สถานีหลักสี่
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สถานีหลักสี่ (อังกฤษ: Lak Si Station; รหัสสถานี: RN06) เป็นสถานีรถไฟฟ้าตั้งอยู่ในบริเวณสี่แยกหลักสี่ หรือจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะ (บางกรวย-กรุงเทพ) ถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดี-รังสิต ในพื้นที่ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยายกระดับเหนือถนนกำแพงเพชร 6 ในพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 และในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู
หลักสี่ RN06 Lak Si | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°53′04″N 100°34′51″E / 13.884348°N 100.580793°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°53′04″N 100°34′51″E / 13.884348°N 100.580793°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (SRTET) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 | ||||||||||
ราง | 4 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ![]() | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ที่จอดรถ | มีบริการ | ||||||||||
สิ่งอำนวยความสะดวกจักรยาน | มีบริการ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | RN06 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | พ.ศ. 2441 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (ยกระดับ) | (เดิม)||||||||||
ปิดให้บริการ | 19 มกราคม 2566 (เดิม) | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
![]() | |||||||||||
หมายเหตุ | |||||||||||
ที่ตั้ง แก้ไข
ถนนกำแพงเพชร 6 บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าไอทีสแควร์ หลักสี่ ในพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี แก้ไข
U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 1 | สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า รังสิต | |
ราง สายเหนือ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ | ||
ชานชาลา 2 | สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า กรุงเทพอภิวัฒน์ | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-8, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า ทางเดินเชื่อมศูนย์การค้าไอทีสแควร์ และ หลักสี่ |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ศูนย์การค้าไอทีสแควร์, วัดหลักสี่, เอ็นที สำนักงานใหญ่ |
รูปแบบของสถานี แก้ไข
เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐานยาว 230 เมตร ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา และออกแบบให้มีรางหลีกสำหรับรถไฟทางไกลที่ไม่จอดที่สถานี
ทางเข้า-ออก แก้ไข
ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่
- 1, 3 ถนนแจ้งวัฒนะ, ไอทีสแควร์ หลักสี่, เอ็นที สำนักงานใหญ่
- 2, 4 วัดหลักสี่, โรงเรียนวัดหลักสี่, คอนโดมิเนียมพาร์ควิว หลักสี่
- 5, 6 ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาออก (มุ่งหน้าท่าอากาศยานดอนเมือง)
- 7 สถานีหลักสี่, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (สะพานเชื่อม)
- 8 ซอยแจ้งวัฒนะ 6, โชว์รูมเอ็มจี หลักสี่
เวลาให้บริการ แก้ไข
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายธานีรัถยา | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
RN10 | รังสิต | จันทร์ - อาทิตย์ | 05:42 | 00:12 | ||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
RN01 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | จันทร์ - อาทิตย์ | 05:41 | 00:11 |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้ไข
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์
- ศูนย์การค้าไอที สแควร์ หลักสี่
- วัดหลักสี่
- โรงเรียนวัดหลักสี่
- บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (เอ็นที สำนักงานใหญ่)
- บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด