ไทยเอฟเอคัพ

(เปลี่ยนทางจาก ไทยคม เอฟเอคัพ)

ไทยเอฟเอคัพ (อังกฤษ: Thai FA Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลถ้วยระดับสูงในประเทศไทย จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มแข่งขันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 และพักการแข่งขันไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาคมฯ กลับมาจัดแข่งขันอีกครั้ง ปัจจุบัน (ตั้งแต่ฤดูกาล 2558) เปลี่ยนผู้สนับสนุนหลัก จากมูลนิธิไทยคม มาเป็นบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องดื่มตราช้าง จึงมีชื่อเรียกว่า ช้าง เอฟเอคัพ รูปแบบการแข่งขันเป็นระบบแพ้คัดออก (Knock-out) โดยกำหนดสัดส่วนของสโมสรฟุตบอลที่เข้าแข่งขัน ตามระดับชั้นของลีกที่ลงแข่งขันในฤดูกาลนั้น ทั้งนี้สโมสรที่ชนะเลิศ จะได้สิทธิเข้าแข่งขัน รายการเอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีก รอบแบ่งกลุ่ม

ไทยเอฟเอคัพ
ผู้จัดสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ก่อตั้งพ.ศ. 2517
ภูมิภาคไทย ไทย
จำนวนทีม94 (2564–65)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด (สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (6 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์เอไอเอส เพลย์, ทีสปอร์ต
เว็บไซต์www.thaileague.co.th
ช้าง เอฟเอคัพ 2566–67

ประวัติการแข่งขัน

แก้
 
นัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลเอฟเอ คัพ มักจะเตะที่สนามศุภชลาศัย เป็นสนามหลักจนถึงปี พ.ศ. 2561

การแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพของประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นดำริของ สุชาติ มุทุกันต์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและสภากรรมการของสมาคมฟุตบอลฯ (ในขณะนั้น)[1] โดยนำตัวอย่างจากการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพของอังกฤษ โดยยุคก่อนที่จะมีฟุตบอลลีกของไทย ทางสมาคมฯ จะเปิดรับสมัครทีมฟุตบอลมาเข้าร่วมแข่งขันร่วมกับทีมฟุตบอลที่ลงทำการแข่งขันในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน จนเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก (เริ่มแข่งขันในปี พ.ศ. 2539) และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 (เริ่มแข่งขันในปี พ.ศ. 2540) ก็มีการจำกัดจำนวนทีม โดยนำทีมจากไทยลีก และ ดิวิชั่น 1 แข่งขันร่วมกับ 4 ทีมที่เข้ารอบรองชนะเลิศ ถ้วย ข. และ ถ้วย ค. และทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศ ถ้วย ง. ลงทำการแข่งขัน[2] จนเมื่อในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้หยุดจัดการแข่งขันเนื่องจากขาดงบประมาณและกระแสความนิยมของฟุตบอลไทยในเวลานั้น

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ก็ได้รื้อฟื้นการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ ของไทยขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีมูลนิธิไทยคมเป็นผู้สนับสนุน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนในปี พ.ศ. 2558 เป็นไทยเบฟเวอเรจ ในนามเครื่องดื่มตราช้าง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การเข้าร่วมแข่งขันในรายการสำคัญ

แก้

ฟุตบอลในระดับสโมสรเอเชีย

แก้

ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2543 ทีมที่ชนะเลิศเอฟเอคัพ จะได้เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนคัพวินเนอร์คัพในฐานะตัวแทนประเทศไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ที่มีการรื้อฟื้นการแข่งขันเอฟเอคัพขึ้นใหม่ ทีมทที่ชนะเลิศจะได้เข้าร่วมการแข่งขันเอเอฟซีคัพ จนถึงปี พ.ศ. 2554 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทีมที่ชนะเลิศรายการนี้ได้สิทธิเข้าแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลถัดไป โดยเดิมจะต้องเข้าแข่งขันในรอบคัดเลือกรอบสองก่อน แต่ตั้งแต่ฤดูกาล 2563-64 จะได้เข้าแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มโดยทันที

ไทยแลนด์ แชมเปียนส์ คัพ

แก้

ทีมที่ชนะเลิศเอฟเอคัพจะผ่านเข้าไปเล่นในรายการไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพในฤดูกาลถัดไป ซึ่งเป็นรายการฟุตบอลประเพณีก่อนเปิดฤดูกาล โดยจะทำการแข่งขันนัดเดียวกับทีมชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา (หากในกรณีที่ทีมชนะเลิศไทยลีกและเอฟเอคัพเป็นทีมเดียวกัน ก็จะยกสิทธิ์การแข่งขันนี้ให้กับทีมรองชนะเลิศไทยลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา)

ผู้สนับสนุน

แก้
ช่วงเวลา ผู้สนับสนุน ชื่อรายการ
พ.ศ. 2535–2537   ยูคอม ยูคอม เอฟเอ คัพ
พ.ศ. 2539–2540   สิงห์ สิงห์ เอฟเอ คัพ
2541 ไม่มีผู้สนับสนุน เอฟเอ ซุปเปอร์ คัพ
2542   ฮอนด้า ฮอนด้า เอฟเอ คัพ
พ.ศ. 2552–2557   ไทยคม มูลนิธิไทยคม เอฟเอ คัพ
พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน   ช้าง ช้าง เอฟเอ คัพ

ทีมที่ชนะเลิศ

แก้
ปี ชนะเลิศ ผลการแข่งขัน รองชนะเลิศ สนามแข่งขัน
2517 ราชวิถี 1–0 ธนาคารกรุงเทพ สนามศุภชลาศัย
2518 ราชวิถี 3–0 ทหารอากาศ สนามศุภชลาศัย
2519 ราชประชา1 3-2 ราชวิถี สนามศุภชลาศัย
2520 ราชประชา1 2–1 ทหารอากาศ สนามศุภชลาศัย
2521–22 ไม่มีการแข่งขัน
2523 ธนาคารกรุงเทพ 2–0 ราชประชา1 สนามศุภชลาศัย
2524 ธนาคารกรุงเทพ 0–0 ดอนมูล สนามศุภชลาศัย
ธนาคารกรุงเทพ และ ดอนมูล (ครองแชมป์ร่วมกัน)
2525 การท่าเรือฯ 1–0 ธนาคารกรุงเทพ สนามศุภชลาศัย
2526 ไทยน้ำทิพย์ 1–0[3] ทหารอากาศ สนามกีฬากองทัพบก
2527 ราชประชา 2–0 ไทยน้ำทิพย์ สนามศุภชลาศัย
2528–35 ไม่มีการแข่งขัน
2536 องค์การโทรศัพท์ฯ 2–0 โอสถสภา สนามกีฬาธูปะเตมีย์
2537 ราชประชา 2-1 การท่าเรือฯ สนามศุภชลาศัย
2538 ไม่มีการแข่งขัน
2539 ทหารอากาศ 4-2 ราชประชา สนามศุภชลาศัย
2540 สินธนา 2-0 ทหารอากาศ สนามศุภชลาศัย
2541 ธนาคารกรุงเทพ 2–1 โอสถสภา สนามศุภชลาศัย
2542 ธนาคารกสิกรไทย 1–0 ราชประชา สนามศุภชลาศัย
2543-2551 ไม่มีการแข่งขัน
2552 การท่าเรือไทย 1–1 หลังต่อเวลา
(5–4 จุดโทษ)
บีอีซี เทโรศาสน สนามศุภชลาศัย
2553 ชลบุรี 2–1 เมืองทอง ยูไนเต็ด สนามศุภชลาศัย
2554 บุรีรัมย์ พีอีเอ 1–0 เมืองทอง ยูไนเต็ด สนามศุภชลาศัย
2555 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2–1 อาร์มี่ ยูไนเต็ด สนามศุภชลาศัย
2556 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3–1 บางกอกกล๊าส สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต
2557 บางกอกกล๊าส 1–0 ชลบุรี สนามศุภชลาศัย
2558 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3–1 เมืองทอง ยูไนเต็ด สนามศุภชลาศัย
2559 ชลบุรี, ชัยนาท ฮอร์นบิล, ราชบุรี มิตรผล และ สุโขทัย (ครองแชมป์ร่วมกัน)
2560 เชียงราย ยูไนเต็ด 4–2 แบงค็อก ยูไนเต็ด สนามศุภชลาศัย
2561 เชียงราย ยูไนเต็ด 3–2 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สนามศุภชลาศัย
2562 การท่าเรือ 1–0 ราชบุรี มิตรผล บีจี สเตเดียม
2563–64 สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด 1–1 หลังต่อเวลา
(4–3 จุดโทษ)
ชลบุรี เอฟซี สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต
2564–65 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1–0 นครราชสีมา มาสด้า สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต
2565–66 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2–0 ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต
2566-67 ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด 1–1 หลังต่อเวลา
(4–1 จุดโทษ)
ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี ดราก้อน โซลาร์ พาร์ค สเตเดียม

1ส่งแข่งในนาม ทีมมูลนิธิพัฒนาเยาวชน

สถิติของการแข่งขัน

แก้

ทำเนียบผู้ชนะเลิศจำแนกตามสโมสร

แก้
สโมสร ชนะเลิศ
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 6 (25544, 2555, 2556, 2558, 2564–65, 2565–66)
ราชประชา 4 (25192, 25202, 2527, 2537)
ธนาคารกรุงเทพ 3 (2523, 25241, 2541)
การท่าเรือ 3 (2525, 25523, 2562)
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด 3 (2560, 2561, 2563–64)
ราชวิถี 2 (2517, 2518)
ชลบุรี 2 (2553, 25591)
ดอนมูล 1 (25241)
ไทยน้ำทิพย์ 1 (2526)
องค์การโทรศัพท์ฯ 1 (2536)
ทหารอากาศ 1 (2539)
สินธนา 1 (2540)
ธนาคารกสิกรไทย 1 (2542)
บางกอกกล๊าส 1 (2557)
สุโขทัย 1 (25591)
ชัยนาท ฮอร์นบิล 1 (25591)
ราชบุรี มิตรผล 1 (25591)
ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด 1 (2566–67)

1ชนะเลิศร่วมกัน

2ส่งแข่งในนาม ทีมมูลนิธิพัฒนาเยาวชน

3ส่งแข่งในนาม การท่าเรือไทย เอฟซี

4ส่งแข่งในนาม บุรีรัมย์ พีอีเอ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้