คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย การฝึกสอนกีฬา และการจัดการกีฬา
Faculty of Allied Health Science, Thammasat University | |
สถาปนา | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 |
---|---|
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร. กำพล รุจิวิชญ์ |
ที่อยู่ | |
สี | สีน้ำเงิน–สีเหลือง |
เว็บไซต์ | allied.tu.ac.th |
ประวัติ
แก้ปี พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายขยายการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ จากท่าพระจันทร์ มาศูนย์รังสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาสาธารณสุขซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของประเทศไทยจึงจัดตั้งคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้น โดยเริ่มจากตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ต่อมา ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคณะใหม่เพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีคำสั่งที่ 30/2537 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อจัดทำหลักสูตรตลอดจนวางแผนเรื่องอัตรากำลังให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ต่อมา คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมและมีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิม " คณะเทคนิคการแพทย์ " เป็น " คณะสหเวชศาสตร์ " เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า คณะสหเวชศาสตร์ต้องรองรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ ที่จะเปิดในอนาคตนอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ด้วย เช่น สาขากายภาพบำบัด เป็นต้น จึงเสนอขอเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลดังกล่าว ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาให้ก่อตั้งคณะสหเวชศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีและเป็นคณบดีคณะสหเวชศาสตร์คนแรก ซึ่งดำรงตำแหน่ง 2 วาระต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และกลับมาดำรงตำแหน่งคณบดีอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550
ระยะแรกคณะสหเวชศาสตร์ไม่มีสถานที่ทำการถาวร จึงต้องอาศัยพื้นที่หน่วยงานอื่นเป็นสถานที่ทำการชั่วคราว เริ่มต้นจากขอใช้พื้นที่อาคารคุณากรของคณะแพทยศาสตร์ หลังจากนั้น จึงย้ายไปที่อาคารกิตติวัฒนาของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อนุมัติให้สร้างอาคารปิยชาติและอาคารราชสุดา เพื่อเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งคณะสหเวชศาสตร์ได้รับจัดสรรให้ใช้พื้นที่บางส่วนจากทั้งสองอาคาร อีกทั้งภายหลังยังได้ใช้พื้นที่บางส่วนภายในอาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (ปิยชาติ 2) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ และวิทยาลัยโลกคดีศึกษา
หน่วยงาน
แก้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ แบ่งส่วนราชการเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้[1]
- ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
- ภาควิชากายภาพบำบัด
- ภาควิชารังสีเทคนิค
- ภาควิชาอาชีวบำบัด (ขณะนี้ยังไม่เปิดดำเนินการ)
- สำนักงานเลขานุการ
เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัวมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 คณะสหเวชศาสตร์จึงกำหนดให้แบ่งส่วนราชการเป็นการภายในเพิ่มอีก 1 หน่วยงาน ได้แก่ โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาชีวเวชศาสตร์ และแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ ดร. เกศรา ณ บางช้าง เป็นผู้อำนวยการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งที่ 11/2545 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีมติเห็นชอบให้คณะสหเวชศาสตร์จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางสหเวชศาสตร์" และแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ เป็นผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้แก่อาจารย์และนักศึกษา โดยแบ่งเป็น 4 หน่วยงานย่อย ดังนี้
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการเภสัชวิทยาโรคติดเชื้อ
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการตรวจวินิจฉัยและป้องกันโรคติดเชื้อ
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการกายภาพบำบัด
หลักสูตร
แก้สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น คณะสหเวชศาสตร์เริ่มรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในปีการศึกษา 2539 จำนวน 1 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์ หลังจากนั้น ในปีการศึกษา 2541 จึงเปิดรับสาขากายภาพบำบัด เป็นลำดับถัดมา และเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ในปีการศึกษา 2544 ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (โครงการปกติ) ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก และในปีการศึกษา 2553 เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นปีการศึกษาแรก ต่อมาได้เปิดสาขาทางด้านการกีฬาขึ้นเพิ่มเติมอีก 2 สาขา ในปีการศึกษา 2557 คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการกีฬาและสาขาการฝึกสอนกีฬา (โครงการพิเศษ)
ในปี พ.ศ. 2560 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (โครงการพิเศษ) ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีการศึกษาแรก[2] และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เป็นหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และเพิ่มเติมหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการสมัยใหม่ทางการกีฬา และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการฟื้นฟูและวิทยาศาสตร์การออกกาลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
รายชื่อศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ระดับบัณฑิต (ปริญญาตรี)
แก้ระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
แก้รายชื่อ | สาขาวิชา/ภาควิชา | ปัจจุบัน | หมายเหตุ/อ้างอิง |
---|---|---|---|
รศ. ดร. ภูมิ อดิศักดิ์วัฒนา | ชีวเวชศาสตร์ | อาจารย์ประจำภาควิชาหนอนปรสิตพยาธิ คณะคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล | [24][25] |
ศนนท์ จิวรากรานนท์ | กายภาพบำบัด | นักกายภาพประจำทีมเทควันโดทีมชาติไทย | [26][27] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ". allied.tu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-03. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2017-07-09.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "'สารัช-อดิศักดิ์'นำทีมธรรมศาสตร์ บู๊บอลประเพณีครั้งที่ 72". มติชน. 31 January 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "ริมขอบสนามให้ใจ 'สารัช อยู่เย็น'". โพสต์ทูเดย์. 21 February 2016. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "ยินดีด้วย "ชนาธิป" เรียนจบแล้ว เตรียมรับปริญญา ม.ดัง แฟนฟุตบอลแห่ร่วมยินดี". ไทยรัฐ. 25 November 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "'เมสซี่เจ ชนาธิป'หล่อเท่ไม่เบาในชุดครุย เตรียมเป็นบัณฑิตป้ายแดงม.ดัง". แนวหน้า. 25 November 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "อดิศักดิ์ ไกรษร : ผมไม่เสียใจที่เจ็บจาก ฟุตบอลประเพณี". trueid. 6 February 2018. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "นักศึกษา มธ. คว้าเหรียญอาเซียนพาราเกมส์ เล่าเบื้องหลังความสำเร็จและมุมมองถึงกีฬาคนพิการ". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 16 June 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "ว่ายน้ำพิการไทยเก็บอีก 2 ทอง กีฬาคนพิการชิงแชมป์โลก". มติชน. 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 "ธรรมศาสตร์ร่วมยินดีนักศึกษา คว้าชัยซีเกมส์ ครั้งที่ 32 กวาดเหรียญกลับมา 18 เหรียญ". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ 11.0 11.1 "รายชื่อนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย ซีเกมส์ 2023" (PDF). swimming.or.th. สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ 12.0 12.1 "รายชื่อนักกีฬาโปโลน้ำชุดเข้าร่วมเก็บตัวฝึกซ้อมเพื่อเตรียมเข้าแข่งขันรายการ 19th Asian Games Hangzhou 2022". swimming.or.th/. สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "'ชลธิชา'เฮกระโดดค้ำหญิง 'กรีฑาไทย'กวาดแล้ว12ทอง". เดลินิวส์. 10 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "นักศึกษาธรรมศาสตร์สร้างชื่อ คว้าชัยซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่เวียดนาม กวาด 16 เหรียญรางวัล". 14 June 2022. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "รักบี้ 7 คนนักเรียนไทยโคตรเจ๋งคว้าทองแดงศึกเอเชีย". มติชน. 6 July 2019. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "ลูกชาย"อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์"ติดทีมรักบี้ไทยลุยศึกอาเซียน". siamsport. 31 March 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ ""เจ้น" วุฒิภัทร สงวนวงศ์ โชว์ฟอร์มสุดแกร่ง วันเดียวคว้า 2 เหรียญทอง ให้ทัพสวิมมิ่งไทย ประเดิมศึกซีเกมส์ 2023 อย่างสวยงาม". เดลินิวส์. 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "'วุฒิภัทร' ซิว 2 ทองวันเดียวให้ฟินสวิมมิ่งไทย". มติชน. 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ 19.0 19.1 "ขอแสดงความยินดีกับนักกีฬาฟินสวิมมิ่งคนเก่ง เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2564". atus-thailand.org. สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ 20.0 20.1 "ผลการแข่งซีเกมส์ ครั้งที่ 31วันที่ 22-05-2022". สมาคมกีฬาใต้น้ำแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "แข้งสาวไทย ซ้อมมื้อสุดท้ายก่อนดวล อินเดีย ประเดิม เอเชียนเกมส์ หางโจว". ข่าวสด. 23 September 2023. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "ทำความรู้จัก 'ออกัส วชิรวิชญ์ ' พระเอกดังที่คนส่องมากที่สุดในตอนนี้". คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์). 17 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "ไบร์ท เฮ จบ ป.ตรี พร้อมลุยงานละครเต็มที่". ไทยรัฐ. 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "Staff". tm.mahidol.ac.th (ภาษาอังกฤษ). คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "คณะสหเวชศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2567 เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะสหเวชศาสตร์ ครบรอบ 28 ปี". คณะสหเวชศาสตร์ มธ. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ ""ทีมกายภาพบำบัด" เบื้องหลังความสำเร็จนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย BY ศิษย์เก่า สหเวชฯ ธรรมศาสตร์". มธ. 16 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "'ศนนท์ จิวรากรานนท์' นักกายภาพบำบัดหนุ่ม หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนักกีฬา 3 sport magazine". เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์. 19 May 2020. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เก็บถาวร 2007-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน