สวัสดิ์ โชติพานิช
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
สวัสดิ์ โชติพานิช (เกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2474) อดีตประธานศาลฎีกา อดีตกรรมการการเลือกตั้ง[3] ฝ่ายสืบสวนสอบสวน ชุดที่ 1 ดำรงตำแหน่งระหว่าง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ที่มีอำนาจตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติ หรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลการปฏิรูปการปกครอง ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 23 เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมานายสวัสดิ์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10,กฎหมายสาธารณสุข) ในปัจจุบัน
สวัสดิ์ โชติพานิช | |
---|---|
ประธานศาลฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 30 กันยายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | โสภณ รัตนากร |
ถัดไป | ประมาณ ชันซื่อ |
ปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528[1] – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533[2] (5 ปี 0 วัน) | |
ก่อนหน้า | เธียร เจริญวัฒนา |
ถัดไป | ประมาณ ชันซื่อ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2474 อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงนงเยาว์ โชติพานิช |
การศึกษา
แก้- ประถมศึกษา โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา (รหัสประจำตัว 267)
- มัธยมศึกษา โรงเรียนพัทลุง
- ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 24
การทำงาน
แก้- ประธานศาลฎีกา
- ประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) (กฎหมายสาธารณสุข) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม
- อธิบดีกรมบังคับคดี
- สมาชิกวุฒิสภา
- กรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
- กรรมการการเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศแต่งตั้งปลัดกระทรวง
- ↑ ประกาศสิ้นสุดปลัดกระทรวง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 113 ง วันที่ 3 ธันวาคม 2540 หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๘๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สวัสดิ์ โชติพานิชเก็บถาวร 2005-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน