เขตหลักสี่
หลักสี่ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร
เขตหลักสี่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Lak Si |
คำขวัญ: วัดหลักสี่งามวิจิตร แหล่งผลิตว่าวไทย เลื่องลือไกลหัวโขน งามน่ายลเขตหลักสี่ | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหลักสี่ | |
พิกัด: 13°53′15″N 100°34′44″E / 13.88750°N 100.57889°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 22.841 ตร.กม. (8.819 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 98,377[1] คน |
• ความหนาแน่น | 4,307.04 คน/ตร.กม. (11,155.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1041 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 999 หมู่ที่ 2 ซอยแจ้งวัฒนะ 10 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/laksi |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตหลักสี่ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดอนเมือง มีคลองตาอูฐ คลองเปรมประชากร และคลองวัดหลักสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขน มีคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
แก้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกำหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้นก็ได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า "บ้านหลักสี่" ชื่อหลักสี่นี้ยังได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่ สถานีรถไฟหลักสี่ และทางแยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนแจ้งวัฒนะ)
ประวัติศาสตร์
แก้เดิมพื้นที่เขตหลักสี่อยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางเขน ต่อมาบริเวณนี้ได้รับการโอนย้ายไปอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตดอนเมือง ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 ต่อมาในพื้นที่เขตดอนเมืองมีประชากรหนาแน่นมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครองและการบริหารงานราชการ จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้ง เขตหลักสี่ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตดอนเมืองมาจัดตั้งเป็นพื้นที่ของเขต ปัจจุบันในเขตมีชุมชนทั้งหมด 52 ชุมชน แบ่งเป็นเคหะชุมชน 33 ชุมชน ชุมชนแออัด 11 ชุมชน และชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 8 ชุมชน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตหลักสี่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ทุ่งสองห้อง | Thung Song Hong | 16.886 |
71,650 |
4,243.16 |
|
2. |
ตลาดบางเขน | Talat Bang Khen | 5.955 |
26,727 |
4,488.16
| |
ทั้งหมด | 22.841 |
98,377 |
4,307.04
|
ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ ได้ใช้คลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง 2 แขวงดังกล่าว
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตหลักสี่[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2540 | 116,976 | แบ่งเขต |
2541 | 117,075 | +99 |
2542 | 117,644 | +569 |
2543 | 117,883 | +239 |
2544 | 119,644 | +1,761 |
2545 | 120,760 | +1,116 |
2546 | 121,815 | +1,055 |
2547 | 117,157 | -4,658 |
2548 | 116,713 | -444 |
2549 | 116,922 | +209 |
2550 | 116,055 | -867 |
2551 | 115,518 | -537 |
2552 | 114,180 | -1,338 |
2553 | 112,908 | -1,272 |
2554 | 111,120 | -1,788 |
2555 | 109,858 | -1,262 |
2556 | 109,049 | -809 |
2557 | 107,797 | -1,252 |
2558 | 106,657 | -1,140 |
2559 | 105,588 | -1,069 |
2560 | 104,701 | -887 |
2561 | 104,577 | -124 |
2562 | 104,285 | -292 |
2563 | 102,704 | -1,581 |
2564 | 100,534 | -2,170 |
2565 | 100,360 | -174 |
2566 | 98,377 | -1,983 |
การคมนาคม
แก้ในพื้นที่เขตหลักสี่มีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองวัดหลักสี่
- ถนนงามวงศ์วาน (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302)เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองบางเขนกับสะพานข้ามคลองประปา
- ถนนแจ้งวัฒนะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) เชื่อมระหว่างสะพานข้ามคลองถนนกับสะพานข้ามคลองประปา
- ทางยกระดับอุตราภิมุข
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนกำแพงเพชร 6
- ถนนพิงคนคร มีไม้กั้นทางที่จะไปชุมชนเคหะ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
- ถนนแสนหวี เป็นถนนที่เลี่ยงไม้กั้นทาง ถนนพิงคนครได้ เมื่อมาถึงบึงใหญ่เลยไป เลี้ยวซ้ายเข้าถนนน่านเจ้าจนถึงคลองประปาจะพบถนนแสนหวี ให้เลาะคลองประปาไปจนเห็นทางตัน ให้เลี้ยวขวาซอยสุดท้าย ไปจนถึงแยกใหญ่ให้เลี้ยวซ้าย จะสามารถเข้าสู่พื้นที่เขตดอนเมืองได้
- ถนนน่านเจ้า อยู่ทิศเหนือของบึงใหญ่ เริ่มจากถนนพิงคนคร ทิศตะวันออกของบึงใหญ่ จนถึงคลองประปา เป็นถนนแสนหวี
- ถนนเกษตร อยู่ด้านขวาของบึงสีกัน สุดมุมบึง เลี้ยวขวาเข้าถนนเกษตร (ซอยเกษตร หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์) ตรงตลอดจนเข้าสู่ถนนสายหลัก ถนนซอยชวนชื่น 15 หมู่บ้านชวนชื่นบางเขน วิ่งตามถนนสายหลักนี้จะเข้าสู่เส้นทางถนนโกสุมรวมใจ และตรงเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนวิภาวดีรังสิต
- ถนนชวนชื่น 15 เป็นถนนสายหลักหมู่บ้านชวนชื่นบางเขน หลักสี่ เป็นถนนของทางเขตหลักสี่ จัดเป็นทางลัดเชื่อมต่อระหว่างถนนสายหลักใหญ่ ๆ คือ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต สามารถวิ่งเข้าออกได้หลายช่องทางทั้งทางฝั่งถนนแจ้งวัฒนะ เข้าทางซอยแจ้งวัฒนะ 10, 12, 14 (เมืองทอง 1) และฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเข้าทางซอยกำแพงเพชร 6 ซอย 5, 7
- ถนนโกสุมรวมใจ
- ถนนชินเขต
- ถนนชิดชน
- ซอยวิภาวดีรังสิต 60 และซอยพหลโยธิน 49/1 (เคหะบางบัว)
สถานที่สำคัญ
แก้- วัดหลักสี่
- ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กองบัญชาการกองทัพไทย
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
- เมืองทองนิเวศน์ 1
- สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
- องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)
- สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง
- กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
- กองกำกับการโรงเรียนตำรวจนครบาล
- สโมสรตำรวจ
- โรงเรียนไผทอุดมศึกษา
- โรงเรียนราชวินิตบางเขน
- ไอที สแควร์
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาถนนแจ้งวัฒนะ (สาขาแรก เปิดบริการเมื่อ พ.ศ. 2537)
- โลตัส สาขาถนนแจ้งวัฒนะ
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สำนักงานเขตหลักสี่
- เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร: แหล่งท่องเที่ยวในเขตหลักสี่ เก็บถาวร 2005-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่เขตหลักสี่ เก็บถาวร 2006-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน