กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย)

กระทรวงในรัฐบาลไทย
(เปลี่ยนทางจาก กระทรวงยุติธรรม)

กระทรวงยุติธรรม (อังกฤษ: Ministry of Justice) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีภารกิจเป็นหน่วยงานหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการเพื่อพัฒนากฎหมาย และระบบบริหารจัดการของ กระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นเอกภาพ โปร่งใส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ประชาชนทางกฎหมาย ป้องกัน ปราบปราม แก้ไข ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การบังคับคดีแพ่ง บังคับคดีล้มละลาย บังคับคดีทางอาญา บำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

ราชอาณาจักรไทย
กระทรวงยุติธรรม
Ministry of Justice
ตราพระดุลพ่าห์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง25 มีนาคม พ.ศ. 2434; 132 ปีก่อน (2434-03-25)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กระทรวงยุตติธรรม
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ไทย 404 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี23,163.2447 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สมบูรณ์ ม่วงลำ, ที่ปรึกษากระทรวงยุติธรรม
  • วัลลภ นาคบัว, รองปลัดกระทรวง
  • สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์, รองปลัดกระทรวง
  • พันตำรวจโท ประวุฒิ วงศ์สีนิล, รองปลัดกระทรวง
  • อรัญญา ทองน้ำตะโก, รองปลัดกระทรวง
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์MOJ.go.th

ประวัติ แก้ไข

กระทรวงยุติธรรมก่อตั้งเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 เดิมใช้ชื่อว่ากระทรวงยุตติธรรม[2] และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495[3] มีพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน) เป็นปลัดกระทรวงยุตติธรรมคนสุดท้ายดำรงตำแหน่งวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2495 และเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมคนแรกดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2496[4] และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2496[5] ได้มีการโปรดเกล้า สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงคนที่สอง

ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับ ส่งผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานคณะกรรมการคุมประพฤติ ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานกรรมการคุมประพฤติ[6]

หน่วยงานในสังกัด แก้ไข

ส่วนราชการ แก้ไข

  1. สำนักงานรัฐมนตรี
  2. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
  3. กรมคุมประพฤติ
  4. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
  5. กรมบังคับคดี
  6. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
  7. กรมราชทัณฑ์
  8. กรมสอบสวนคดีพิเศษ
  9. สำนักงานกิจการยุติธรรม
  10. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

หน่วยงานในบังคับบัญชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แก้ไข

องค์การมหาชน แก้ไข

ส่วนงานสนับสนุนพิเศษ องค์กรอิสระตามพระราชบัญญัติเฉพาะ คณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นคณะบุคคลคณะหนึ่งซึ่งปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระภายใต้ความกดดัน ภายใต้เงื่อนไขข้อกำหนดบางประการ จัดตั้งขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่ได้จัดตั้งขึ้น สนับสนุนอำนวยความยุติธรรม ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจเพื่อเมื่อความยุติธรรมให้กับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมของการพิจารณาอรรถคดีในศาลทั่วราชอาณาจักรต่อโดยชำนาญการในด้านอาชญาวิทยาและอื่น ๆ เกี่ยวกับการบริหารคลี่คลายคดีสำคัญต่างๆ สนับสนุนการอำนวยความยุติธรรม จัดทำเอกสารทางกฎหมายที่ใช้ทางศาลในคดีต่างๆให้กับประชาชนผู้ร้องขอและลงพื้นที่ค้นหาความจริงหรือพิสูจน์และรวบรวมจัดเตรียมหลักฐานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีต่างๆตามประสงค์ของผู้ร้องขอโดยเป็นไปตามข้อบังคับของหน่วยงานและองค์กรของตนอย่างเคร่งรัดเป็นต้น และอีกทั้ง มูลนิธิ สมาคม องค์กรอิสระ คณะบุคคล กลุ่มบุคคล และบุคคล ไม่ว่าในรูปแบบคณะกรรมการ คณะทำงาน ฯลฯ ที่เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนตามโครงการต่างๆที่ส่วนงานในกระทรวงยุติธรรมกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ต่างๆ

 
ภาพข้าราชการกองล่ามกระทรวงยุติธรรม

รายนามปลัดกระทรวงยุตติธรรม แก้ไข

  1. พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์) พ.ศ. 2470 ถึง 1 มกราคม พ.ศ. 2478[7]
  2. พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ (สุดใจ ไกรจิตติ) 1 เมษายน พ.ศ. 2479 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2481[8]
  3. พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงษ์ ลัดพลี) 1 เมษายน พ.ศ. 2482 ถึง 16 มกราคม พ.ศ. 2484[9]
  4. พระยารักตประจิตธรรมจำรัส (เขียน รักตประจิต) 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ถึง 7 สิงหาคม พ.ศ. 2492
  5. พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน) 8 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2495[10]

รายนามปลัดกระทรวง แก้ไข

วิกฤตตุลาการ พ.ศ. 2535 แก้ไข

เมื่อปี พ.ศ. 2535 ไดเกิดวิกฤตตุลาการ โดย วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ชุมนุมประท้วงที่เป็นตุลาการให้เป็น โฆษกฝ่ายกบฏตุลาการ[42] สืบเนื่องจากวันที่ 2 กันยายน คณะกรรมการตุลาการมีมติให้นาย ประวิทย์ ขัมภรัตน์ เป็นประธานศาลฎีกา ในการนี้ ประภาสน์ อวยชัย ได้ระงับมติดังกล่าวให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีผู้เข้าประชุมไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งนาย ประวิทย์ ขัมภรัตน์ ได้รับการสนับสนุนจาก โสภณ รัตนากร

และในวันที่ 3 ตุลาคม คณะกรรมการตุลาการ ได้มีมติ ให้ นาย ประเสริฐ บุญศรี เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และ สวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานศาลฎีกา ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2536 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีมติไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงยุติธรรมและประธานศาลฎีกา ของ ประภาสน์ อวยชัย นำมาสู่การชุมนุมครั้งใหญ่ของผู้พิพากษาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่แยกราชประสงค์[43] ก่อนเลิกชุมนุมและรับมติคณะกรรมการตุลาการ[44]

ดูเพิ่ม แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/016/313.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/047/3915_1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/025/1659.PDF
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/2883_1.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/4160.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/53.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/047/3915_1.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/047/3915_1.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/025/1659.PDF
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/079/2755.PDF
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2510/D/111/2892.PDF
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/024/729.PDF
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/150/5.PDF
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/204/4257.PDF
  18. มติคณะรัฐมนตรี
  19. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/034/418.PDF
  20. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/079/11.PDF
  21. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/079/18.PDF
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/089/1.PDF
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/108/6.PDF
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/154/3.PDF
  25. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/217/8936.PDF
  26. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/200/11571.PDF
  27. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/209/4.PDF
  28. หุตะสิงห์ &owner_dep=ยธ&meet_date_dd=01&meet_date_mm=01&meet_date_yyyy=2535&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=31&meet_date_mm2=12&meet_date_yyyy2=2537 มติคณะรัฐมนตรี
  29. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/D/046/3.PDF
  30. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/D/046/2.PDF
  31. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/078/9.PDF
  32. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/078/8.PDF
  33. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/D/101/1.PDF
  34. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00184162.PDF
  35. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/D/127/6.PDF
  36. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/114/8.PDF
  37. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/225/24.PDF
  38. มติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 17 มิถุนายน 2557[ลิงก์เสีย]
  39. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/001/18.PDF
  40. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/158/1.PDF
  41. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/158/2.PDF
  42. พลิกปูม “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" ประธานศาล รธน.กับวลี“สีทนได้ค่ะ” : ขยายปมร้อน โดยทีมข่าวสำนักข่าวเนชั่น
  43. กฤตตุลาการคือการขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
  44. 365 วันปีแพะอาถรรพ์[ลิงก์เสีย]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°52′52.92″N 100°33′53.89″E / 13.8813667°N 100.5649694°E / 13.8813667; 100.5649694