มาซาตาดะ อิชิอิ
มาซาตาดะ อิชิอิ (ญี่ปุ่น: 石井 正忠; โรมาจิ: Ishii Masatada; เกิด 1 กุมภาพันธ์ 1967) เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลอาชีพชาวญี่ปุ่น อดีตนักฟุตบอลที่เป็นผู้เล่นในตำแหน่งกองกลางและกองหลัง ปัจจุบันเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | มาซาตาดะ อิชิอิ | ||||||||||||||||||||||||
วันเกิด | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 | ||||||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | อิจิฮาระ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น | ||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.79 m (5 ft 10 1⁄2 in) | ||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | กองกลาง | ||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลสโมสร | |||||||||||||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | ไทย (หัวหน้าผู้ฝึกสอน) | ||||||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | |||||||||||||||||||||||||
1982–1984 | อิชิฮะระ มิโดริ ไฮสกูล | ||||||||||||||||||||||||
1985–1988 | มหาวิทยาลัยจุนเต็นโด | ||||||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | |||||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | ||||||||||||||||||||||
1989–1991 | เอ็นทีที คันโต | 43 | (0) | ||||||||||||||||||||||
1991–1997 | คาชิมะ แอนต์เลอส์ | 109 | (3) | ||||||||||||||||||||||
1998 | อวิสปา ฟูกูโอกะ | 1 | (0) | ||||||||||||||||||||||
รวม | 153 | (3) | |||||||||||||||||||||||
จัดการทีม | |||||||||||||||||||||||||
2002–2012 | คาชิมะ แอนต์เลอส์ (โค้ชฟิตเนส) | ||||||||||||||||||||||||
2012–2015 | คาชิมะ แอนต์เลอส์ (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน) | ||||||||||||||||||||||||
2015–2017 | คาชิมะ แอนต์เลอส์ | ||||||||||||||||||||||||
2017–2018 | โอมิยะ อาร์ดิจา | ||||||||||||||||||||||||
2019–2021 | สมุทรปราการ ซิตี้ | ||||||||||||||||||||||||
2021–2023 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | ||||||||||||||||||||||||
2023– | ทีมชาติไทย | ||||||||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| |||||||||||||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
อาชีพผู้เล่น
แก้อิชิอิเกิดที่อิจิฮาระเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1967 หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจุนเต็นโด เขาได้ย้ายไปร่วมทีมเอ็นทีที คันโตในเจแปนซอกเกอร์ลีกเมื่อปี 1989 โดยในฤดูกาลแรกกับสโมสร เขาได้ลงเล่นอยู่หลายนัด ต่อมาเขาย้ายไปซูมิโตโมะ เมทัล (คาชิมะ แอนต์เลอส์ ในปัจจุบัน) เมื่อปี 1991 ต่อมาในปี 1992 เจแปนซอกเกอร์ลีกถูกยุบและเปลี่ยนชื่อเป็นเจลีก ต่อมาในปี 1993 เขาพาทีมจบอันดับที่ 2 ของเจลีกและคว้ารองแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 1996 เขาได้รับโอกาสลงสนามน้อยลง จึงย้ายไปอวิสปา ฟูกูโอกะในปี 1998 และแขวนสตั๊ดเมื่อจบฤดูกาลนั้น
อาชีพผู้ฝึกสอน
แก้คาชิมะ แอนต์เลอส์
แก้หลังจากเลิกเล่นฟุตบอล อิชิอิได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนกายภาพของคาชิมะ แอนต์เลอส์ในปี 2542 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2558 เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแทนที่โตนีนโย เซเรโซที่ถูกปลด อิชิอิจึงกลายเป็นผู้จัดการทีมชาวญี่ปุ่นคนแรกของสโมสรในรอบ 21 ปี นับตั้งแต่มาซาคัตสึ มิยาโมโตะในปี 2537 (ไม่นับรวมผู้จัดการทีมรักษาการอย่างทากาชิ เซกิซูกะในปี 2541 และ 2542) อิชิอิพาทีมชนะเลิศเจลีกคัพในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2558 ก่อนที่จะพาทีมชนะเลิศเจลีกในฤดูกาล 2559 จนได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 ฤดูกาลนั้น เขาได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของเจลีก ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกนั้น เขาพาคาชิมะ แอนต์เลอส์เข้าชิงชนะเลิศจนกลายเป็นทีมแรกจากเอเชียที่ได้เข้าชิงชนะเลิศในรายการนี้ โดยในนัดชิงชนะเลิศนั้น เขาพาทีมแพ้แชมป์ยุโรปอย่างเรอัลมาดริดในช่วงต่อเวลาพิเศษ 4–2 หลังจากที่เสมอกันในเวลา 90 นาที 2–2 และในฤดูกาล 2560 เขาถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีมหลังจากที่ทำผลงานได้ไม่ดี
โอมิยะ อาร์ดิจา
แก้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 อิชิอิเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมของโอมิยะ อาร์ดิจา (เอ็นทีที คันโต ในอดีต) ซึ่งเป็นทีมที่เขาเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพ เขาคุมทีมไม่ชนะใครเลยในช่วงเวลา 3 เดือน อีกทั้งทีมยังตกชั้นสู่เจลีก 2 อย่างไรก็ตาม เขายังได้รับโอกาสคุมทีมต่อในฤดูกาล 2561 โดยมีเป้าหมายพาทีมเลื่อนชั้นสู่เจลีก 2 อย่างไรก็ตาม ทีมจบเพียงอันดับที่ 5 หมดสิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด เขาจึงลาออกจากตำแหน่งหลังจบฤดูกาลนั้น[1]
สมุทรปราการ ซิตี้
แก้วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อิชิอิเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของสมุทรปราการ ซิตี้ในไทยลีก[2]
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
แก้มาซาทาดะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564[3] และประเดิมคุมทีมนัดแรกในการแข่งขันรีโว่ ลีกคัพ 2564–65 รอบ 32 ทีมสุดท้าย เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ซึ่งในนัดนั้น บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะระยองได้ 2–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[4] จบฤดูกาล 2564–65 เขาคุมทีมคว้าเทรเบิลแชมป์ในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยไทยลีก เอฟเอคัพ และลีกคัพ ได้สำเร็จ[5][6][7] และในฤดูกาลถัดมา (2565–66) เขาคุมทีมป้องกันทริปเปิ้ลแชมป์ได้สำเร็จอีกครั้งหนึ่ง
ทีมชาติไทย
แก้ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เนวิน ชิดชอบ ประกาศส่งอิชิอิไปทำหน้าที่ประธานพัฒนาเทคนิคของฟุตบอลทีมชาติไทย ตามคำขอของนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม โดยอิชิอิยังคงเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตามเดิม[8]
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 นวลพรรณ ล่ำซำได้ประกาศแต่งตั้งอิชิอิกลับมาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลทีมชาติไทย แทนที่อาเลชังดรี ปอลกิง ที่ถูกปลดจากผลงานที่ย่ำแย่[9] อย่างไรก็ตาม สัญญาการคุมทีมยังไม่ชัดเจน เนื่องจากคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์คนใหม่ โดยอิชิอิจะเริ่มต้นคุมทีมชาติไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ในการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรที่ทีมชาติไทยบุกไปเยือนทีมชาติญี่ปุ่นซึ่งเป็นทีมชาติบ้านเกิดของอิชิอิเอง ปัจจุบันอิชิอิได้นำทีมชาติไทย ลุยเอเชียนคัพ 2023 และได้ทำสถิติใหม่ในเอเชียนคัพ โดยการคว้า 4 คะแนนในการลงสนาม 2 นัดแรก
สถิติการจัดการทีม
แก้- ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2567[10]
สโมสร | วันที่เริ่มต้น | วันที่สิ้นสุด | บันทึก | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | % ชนะ | |||
คาชิมะ แอนต์เลอส์ | 2558 | 2560 | 96 | 59 | 7 | 30 | 61.46 |
โอมิยะ อาร์ดิจา | 2560 | 2561 | 48 | 22 | 9 | 17 | 45.83 |
สมุทรปราการ ซิตี้ | 2562 | 2564 | 50 | 21 | 10 | 19 | 42.00 |
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2564 | 2566 | 68 | 52 | 9 | 7 | 76.47 |
ทีมชาติไทย | 2566 | ปัจจุบัน | 8 | 1 | 4 | 3 | 12.50 |
รวม | 270 | 155 | 39 | 76 | 57.41 |
เกียรติประวัติ
แก้ผู้เล่น
แก้- คาชิมะ แอนต์เลอส์
- เจลีก: 2539
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ: 2540
- เจลีกคัพ: 2540
ผู้จัดการทีม
แก้- คาชิมะ แอนต์เลอส์
- เจลีก 1: 2559
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ: 2559
- เจลีกคัพ: 2558
- เจแปนนิส ซูเปอร์คัพ: 2560
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก รองชนะเลิศ: 2016
- บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- รางวัลส่วนตัว
อ้างอิง
แก้- ↑ Omiya Ardija(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "Samut Prakan Appoint Masatada Ishii as new Head Coach". Football Tribe. 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
- ↑ ""บุรีรัมย์" ประกาศดึง "อิชิอิ" เข้านั่งกุนซือล่าแชมป์ไทยลีกสมัย 8". Thai Rath. 1 December 2021. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
- ↑ ""มาซะ" นำลูกทีมประเดิมสวย โอปป้าพี - เจบี ส่องคนละเม็ด บุกชนะ ม้านิลมังกร 0-2 ผ่านเข้ารอบ 16 ทีม รีโว่ลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2022.
- ↑ "ปราสาทสายฟ้า รับแชมป์สมัยที่ 7 ปิดท้ายไทยลีกฤดูกาล 2021/22". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "ปราสาทสายฟ้า ผงาดคว้าแชมป์ช้างเอฟเอ คัพ สมัยที่ 5". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "เทรเบิ้ลแชมป์!บุรีรัมย์ ซิวถ้วยรีโว่ ลีกคัพ สมัย 6". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "ร่วมด้วยช่วยกัน! บุรีรัมย์ ไฟเขียว "มาซาทาดะ อิชิอิ" นั่งปธ.เทคนิคทีมชาติไทยช่วย "มาโน่"". สยามกีฬารายวัน. 2023-08-13. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตามคาด! มาดามแป้ง แถลงแยกทาง มาโน - ตั้ง อิชิอิ คุมทัพทีมชาติไทยชุดใหญ่". ข่าวสด. 22 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ J.League Data Site (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "ผลการประกาศรางวัล 27 สาขา FA Thailand Awards 2021/22". 24 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2022.
- ↑ "รางวัลยอดเยี่ยม รีโว่ ไทยลีก และ M-150 แชมเปี้ยนชิพ ประจำเดือนมกราคม 2022". Thai League. 17 February 2022. สืบค้นเมื่อ 18 February 2022.
- ↑ "สิทธิโชคยิง 3 ผงาดคว้ายอดเยี่ยมเดือนพฤศจิกายน". Thai League. 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 22 January 2023.
- ↑ "เมืองทองเบิ้ล 2 ! วิลเลี่ยน พ๊อพพ์ ควง สุพร คว้ายอดเยี่ยม มกราคม". Thai League. 16 February 2023. สืบค้นเมื่อ 16 February 2023.
- ↑ "บุรีรัมย์คว้า 3 รางวัลยอดเยี่ยมเดือนกุมภาพันธ์". Thai League. 16 March 2023. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | มาซาตาดะ อิชิอิ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาเลชังดรี ปอลกิง | ผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย (พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
ยังเป็นปัจจุบัน | ||
อาเลชังดรี กามา | ผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (1 ธันวาคม 2564 – 13 สิงหาคม 2566) |
อาเธอร์ ปาปัส |