มธุระเมธาวี
ผู้ฝึกสอนไทย รณกร กำหนดศรี
ลีกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
2564–65ไทยลีก 3 โซนภาคใต้,
อันดับที่ 13 (ตกชั้น) ลดลง[1]
สีชุดทีมเยือน

ประวัติสโมสร แก้

ยุคโปรลีก แก้

สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการเทียบเชิญจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมทำการแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ครั้งแรก ในปี 2542 โดยมี วิสุทธิ์ สุทธินุ่น เป็นประธานสโมสรคนแรก[2] โดยได้เริ่มส่งทีมจังหวัด เข้าร่วมการแข่งขันมาโดยตลอด และไม่เคยตกชั้นจากโปรลีกเลย ขณะเดียวกัน ผลงานของทีมในตอนนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่โซนท้ายตารางมากกว่า

ยุคระบบลีก แก้

ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายในการรวมลีกเข้าด้วยกัน โดยที่ทีมได้ถูกจัดให้แข่งในระดับ ดิวิชั่น 1 2550 สโมสรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นรากฐานในการยกระดับสโมสรสู่ระดับอาชีพ โดยมีการตั้งกลุ่มเชียร์ก็คือ Ultra Tapee และ Cheer Rooster

ตราสัญลักษณ์สโมสร แก้

นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ทางสโมสรได้อัญเชิญ พระบรมธาตุไชยา ซึ่งจะเหมือนกับตราประจำจังหวัด และประกอบด้วย ลูกฟุตบอล 3 ลูกคล้องกับเป็นห่วง 3 ห่วง โดยใช้ตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2546[3] ต่อมาทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ออกแบบโลโก้ให้กับ ทีมที่ส่งเข้าแข่งขันในครั้งนั้น โดยใช้ชื่อว่า SURATTHANI SCORER ซึ่งคำว่า "SCORER" ซึ่งเป็นฉายา ที่แปลว่า "ผู้ล่าประตู" ดังรูป โดยสโมสรได้ใช้โลโก้นี้ จนถึงปี 2548[3] ต่อมาในปี 2549 ได้มีการเปลี่ยนชื่อฟุตบอลรายการนี้เป็น "โปรเฟสชั่นนอล ลีก" ทางสโมสร เห็นว่า ตราอันเก่าไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และไม่ค่อยเป็นสากล สำหรับการเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพเท่าที่ควร จึงได้มีการเปลี่ยนอีกครั้งเป็นตราปัจจุบัน (ใช้งานครั้งแรก)[3] แต่เมื่อมีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารสโมสร เป็นชุดของ จิรวัฒน์ พริ้งสกุล ก็ได้มีการเปลื่ยนแปลงตราสัญลักษณ์อีกครั้ง (รูปที่ 4)

ในปี 2557 ทางสโมสรได้เปลื่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ อีกครั้ง ในยุคของ อนงค์ ล่อใจ เป็นประธานสโมสร โดยให้เหตุผลเพื่อความสบายใจ และ เสริมสร้างกำลังใจให้แก่สโมสร[4] จนกระทั่งเมื่อมีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารเป็นชุดของ รังสรรค์ มธุระเมธาวี จึงได้กลับมาใช้ตราสโมสรเดิม ที่เคยใช้ในปี 2549 ถึง 2553 อีกครั้ง

สนามเหย้า แก้

สนามกีฬากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในประกอบด้วย อัฒจันทร์ 3 ด้าน รวมความจุ ประมาณ 10,000 คน ดังนี้

  1. ด้านตะวันตกฝั่งมีหลังคา เป็นอัฒจันทร์ ที่มีที่นั่งของประธาน นอกจากนี้ที่นั่งจะเป็นเก้าอี้นั่งอย่างดี สภาพสวยงาม สีของที่นั่ง มี 2 สี คือสีแสด และสีเหลือง ซึ่งถือว่าเป็น สีประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสีประจำสโมสรฟุตบอล สุราษฎร์ฯ รูสเตอร์
  2. ด้านตะวันออกฝั่งคบเพลิง
  3. ด้านเหนือฝั่งสกอร์บอร์ด

นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบไปด้วย

  1. ห้องพักนักกีฬา 2 ห้อง คือ ห้องพักนักกีฬา ทีมเหย้า และห้องพักนักกีฬาทีมเยือน พร้อมห้องอาบน้ำและห้องน้ำ นักกีฬา
  2. ห้องพักผู้ตัดสิน 1 ห้อง
  3. ห้องพักเจ้าหน้าที่ 1 ห้อง
  4. ศูนย์ฟิตเนส พร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ทันสมัยและครบครัน[5]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
4 DF   พีระพงษ์ สุภาพ
5 FW   อนุศักดิ์ ชิตรัตฐา
6 DF   อดิศักดิ์ ทองสุขแสน
7 DF   ธนาวุฒิ จันทรัตน์
8 MF   ทักษ์ดนัย อึ้งรังษี
9 FW   Mahodi Nelson
10 MF   นภดล เกิดฤทธิ์
11 MF   อรรถวุฒิ พุทธัมรงค์
13 MF   พงศธร มณีบริรักษ์
14 FW   อัมรินทร์ ใจซื่อสัตย์
19 DF   พิศุทธิ์ บิลหลี
20 DF   ณัฐชนน แก้วประสิทธิ์
21 DF   อนุชาติ ล่องแป้น
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
26 DF   สิรภพ ตาลประสิทธิ์
27 GK   ธราวิชญ์ สละ
29 FW   คัณชิต วรรณภักดี
30 GK   วิชญะ แก่นทอง
33 DF   วัชรินทร์ ด้วงทอง
36 MF   วรพงศ์ มาเอี่ยม
39 MF   พีรพล ไข่แก้ว
40 FW   จิรพัส สีเสียด
41 MF   ธนทัต ทองทิพย์
71 MF   ภานุพงศ์ อุทัยธรรม
72 GK   อัครพล พัฒน์แช่ม
77 MF   Amadire Denis
99 GK   ณัฐวัฒน์ เสนาะ

ผลงาน แก้

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีก คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 24 0 3 21 10 77 3 อันดับ 13 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม   อนุศักดิ์ ชิตรัตฐา 3
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้