สารัช อยู่เย็น
สิบตำรวจตรี สารัช อยู่เย็น เป็นนักฟุตบอลชาวไทยในตำแหน่งกองกลาง และเป็นกัปตันทีมให้กับรีโนฟา ยามางูจิ ในเจลีก ดิวิชัน 2 (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด) และทีมชาติไทย
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
วันเกิด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 | ||
สถานที่เกิด | จังหวัดสงขลา ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.68 m (5 ft 6 in) | ||
ตำแหน่ง | กองกลาง | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | รีโนฟา ยามางูจิ (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด) | ||
หมายเลข | 4 | ||
สโมสรเยาวชน | |||
2008-2010 | โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี | ||
2010 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2010–2020 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | 162 | (9) |
2012 | → ภูเก็ต (ยืมตัว) | 26 | (6) |
2013 | → นครราชสีมา (ยืมตัว) | 13 | (2) |
2020– | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | 107 | (6) |
2024– | → รีโนฟา ยามางูจิ (ยืมตัว) | 1 | (0) |
ทีมชาติ‡ | |||
2007–2009 | ไทย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี | 18 | (2) |
2009–2010 | ไทย รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี | 15 | (5) |
2011–2015 | ไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี | 15 | (1) |
2013– | ไทย | 83 | (6) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2024 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2023 |
สารัชมาจากทีมเยาวชนของเมืองทอง ยูไนเต็ด โดยก่อนหน้านี้เคยเล่นให้กับโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ต่อมาเขาได้เริ่มต้นระดับอาชีพกับเมืองทอง โดยมีช่วงที่ถูกปล่อยยืมตัวให้กับภูเก็ตและนครราชสีมา หลังจากนั้นเขาได้กลับสู่ต้นสังกัด และมีส่วนช่วยให้เมืองทองคว้าแชมป์ไทยลีกในฤดูกาล 2559 ต่อมาในฤดูกาล 2561 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกัปตันของสโมสร
สารัชเคยเล่นให้กับทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 17, 19 และ 23 ปี เขาได้ลงเล่นให้กับทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2556 และเป็นตัวแทนของชาติในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนในปี 2014, 2016, 2020 และ 2022 ตามลำดับ
ประวัติ
แก้สารัช อยู่เย็น (ชื่อเล่น: ตังค์) เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดสงขลา เริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลเจริญพงษ์ สมุทรปราการ ก่อนที่จะย้ายเข้าไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการในระดับชั้นประถมศึกษา จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา และศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ก่อนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สารัชเริ่มเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่อายุ 7 ปี โดยเล่นเพื่อความสนุกสนานกับพ่อและเพื่อน ๆ และได้ตามไปดูพ่อเล่นฟุตบอลบ่อยครั้งจนทำให้เขาเริ่มลงสนามฝึกซ้อมอย่างจริงจังตอนอายุ 10 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ โดยมีมาสเซอร์ นฤพล มาฬมงคล เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก
สโมสรอาชีพ
แก้เส้นทางฟุตบอลอาชีพของเขานั้นเริ่มต้นขึ้นขณะที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ช่วงใกล้ที่จะเรียนจะจบได้มีโอกาสเข้ามาเป็นนักเตะเยาวชนของเมืองทอง ยูไนเต็ด เงินเดือนที่ได้รับครั้งแรกกับอาชีพนักฟุตบอลคือ 15,000 บาท ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่เขาเป็นเด็กเยาวชนของสโมสรเมืองทองนั้นได้ถูกคาดหวังจากทางผู้ฝึกสอนว่าจะได้เป็นกำลังหลักของสโมสรเมืองทองในภายภาคหน้าด้วยเหตุผลนี้ทำให้ทางเมืองทอง ยูไนเต็ด ส่งตัวเขาไปเก็บประสบการณ์กับทีมต่าง ๆ อาทิเช่น ภูเก็ต และ นครราชสีมา ในที่สุดเขาก็กลับมาเป็นตัวหลักให้เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้อย่างดีเยี่ยม
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ในเกมไทยลีก ฤดูกาล 2560 พบกับสุโขทัย สารัชได้รับอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า ซึ่งกระดูกด้านนอกหัก ทำให้ต้องพักรักษาตัวเป็นเวลา 8 เดือน[1] ต่อมาในฤดูกาล 2561 สารัชได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกัปตันของสโมสร แทนที่ธีรศิลป์ แดงดา ที่ย้ายไปเล่นให้กับซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ แบบยืมตัว[2] ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สารัชได้ลงเล่นให้กับสโมสรครบ 100 นัดในนัดที่เมืองทองเปิดบ้านพ่ายแพ้ต่อพีที ประจวบ 1–2[3]
ทีมชาติ
แก้ในนามทีมชาติ สารัชได้ติดทีมชาติไทยในชุดเยาวชนทุกชุด และเข้าสู่อายุ 19 ปี สารัชก็ติดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ในขณะที่ถูกยืมตัวไปเป็นผู้เล่นให้กับภูเก็ต โดยมีประพล พงษ์พานิช เป็นผู้ควบคุมทีมชาติในขณะนั้น ผลงานของสารัชในนามทีมชาติไทยมีชื่อติดเรื่อยมา จนปี พ.ศ. 2556 ก็สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอล แม่โขง คัพ แต่สารัชไม่มีชื่อติดในทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศเมียนมาร์ และในปีนั้นสารัชได้สร้างผลงานให้กับนครราชสีมา ได้อย่างยอดเยี่ยมจนเป็นที่รักใคร่ของแฟนบอลชาวนครราชสีมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 สารัชเข้าสู่ทีมชาติไทยชุดเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ หลังจากมีผลงานที่ดีกับเมืองทอง ยูไนเต็ด จน เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เรียกเข้าไปติดทีมชาติและได้พาทีมชาติไทยสร้างประวัติศาสตร์เข้าสู่รอบสี่ทีมสุดท้ายอีกครั้ง ในปลายปีเดียวกัน ในการแข่งขันเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 สารัชก็ร่วมเป็นหนึ่งในทีมชาติสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้
สถิติอาชีพ
แก้ทีมชาติ
แก้- ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562[4]
ทีมชาติ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|
ไทย | 2556 | 1 | 0 |
2557 | 10 | 0 | |
2558 | 9 | 0 | |
2559 | 15 | 0 | |
2561 | 1 | 0 | |
2562 | 9 | 0 | |
ชุดใหญ่หมด | 45 | 0 |
ประตูในนามทีมชาติ
แก้- รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
# | วันที่ | สนาม | คู่แข่ง | ประตู | ผล | รายการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 4 มิถุนายน 2558 | บิชาน สิงคโปร์ | มาเลเซีย | 1–0 | 1–0 | ซีเกมส์ 2015 |
ชุดใหญ่
แก้# | วันที่ | สนาม | พบ | ประตู | ผล | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 1 มกราคม 2565 | สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์, กัลลัง, สิงค์โปร์ | อินโดนีเซีย | 2–1 | 2–2 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 |
2. | 8 มิถุนายน 2565 | สนามกีฬามาร์กาซีย์, นามังแกน, อุซเบกิสถาน | มัลดีฟส์ | 1–0 | 3–0 | เอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3 |
3. | 11 ธันวาคม 2565 | สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต, ปทุมธานี, ไทย | พม่า | 4–0 | 6–0 | กระชับมิตร |
4. | 29 ธันวาคม 2565 | สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย | 1–1 | 1–1 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 |
5. | 13 มกราคม 2566 | สนามกีฬาแห่งชาติหมีดิ่ญ, ฮานอย, เวียดนาม | เวียดนาม | 2–1 | 2–2 | |
6. | 16 พฤศจิกายน 2566 | ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพ, ไทย | จีน | 1–0 | 1–2 | ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 |
เกียรติประวัติ
แก้สโมสร
แก้- เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- ไทยลีก (2): 2555, 2559
- ไทยลีกคัพ (2): 2559, 2560
- ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (1): 2560
- แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ (1): 2560
- บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
- ไทยลีก (1): 2563–64
- ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (1): 2565
ทีมชาติ
แก้- รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี
- รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี
- รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
- ไทย
รางวัลส่วนตัว
แก้- กองกลางยอดเยี่ยม ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน: 2559[6]
- ลูกยิงยอดเยี่ยมในไทยลีก: 2564–65 (ในนัดที่พบกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)[7]
ชีวิตส่วนตัวและวงการบันเทิง
แก้ในปี 2558 สารัชได้รับบทแสดงในมิวสิควีดิโอ "เชือกวิเศษ" ของวงลาบานูน คู่กับพัทธ์ธีรา ศรุติพงศ์โภคิน[8][9] ในด้านครอบครัว เขาสมรสกับทราภรณ์ เพ็ญประทุม หลังจากที่คบหาดูใจมาเป็นระยะเวลา 10 ปี[10] โดยมีบุตรชาย 1 คนมีชื่อเล่นว่าน้องตุลย์[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พักเกินครึ่งปี! แพทย์กิเลนเผยเตรียมผ่าตัดข้อเท้าสารัช". Goal Thailand. 18 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กัปตันตังค์! "กิเลนผยอง" ตั้ง "สารัช" สวมปลอกแขนกัปตันลุยไทยลีก 2018
- ↑ "สารัช"สุดปลื้มลงเล่นครบ100นัดให้เอสซีจี เมืองทองฯ
- ↑ "Sarach Yooyen". National-Football-Teams.com. National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
- ↑ 'อีเอสพีเอ็น' ยก 'สารัช' แข้งยอดเยี่ยมซีเกมส์ 2015
- ↑ สารัช อยู่เย็น กองกลางยอดเยี่ยมเอเอฟเอฟ ซูซูกิคัพ 2016
- ↑ "ผลการประกาศรางวัล 27 สาขา FA Thailand Awards 2021/22". 24 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2022.
- ↑ ย้อนดู ตังค์ สารัช อยู่เย็น รับบทพระเอกครั้งแรก ในเอ็มวี เชือกวิเศษ
- ↑ ตังค์ โอด แอ็คติ้งหิน เสียน้ำตากลางกอง MV เชือกวิเศษ ของลาบานูน
- ↑ “ตัง” สารัช เผยข่าวดี มีน้องคนแรกแล้ว – เพื่อนๆ ร่วมยินดี
- ↑ ลูกพ่อตังค์! ร่วมยินดี 'สารัช' ได้ลูกชายตั้งชื่อ 'ตุลย์'