แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

(เปลี่ยนทางจาก เอไอเอส)

แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (อังกฤษ: Advanced Info Service) หรือเรียกโดยย่อว่า เอไอเอส (อังกฤษ: AIS) เป็นบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศตามจำนวนผู้ใช้งาน[4] มีสถานะเป็นบริษัทในเครือของอินทัช โฮลดิ้งส์ โดยใน ปี พ.ศ. 2563 เอไอเอสถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงเป็นอันดับสี่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Sarayut Laklang

บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:ADVANC
ISINTH0268010Z11 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ก่อตั้ง24 เมษายน พ.ศ. 2529 (37 ปี)
ผู้ก่อตั้งทักษิณ ชินวัตร
สำนักงานใหญ่อาคาร เอไอเอส ทาวเวอร์ 1, 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
กานต์ ตระกูลฮุน (ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ)
สมประสงค์ บุญยะชัย (รองประธานกรรมการ)
ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต
เครือข่าย 3G, 4G (LTE) และ 5G (LTE-U)
รายได้ลดลง 173,650 ล้านบาท (2563)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 350,170.58ล้านบาท (2563)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 75,563.98 ล้านบาท (2563)[1]
พนักงาน
14,103 คน (2563) [2]
บริษัทแม่อินทัช โฮลดิ้งส์
อันดับความน่าเชื่อถือFitch: AA+(tha)[3]
เว็บไซต์www.ais.th

ประวัติ แก้

 
เครื่องหมายการค้าแบบเดิม
 
เอไอเอส ช็อป สาขาไอคอนสยาม

เริ่มแรกจดทะเบียนก่อตั้งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2529 [5] เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยเอไอเอสทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการโครงการบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ เป็นระยะเวลา 20 ปี ถึง พ.ศ. 2553

เอไอเอสเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในชื่อ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หลังจากนั้นบริษัทขยายกิจการโดยการเข้าซื้อกิจการในเครือชินวัตร เช่น ชินวัตร ดาต้าคอม (ปัจจุบันคือ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวิร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด), ชินวัตร เพจจิ้ง เป็นต้น บริษัทเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบจีเอสเอ็ม ในชื่อ Digital GSM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้ขยายเวลาร่วมสัญญาเป็น 21 ปี (หมดสัญญาปี พ.ศ. 2558) เมื่อ พ.ศ. 2539

เอไอเอสได้ว่าจ้างบริษัท พีอี แอนด์ พีเทค จำกัด ผลิตน้ำดื่มตราเอไอเอส สำหรับลูกค้าที่มารับบริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ที่เอไอเอส ช็อปและว่าจ้างบริษัท ​ทาโก ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด ผลิตน้ำดื่มตรา เซเรเนด สำหรับบริการลูกค้าเซเรเนด

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558 เอไอเอสได้เปิดตัว เอไอเอสไฟเบอร์ (AIS Fibre) เน็ตบ้านความเร็วสูง และเปิดตัว เอไอเอสเพลย์บ๊อกซ์ (AIS Play Box) กล่องรับสัญญาณผ่านอินเทอร์เน็ต[6]

พ.ศ. 2559 เอไอเอสได้เปิดตัว เอไอเอสเพลย์ (AIS Play) แอพสื่อสตรีมมิง[7]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เอไอเอสเปิดร้าน Aunjai with you ที่สถานีสยาม จำหน่ายตุ๊กตา เสื้อผ้า รองเท้า ปากกา หมวก ถุงผ้า สมุดจดบันทึก และพวงกุญแจ

วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เอไอเอสได้รับการแต่งตั้งจากแผนกจำหน่ายสื่อและความบันเทิงของเดอะวอลต์ดิสนีย์ ให้เป็นผู้ให้บริการสตรีมมิงวีดิทัศน์ตามคำขอแบบบอกรับสมาชิกระดับโลก ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ ในประเทศไทยเพียงรายเดียว โดยเริ่มให้บริการในวันที่ 30 มิถุนายน[8]

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เอไอเอสได้ซื้อหุ้นของ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ 3BB[9] และได้เปิดตัว เอไอเอส-ทรีบีบี ไฟเบอร์ทรี (AIS-3BB Fibre 3) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา[10]

บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ แก้

  • ระบบ 3G
    • บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ แบ่งตามวิธีการชำระเงินเป็น 2 ประเภทคือ ชำระค่าบริการเป็นรายเดือน มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส 3 จี" และ ชำระค่าบริการด้วยการเติมเงิน มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส 3 จี วันทูคอล (AIS 3G One-2-Call) "
  • ระบบ 4G
    • บนคลื่นความถี่ 900, 1800, 2100 และ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ ด้วยเทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ 3 ซีเอ มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส 4 จี แอดวานซ์ (AIS 4G Advanced)"
    • มีการนำคลื่นความถี่ 1800 และ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ มารวมกันโดยใช้เทคโนโลยี (2CA) Carrier Aggregation, 4x4MIMO, DL256QAM/UL64QAM
  • ระบบ 5G
    • บนคลื่นความถี่ 700, 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ และ 26 กิกะเฮิร์ตซ์

บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แก้

  • ระบบอินเทอร์เน็ต
    • เน็ตบ้านความเร็วสูง มีชื่อการค้าว่า "เอไอเอส-ทรีบีบี ไฟเบอร์ทรี (AIS-3BB Fibre 3)"
    • เน็ตบ้านผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานแบบ Narrow band (Dial-Up Modem) 56 kbps มีชื่อการค้าว่า "ซีเอส อินเทอร์เน็ต (CS Internet)" (ยกเลิกบริการแล้ว)
    • เน็ตบ้านและสำหรับองค์กรผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานแบบ ISDN 256 kbps -1,024 kbps มีชื่อการค้าว่า "ซีเอส ล็อกอินโฟร์ (CS Loxinfo)" (ปัจจุบันได้ยกเลิกบริการแล้ว และได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อบริษัท CSL แยกตัวออกไปทำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ Internet Data Center เน้นธุรกิจเชิงพาณิชย์)
  • สื่อสตรีมมิง
    • เอไอเอส เพลย์ (AIS Play) แอปพลิเคชัน
    • เอไอเอส เพลย์ บ๊อกซ์ (AIS Play Box) กล่องรับสัญญาณผ่านอินเทอร์เน็ต
    • ทรีบีบี กิกะทีวี (3BB Giga TV) กล่องรับสัญญาณผ่านอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชัน

คลื่นความถี่ที่ใช้งาน แก้

เอไอเอส ถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมดรวม 1450 MHz ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีคลื่นมากที่สุดในประเทศไทย[11] โดยในปัจจุบัน เอไอเอส ได้จัดสรรการให้บริการแต่ละคลื่นความถี่ดังต่อไปนี้

คลื่นความถี่ในการให้บริการของเอไอเอส
คลื่นความถี่ หมายเลขช่องสัญญาณ จำนวนคลื่นความถี่ เทคโนโลยี ประเภท สถานะบริการ เปิดให้บริการ ระยะเวลาดำเนินการ
2100 MHz 1 2x5 MHz UMTS/HSPA+ 3G กำลังให้บริการ 8 พ.ค. พ.ศ. 2556 สิ้นสุด พ.ศ. 2570 (ใบอนุญาต)
2x10 MHz LTE/LTE-U 4G 10 ธ.ค. พ.ศ. 2558
2x5 MHz UMTS/HSPA+ 3G 29 มี.ค. พ.ศ. 2560 สิ้นสุด พ.ศ. 2568 (สัญญาเช่าร่วมกับ NT ชื่อเดิมของ TOT Mobile
2x10 MHz LTE/LTE-U 4G มิ.ย. พ.ศ. 2562
1800 MHz 3 2x20 MHz LTE/LTE-U 4G 10 ธ.ค. พ.ศ. 2558 สิ้นสุด พ.ศ. 2576 (ใบอนุญาต)
900 MHz 8 2x10 MHz LTE ก.ค. พ.ศ. 2559 [12] สิ้นสุด พ.ศ. 2574 (ใบอนุญาต)
GiLTE GSM/GPRS/EDGE 2G 1 ต.ค. พ.ศ. 2533
2600 MHz 41/n41 100 MHz TD-LTE with Intraband 5CA & Massive MIMO,
and 5GNR with DSS technology
4G, 5G 21 ก.พ. พ.ศ. 2563[13] สิ้นสุด พ.ศ. 2578 (ใบอนุญาต)
700 MHz n28 2x20 MHz LTE/LTE-U/5GNR 5G 13 ม.ค. พ.ศ. 2564
(เพิ่มเติม พ.ศ. 2566)
สิ้นสุด พ.ศ. 2579 (ใบอนุญาต)
26000 MHz (26GHz) n258 1200 MHz 5GNR 5G กำลังให้บริการ 15 ก.พ. พ.ศ. 2564 สิ้นสุด พ.ศ. 2579 (ใบอนุญาต)
หมายเหตุ
  • เอไอเอส ให้บริการ 4G 900 MHz เต็มความถี่ 10 MHz เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวบางจังหวัด เช่น เชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ภูเก็ต และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นให้บริการเฉพาะ 2G 900 MHz เต็มความถี่
  • เอไอเอส ทำสัญญาเช่าคลื่นความถี่ 2100 MHz กับ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสท. โทรคมนาคม) โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เพื่อขยายแบนวิธให้เพิ่มมากขึ้นกับ 3G และ 4G ส่งผลให้มือถือบางรุ่นมีการเปลี่ยนชื่อสัญญาณจาก AIS เป็น AIS-T ในบางพื้นที่
  • เอไอเอส โดย เอดับบลิวเอ็น ทำสัญญารับโอนคลื่นความถี่ 700 MHz จากโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสท. โทรคมนาคม) จำนวน 5x2 MHz ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 และกำหนดเปิดใช้งานภายในปี พ.ศ. 2566 ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เอไอเอสจะมีคลื่น 700 MHz ทั้งหมด 20x2 MHz และทั้งหมดจะสิ้นสุดลงพร้อมกันใน พ.ศ. 2579[14]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แก้

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น[15] จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 1,202,712,000 40.45%
2 SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD. 693,359,000 23.32%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 178,224,148 5.99%
4 สำนักงานประกันสังคม 92,455,400 3.11%
5 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 49,202,633 1.65%

กรณีอื้อฉาว แก้

เดือนพฤษภาคม 2563 พบว่าเอไอเอสทำข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตรั่วไหลซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจาก Domain Name System (DNS queries) และข้อมูลจราจรบนเครือข่าย (Netflow data) จำนวน 8.3 พันล้านรายการ ซึ่งเป็นข้อมูลบอกพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ ด้านตัวแทนบริษัทออกมาชี้แจงว่า "ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่มีลูกค้ารายใดได้รับผลกระทบทั้งด้านการเงินและด้านอื่น ๆ อย่างแน่นอน"[16]

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 การแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 ระหว่างสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด พบกับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ที่จัดขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถาน ซึ่งเอไอเอสได้รับลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดในประเทศไทย โดยนำไปถ่ายทอดสดผ่านทางช่องทางเอไอเอสเพลย์[17] แต่การถ่ายทอดสด ผู้ใช้งานไม่สามารถรับชมได้ทั้งจากทางแอปพลิเคชันและเว็บไซต์[18] เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้เอไอเอสออกแถลงการณ์ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชดเชยความเสียหายต่อผู้ใช้งาน[19]

รางวัล แก้

ปี รางวัล สาขา เสนอชื่อเข้าชิง ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[20] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม AIS ชนะ
Best Brand Performance by Pantip สาขา Fast Response ชนะ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ เก็บถาวร 2021-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. รายงานประจำปี 2563 เก็บถาวร 2014-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นักลงทุนสัมพันธ์ - ทรู 4G
  3. อันดับเครดิต เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
  5. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2546 บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
  6. AIS เปิดตัว AIS Fibre บรอดแบรนด์อินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุดในโลก ความเร็วสูงสุด 1Gb ราคาเริ่มต้น 590 บาท
  7. "AIS เปิดตัว AIS PLAY ดูหนัง-ดูละคร-ดูบอลพรีเมียร์ฯ สะดวกทุกที่ทุกเวลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2023-12-14.
  8. อีไฟแนนซ์ไทย, สำนักข่าว (2021-06-08). "ADVANC พร้อมให้บริการ Disney+ 30 มิ.ย.นี้ ค่าสมาชิกเพียง 35บ./เดือน". efinancethai.com. สืบค้นเมื่อ 2021-06-15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. AIS ปิดดีล ซื้อหุ้น 3BB และหน่วยลงทุน JASIF เสร็จสมบูรณ์ มูลค่ารวม 28,371 ล้านบาท
  10. AIS เปิดตัวแบรนด์ AIS – 3BB FIBRE 3 หลังควบรวมสำเร็จ ชูเบอร์ 1 ลูกค้า ย้ำการแข่งขันยังมีเหมือนเดิม
  11. AIS แถลง มีคลื่นเยอะที่สุดในไทย รวมกัน 1420MHz ทิ้งห่างอันดับสองเกือบ 1.5 เท่า
  12. "จบการประมูล ! AIS คว้าคลื่น 900 MHz ด้วยราคา 75,806 ล้านบาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-28. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
  13. AIS, dtac จ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 5G งวดแรก, AIS เปิดบริการ 5G 2600MHz วันนี้เลย
  14. “กสทช.” ไฟเขียวเอ็นทีโอนคลื่น 700 ให้เอไอเอส หลังประมูลมายังไม่ได้ใช้งาน
  15. ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์[ลิงก์เสีย]
  16. "เอไอเอสแจง ข้อมูลลูกค้าที่รั่วไหล "ไม่ใช่ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหาย"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
  17. "AIS ยัน AIS PLAY พร้อม!! ถ่ายทอดสด แมนยูฯ ปะทะ ลิเวอร์พูล". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-07-10.
  18. "ชาวโซเชียลเกรี้ยวกราด! AIS PLAY ล่ม! แฟนบอลชวดดูสด 'แมนฯ ยู VS ลิเวอร์พูล'". มติชน. 2022-07-12.
  19. "AIS ประกาศมาตรการชดเชยลูกค้าหลังการถ่ายทอดสด 'แมนฯ ยู VS ลิเวอร์พูล' มีปัญหา". มติชน. 2022-07-12.
  20. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้