วิทยา เลาหกุล

นักฟุตบอลไทยคนแรกที่ได้เล่นในลีกยุโรป

วิทยา เลาหกุล (ชื่อเล่น ยา​)​ (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 — ) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โค้ชเฮง เป็นผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเป็นประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคให้กับสโมสรฟุตบอลชลบุรี ใน ไทยลีก 2 เขาเคยเป็นกัปตันทีมชาติไทย และเป็นนักฟุตบอลคนแรกของไทยที่เล่นในลีกยุโรป โดยเล่นให้กับแฮร์ทา เบเอ็สเซ ในบุนเดิสลีกา และเคยทำหน้าที่คุมทีมไกนาเร ทตโตริ ในดิวิชัน 3 ของญี่ปุ่น หลังจากนั้นได้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิคของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นอดีตอุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

วิทยา เลาหกุล
วิทยา เลาหกุล ใน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม วิทยา เลาหกุล
วันเกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดลำพูน
ส่วนสูง 1.81 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ชลบุรี (ประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค)
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2516-2517 ฮากกา
2518-2519 ราชประชา 97 (28)
2520-2521 ยันมาร์ดีเซล 33 (14)
2522-2524 แฮร์ทา เบเอ็สเซ 33 (1)
2525-2527 เอฟเซ ซาร์บรึคเคิน 54 (7)
2527-2528 ราชประชา 24 (5)
2529-2530 มัตสึชิตะ (กัมบะ โอซากะ) 32 (6)
ทีมชาติ
2518-2528 ไทย 61 (18)
จัดการทีม
2531-2538 มัตสึชิตะ (กัมบะ โอซากะ)
2539-2540 ธนาคารกรุงเทพ
2540 ทีมชาติไทย
2543 ไทย อายุไม่เกิน 16 ปี
2545-2546 เซมบาวัง เรนเจอร์ส (ชุดเยาวชน)
2547 เซมบาวัง เรนเจอร์ส
2547-2549 ชลบุรี
2550-2552 ไกนาเร ทตโตริ
2552-2559 ชลบุรี
2559-2562 ทีมชาติไทย (ประธานพัฒนาเทคนิค)
2562-2563 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ (อุปนายก)
2566-2567 ชลบุรี (รักษาการ)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ประวัติ

แก้

วิทยา เลาหกุล เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดลำพูน มีพี่น้องทั้งหมด 14 คน ปี พ.ศ. 2516 ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้กับทีมฟุตบอลเขต 5 จังหวัดลำพูน จนได้รับเหรียญรางวัลชนะเลิศพร้อมตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำรายการ

ต่อมาได้เริ่มเล่นฟุตบอลสโมสรให้กับสโมสรฟุตบอลฮากกา และสโมสรฟุตบอลราชประชา ติดทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกในรายการเอเซียนคัพในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งทีมชาติไทยชนะทีมชาติอินโดนีเซีย 3-1

ปี พ.ศ. 2519 วิทยา เลาหกุลได้เล่นฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลควีนสคัพ ซึ่งในครั้งนั้นสโมสรฟุตบอลยันมาร์ดีเซลจากประเทศญี่ปุ่นได้มาแข่งขันและคว้าชัยชนะไป และได้ติดต่อซื้อตัววิทยาจากสโมสรฟุตบอลราชประชา ให้ไปเล่นกับสโมสร ชีวิตการค้าแข้งของวิทยาที่ญี่ปุ่นถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เคยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลและเคยเป็นผู้ที่ทำประตูสูงสุดในถ้วย F.A.Cup ของญี่ปุ่นที่จำนวน 6 ประตู โดยยิงประตูในลีกของญี่ปุ่นได้ทั้งสิ้น 14 ประตู

ในปี 2522 ได้ย้ายไปเล่นให้กับสโมสรในเยอรมันคือ แฮร์ทา เบเอ็สเซ และ เอฟเซ ซาร์บรึคเคิน เป็นเวลารวมหกปีได้รับคำยกย่องจากสื่อในเยอรมันว่า "ไทย บูม" (THAI BOOM) และได้กลับมาประเทศไทย

ภายหลังจากที่ได้เลิกเล่นฟุตบอล ได้มาเป็นผู้ฝึกสอนให้กับมัตสึชิตะในประเทศญี่ปุ่น (สโมสรกัมบะ โอซากะปัจจุบัน) ซึ่งในปี 2535 ทีมมัตสึชิตะได้ชนะเลิศควีนสคัพในประเทศไทย หลังจากนั้นได้คุมทีมสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพจนชนะเลิศการแข่งขันไทยลีก ซึ่งต่อมาได้คุมทีมชาติไทยชนะเลิศซีเกมส์ในปี 2540 และได้คุมทีมสโมสรฟุตบอลชลบุรีจากโปรลีกจนได้เข้ามาเล่นไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร

ปี พ.ศ. 2548 วิทยา เคยเสนอตัวเข้ารับการชิงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกที่ประชุมและไม่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมในครั้งนี้ โดยตำแหน่งเป็นของวิจิตร เกตุแก้ว ด้วยคะแนนเสียงจากสมาชิกในที่ประชุมอย่างท้วมท้น 118 ต่อ 16 คะแนน มีบัตรเสีย 1 ใบ

ปี พ.ศ. 2550 วิทยา ได้ลาออกจากสโมสรฟุตบอลชลบุรี ทั้งที่เพิ่งพาทีมเลื่อนชั้นมาได้เพียงปีเดียว ก่อนย้ายไปคุมทีมไกนาเร ทตโตริ ในลีกดิวิชัน 3 ของญี่ปุ่น พร้อมทั้งซื้อตัวอดุล หละโสะ นักเตะไทยชุดซีเกมส์จากสโมสรฟุตบอลชลบุรีไปร่วมทีม

ปี พ.ศ. 2552 วิทยา กลับมารับตำแหน่งประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคของสโมสรชลบุรีเอฟซี และรับตำแหน่งผู้จัดการทีม ในฤดูกาล 2554

ปี พ.ศ. 2559 วิทยา ได้รับตำแหน่งอุปนายกฝ่ายพัฒนาเทคนิคของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

รางวัลในฐานะนักเตะ

แก้

รางวัลส่วนบุคคล

แก้

รางวัลร่วมกับทีม

แก้
  • แชมป์ซีเกมส์: ปี 2520 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
  • แชมป์ซีเกมส์ (กัปตันทีม) : ปี 2528 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
  • แชมป์ลีก Oberliga Südwest เยอรมัน : ปี 2526 (สโมสรซาร์บรุ๊คเคน)

รางวัลในฐานะผู้จัดการทีม

แก้

รางวัลส่วนบุคคล

แก้

รางวัลร่วมกับทีม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้