กรวีร์ ปริศนานันทกุล
กรวีร์ ปริศนานันทกุล กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง สังกัดพรรคภูมิใจไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตเลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตประธานบริษัท ลีกภูมิภาค จำกัด และอดีตรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยลีก จำกัด เขาเป็นบุตรชายของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
กรวีร์ ปริศนานันทกุล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 178 วัน) | |
ก่อนหน้า | ยุบเขต 2 |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2 ปี 159 วัน) | |
ก่อนหน้า | ภคิน ปริศนานันทกุล |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2554–2561) ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน) |
บุตร | อธิปัตย์ ปริศนานันทกุล |
กรวีร์ เคยเข้าร่วมแข่งขันในรายการอัจฉริยะข้ามคืน และเป็นผู้ชนะล้านที่ 9 ของรายการ เมื่อปี พ.ศ. 2549
ประวัติ
แก้กรวีร์ ปริศนานันทกุล (ชื่อเล่น : แชมป์) เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[1] ที่ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรคนที่สองของ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับนางรวีวรรณ ปริศนานันทกุล (สกุลเดิม : ฉัตรบริรักษ์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาเรียนปริญญาตรีที่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขาเคยเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และเคยเป็นประธานเชียร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 61 ต่อมาเขาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท สาขา International Marketing จาก Malardalen University ประเทศสวีเดน และเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน
แก้การเมือง
แก้กรวีร์ ปริศนานันทกุล เคยทำงานการเมืองท้องถิ่นในตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2554 ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
กีฬา
แก้แวดวงฟุตบอล ในปี พ.ศ. 2559 ได้รับเลือกเป็นสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และยังได้ทำหน้าที่ ผู้ดูแลฟุตบอลระดับ T3/T4 ลีกภูมิภาค รวมถึงการได้เป็น ผู้ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลของเอเอฟซีและฟีฟ่า [3]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ต่อมาเขาลาออกจากตำแหน่งในขณะรักษาการหลังจากหมดวาระ เนื่องจากเกรงว่าจะขัดต่อระเบียบกฎหมาย ป.ป.ช.[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""พิมพ์นิยม"นักการเมือง "ลูกไม้"หล่นไกลต้น ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-10.
- ↑ "เจาะลึกคนเบื้องหลัง : 'แมตช์ คอมมิชชันเนอร์' เขาคือใคร?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-15.
- ↑ "กรวีร์" ลาออกจากเลขาธิการสมาคมฟุตบอลฯ หวั่นขัดระเบียบ ป.ป.ช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔