กรมคุมประพฤติ (อังกฤษ: Department of Probation) เป็นหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการสืบเสาะและพินิจ ควบคุมและสอดส่อง พัฒนาทรัพยากรบุคคลกลับคืนสู่สังคม เช่น การสงเคราะห์ การฝึกอาชีพ แก่ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชน และผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุกทั้งประเทศ[2]

กรมคุมประพฤติ
Department of Probation
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 มีนาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ชั้น 4,6 เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม.1021
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • เรืองศักดิ์ สุวารี[1], อธิบดี
  • พันตำรวจโท มนตรี บุณยโยธิน, รองอธิบดี
  • นุสรา วงษ์สุวรรณ, รองอธิบดี
  • สิทธิ สุธีวงศ์, ว่าที่รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงยุติธรรม
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์http://www.probation.go.th/

ประวัติ แก้

ประเทศไทยเริ่มมีการนำระบบคุมประพฤติมาใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 โดยมาใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนก่อนส่วนผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่นั้นแม้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 56, 57 และ 58 จะได้บัญญัติถึงวิธีการเกี่ยวกับการคุมประพฤติไว้ แต่อย่างไรก็ตามศาลคงใช้มาตรการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้วิธีการคุมความประพฤติ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่จะรับผิดชอบดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลได้

จนกระทั่งรัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกองสังกัดสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการกระทรวงยุติธรรม และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 โดยดำเนินการในกรุงเทพมหานครก่อน จนปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ และเพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ให้ได้รับประโยชน์จากวิธีการคุมความประพฤติ จึงได้มีการเปิดดำเนินการสำนักงานคุมความประพฤติในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เนื่องจากมีการขยายงานออกสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น จึงให้สำนักงานคุมประพฤติกลางมีปริมาณงาน ขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน สำนักงานคุมประพฤติกลางจึงได้รับการ ยกฐานะให้เป็น "กรมคุมประพฤติ" เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2535 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วนของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ไปเป็นของกรมคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2535 ดังนั้น วันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี จึงถือเป็นวันก่อตั้งกรมคุมประพฤติ [3]

หน่วยงานในสังกัด แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 17 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ประวัติความเป็นมา
  3. "ราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.