ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564

ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564 (หรือ ไดกิ้นไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ[1] ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน) เป็นการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างทีมชนะเลิศไทยลีกฤดูกาลที่ผ่านมาอย่างบีจี ปทุม ยูไนเต็ดกับทีมชนะเลิศช้างเอฟเอคัพฤดูกาลที่แล้วอย่างสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด[2] บีจี ปทุมเข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นครั้งแรก หลังจากที่พวกเขาเคยแพ้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดในการแข่งขันชื่อเดิมอย่างฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ในปี 2558 ในขณะที่สิงห์ เชียงรายซึ่งเป็นแชมป์เก่า เข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน โดยในครั้งล่าสุด พวกเขาเอาชนะการท่าเรือ 2–0 เกมจะแข่งขันแบบไม่มีผู้ชมในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่[2][3] และจะถ่ายทอดสดทางททบ. 5 และเอไอเอสเพลย์[3]

ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564
วันที่1 กันยายน 2564
18:00
สนามสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี,
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ตัดสินวิวรรธน์ จำปาอ่อน
2563
2565

สนามแข่งขัน แก้

 
สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามแข่งขันในครั้งนี้

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถใช้สนามแข่งขันที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามที่ ศบค. ประกาศได้ ในตอนแรก มีแผนจะแข่งขันกันที่เขากระโดง สเตเดียมในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ควบคุมสูงสุด แต่ต่อมาได้เปลี่ยนไปแข่งขันที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อความสะดวกในการเดินทางของทั้งสองสโมสร[2] นับเป็นครั้งแรกของรายการที่จัดการแข่งขันนอกกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ปัจจุบันสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีเป็นสนามเหย้าของเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ในอดีต เคยเป็นสนามเหย้าของเชียงใหม่ เอฟซีและทีทีเอ็ม เชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังเคยเป็นสนามหลักในซีเกมส์ 1995 ที่เชียงใหม่เป็นเจ้าภาพ และเคยใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลบางนัดในเอเชียนเกมส์ 1998 เดิมทีสนามแห่งนี้เคยจะใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 แต่ได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากแผนการปรับปรุงสนามล่าช้า[4]

ภูมิหลัง แก้

สโมสร การเข้ารอบ การแข่งขันครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาคือชนะเลิศ)
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 ไม่เคย
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ชนะเลิศช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 3 (2561, 2562, 2563)
 
ฉัตรชัย บุตรพรม เป็นผู้เล่นที่เคยลงเล่นให้แก่ทั้งสองสโมสร เขาเคยเป็นผู้เล่นของเชียงรายในชุดชนะเลิศลีกคัพ 2561 เหนือบีจี ปทุม และเป็นผู้เล่นของบีจี ปทุมในชุดชนะเลิศไทยลีกฤดูกาลที่ผ่านมา

บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 หลังจากที่เปิดสนามลีโอสเตเดียมชนะสุโขทัย 2–0 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ทำให้บีจี ปทุม ยูไนเต็ดมีคะแนนห่างจากอันดับสอง ณ ขณะนั้นอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดถึง 19 คะแนน จึงทำให้บีจี ปทุม ยูไนเต็ดเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันไทยลีกฤดูกาลนั้น ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีก 6 นัด นับเป็นการชนะเลิศครั้งแรกของสโมสรและเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย[5] นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรกของไทยที่เคยตกชั้น แล้วกลับมาชนะเลิศลีกสูงสุดได้สำเร็จอีกด้วย[6] บีจี ปทุม ยูไนเต็ดไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพมาก่อน แต่พวกเขาเคยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ในปี 2558 จากการเป็นผู้ชนะเลิศไทยเอฟเอคัพในฤดูกาลก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม พวกเขาพลาดโอกาสคว้าแชมป์รายการแรกของฤดูกาลหลังจากที่แพ้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ผู้ชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่แล้ว ด้วยผล 0–1[7]

สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ชนะเลิศช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 ด้วยการดวลจุดโทษชนะชลบุรี 4–3 หลังจากที่เสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1–1 ในรอบชิงชนะเลิศที่ทรูสเตเดียม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564 ทำให้สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดชนะเลิศไทยเอฟเอคัพเป็นสมัยที่ 3 จาก 4 ปีหลังสุด[8] สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดจะเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพเป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน โดย 3 ครั้งก่อนหน้านี้ พวกเขาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดในปี 2561[9] แต่ก็ถูกบุรีรัมย์ล้างแค้นได้ในปี 2562[10] ก่อนที่จะชนะการท่าเรือในปี 2563[11]

ทั้งสองทีมเคยพบกันในนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลถ้วยในประเทศมาแล้วหนึ่งครั้งในโตโยต้า ลีกคัพ 2561 ซึ่งสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูชัยของวิลเลียม เอนรีเก นับเป็นแชมป์ไทยลีกคัพสมัยแรกของสโมสร ส่วนบีจี ปทุม ยูไนเต็ดเกือบได้ประตูตีเสมอจากลูกโทษของอาเรียล โรดรีเกซ แต่ถูกฉัตรชัย บุตรพรมเซฟได้[12]

การแข่งขัน แก้

รายละเอียด แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
 
 
 
 
 
 
 
 
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
GK 1   ฉัตรชัย บุตรพรม
LB 39   ยอดรัก นาเมืองรักษ์
CB 5   วิกตูร์ การ์ดูซู (c)
RB 17   อิรฟาน ฟานดี   57'
LM 13   เอร์เนสโต ภูมิภา   31'   59'
CM 27   เควิน อินเกรโซ   73'
CM 6   สารัช อยู่เย็น
RM 23   สันติภาพ จันทร์หง่อม   73'
CF 11   สุมัญญา ปุริสาย   77'
LS 7   จีโอกู   90+4'
RS 10   ธีรศิลป์ แดงดา   59'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 40   กรพัฒน์ นารีจันทร์
DF 16   จักพัน ไพรสุวรรณ
MF 4   เชาว์วัฒน์ วีระชาติ   86'   72'
MF 18   ปฐมพล เจริญรัตนาภิรมย์   90+1'   77'
MF 24   ฉัตรมงคล ทองคีรี
FW 9   สุรชาติ สารีพิมพ์   73'
FW 19   เจนรบ สำเภาดี
FW 29   ชาตรี ฉิมทะเล   59'
FW 88   เรียว มัตสึมูระ   87'   59'
ผู้จัดการทีม:
  ออเรลิโอ วิดมาร์
 
GK 22   อภิรักษ์ วรวงษ์
LB 3   ธนะศักดิ์ ศรีใส (c)   89'
CB 5   บรีเนร์ เอ็งรีกี   17'
RB 33   ศราวุฒิ อินทร์แป้น
LM 30   สุริยา สิงห์มุ้ย   16'   70'
CM 6   พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล
CM 8   โช จี-ฮุน   70'
RM 2   วสันต์ ฮมแสน
CF 10   ศิวกรณ์ เตียตระกูล   89'
LS 37   เอกนิษฐ์ ปัญญา   23'
RS 9   โรซีมาร์ อามังซียู   45+4'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 1   สรานนท์ อนุอินทร์
DF 36   ชินภัทร ลีเอาะ   23'
DF 46   ภราดร พัฒนะพล
MF 14   ศนุกรานต์ ถิ่นจอม   70'
MF 15   ณัฐวุฒิ เจริญบุตร
MF 27   จอนาตา แวร์ซูรา   70'
FW 7   ฟีลีปี ดา ซิลวา
FW 16   อัครวินทร์ สวัสดี   89'
FW 17   สมคิด ชำนาญศิลป์   89'
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
  เอแมร์ซง ปาไรรา

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ราเชนทร์ ศรีชัย
วรพงษ์ ประเสริฐศรี
ผู้ตัดสินที่สี่:
นที ชูสุวรรณ
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอคนที่ 1:
ต่อพงษ์ สมสิงห์
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอคนที่ 2:
ราชันย์ ดาวังป่า
ผู้ควบคุมการแข่งขัน:
ขจร ศรีโสภณากร
ผู้ประเมินผู้ตัดสิน:
ปรีชา กางรัมย์

กติกาการแข่งขัน[3]

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกโทษ หากยังเสมอกันในเวลา
  • ส่งชื่อผู้เล่นสำรองได้เก้าคน
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นสูงสุดได้หกคน

อ้างอิง แก้

  1. "ไทยลีก แจ้งปฏิทินการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ฤดูกาล 2021/22". Thaileague.co.th. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 "แอ่วเหนือ! ศึกแชมป์ชนแชมป์ "บีจี-เชียงราย" บู๊ถิ่นเชียงใหม่ 1 ก.ย.นี้". สืบค้นเมื่อ 23 August 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 "สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด แถลงข่าวก่อนการแข่งขัน ไดกิ้น ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนส์ คัพ 2021". สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
  4. แนะส่งมาตรฐานการสร้างสนามฟุตบอลให้ ‘สมาคมสถาปนิกสยาม’ ศึกแนวทางแก้ไขรองรับทัวร์นาเมนต์ใหญ่ในอนาคต
  5. ""บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" คว้าแชมป์ไทยลีกเร็วสุดในประวัติศาสตร์". สำนักข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  6. "9 ข้อต้องรู้! ความเป็น "ที่สุด" ของ บีจี ปทุมฯ กับแชมป์ไทยลีกประวัติศาสตร์". สยามสปอร์ต. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  7. "บุรีรัมย์อัดบีจี 1-0 คว้าแชมป์ถ้วย ก." เอ็มเอมเอมสปอร์ต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
  8. "เชียงราย แม่นโทษดับ ชลบุรี 5-4 ผงาดแชมป์ช้าง เอฟเอ คัพ สมัย 3". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
  9. "90 นาทีเจ๊า 2-2! เชียงรายดวลจุดโทษเฉือนชนะบุรีรัมย์ 6-5". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
  10. "ใจเด็ดเบิ้ล! บุรีรัมย์แซงดับเชียงราย 3-1". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
  11. "เชียงรายรัวครึ่งหลัง ทุบการท่าเรือ 2-0 ผงาดแชมเปียนส์ คัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
  12. "'เชียงราย' เฉือน 'บางกอกกล๊าส' 1-0 ซิวแชมป์ลีกคัพ 2018". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.