ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย

ทีมฟุตบอลหญิงตัวแทนประเทศไทย

ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เป็นทีมฟุตบอลหญิงตัวแทนของประเทศไทย ในการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผ่านมามีผลงานในระดับเอเชียคือ การคว้าตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1983 (พ.ศ. 2526) และชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ประเภททีมหญิง 4 สมัย โดยในปัจจุบันทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยได้รับการจัดอันดับจากฟีฟ่าให้อยู่ในอันดับที่ 39 ของโลก[2] ทีมมีฉายาที่เรียกกันในหมู่แฟนกีฬาชาวไทยว่า "ชบาแก้ว"

ไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาชบาแก้ว
สมาคมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนนฤพล แก่นสน
กัปตันศิลาวรรณ อินต๊ะมี
ติดทีมชาติสูงสุดวราภรณ์ บุญสิงห์ (142)
ทำประตูสูงสุดพิสมัย สอนไสย์ (75)
รหัสฟีฟ่าTHA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 46 ลดลง 2 (25 สิงหาคม 2023)[1]
อันดับสูงสุด28 (กรกฎาคม พ.ศ. 2554, มิถุนายน พ.ศ. 2561)
อันดับต่ำสุด43 (มีนาคม พ.ศ. 2565)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติไทย ไทย 3–0 สิงคโปร์ ธงชาติสิงคโปร์
(ฮ่องกง; 27 สิงหาคม พ.ศ. 2518)
ชนะสูงสุด
ธงชาติไทย ไทย 14–1 ลาว ธงชาติลาว
(นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม; 22 กันยายน พ.ศ. 2555)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 15–0 ไทย ธงชาติไทย
(กรุงเทพ ประเทศไทย; 12 ธันวาคม พ.ศ. 2541)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 2015)
ผลงานดีที่สุดรอบกลุ่ม (2015, 2019)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม17 (ครั้งแรกใน 1975)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1983)
ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยในปี พ.ศ. 2558

บุคลากร แก้

ผู้ฝึกสอนปัจจุบัน แก้

ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2566
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้อำนวยการเทคนิค   ทรงยศ กลิ่นศรีสุข
ที่ปรึกษาทีม   เวร่า พอล
ผู้จัดการทีม   ศิริมา พานิชชีวะ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน   นฤพล แก่นสน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน   อัจฉริยะ วณิชชานนท์
  สาวิน จรัสเพชรานันท์
  กฤษดา พวงมะลิ
แพทย์ประจำทีม   นพ. ภคภณ อิสรไกรศีล
  นพ. กีรติ สุรการ
นักกายภาพ   โยเฮ ชิรากิ
  สุวิชชา นอรดี
  ภาณุวัฒน์ ชุติโชติลิ่มสกุล
หมอนวด   อำนวย สักเล็บประดู่
  ทรงวุฒิ ขำฟุ้ง
เจ้าหน้าที่ทีม   สิริชัย กิโมโต
  สุพัฒน์ พลยุทธภูมิ
  ศุภกิตติ์ วิเศษอนุพงษ์
  ศรายุทธ กล่ำถาวร

ประวัติ แก้

ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยเคยครองแชมป์ซีเกมส์ในปี 1985, 1995, 1997 และ 2007 ส่วนในปี 2005 ทีมชาติทั้งเจ็ดประเทศ ซึ่งได้แก่ บรูไน, ไทย, อินโดนีเซีย, พม่า, ติมอร์ตะวันออก, มาเลเซีย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม และสิงคโปร์ ต่างมุ่งหวังที่จะเข้าแข่งขันกีฬาฟุตบอลหญิงที่จัดขึ้นในซีเกมส์ ที่มาริกินาในเดือนธันวาคม[3] โดยทีมฟุตบอลหญิงของไทยไม่ได้รับเหรียญรางวัลในครั้งดังกล่าว

ถึงกระนั้น ในการแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 รอบคัดเลือก วันที่ 21 พฤษภาคม ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะฟุตบอลหญิงทีมชาติบังกลาเทศ 9 ประตูต่อ 0 [4] ต่อมาในวันที่ 25 พฤษภาคม ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะฟุตบอลหญิงทีมชาติอิหร่าน 5 ประตูต่อ 1 และสามารถเข้าสู่ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2014 รอบสุดท้ายได้สำเร็จ[5][6][7] ทั้งนี้ เฮเลนา กอสตา ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติอิหร่าน เคยให้สัมภาษณ์ถึงนักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยว่า มีทักษะการเล่นที่ยอดเยี่ยม และ ให้การยอมรับว่าฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยไม่เป็นรองทีมชาติใดทั้งในอาเซียนและเอเชีย[8]

สิ่งสืบเนื่อง แก้

หลังจากฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่ประเทศแคนาดา ทางสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศได้เลือกให้ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เป็นต้นแบบสำหรับฟุตบอลหญิงทีมชาติในทวีปแอฟริกาทางแถบใต้ ได้ดูเป็นแบบอย่าง[9][10]

ผลงาน แก้

ฟุตบอลโลกหญิง แก้

  • 1991-2011 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2015 - รอบแบ่งกลุ่ม(อันดับ 17)
  • 2019 - รอบแบ่งกลุ่ม

ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ แก้

ในฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ทีมชาติไทยชนะเลิศ 1 ครั้ง ในปี 1983 และได้รองชนะเลิศ 3 ครั้ง ในปี 1975, 1977 และ 1981

  • 1975 - รองชนะเลิศ
  • 1977 - รองชนะเลิศ
  • 1979 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1981 - รองชนะเลิศ
  • 1983 - ชนะเลิศ
  • 1986 - อันดับสาม
  • 1989 - รอบแรก
  • 1991 - รอบแรก
  • 1993 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1995 - รอบแรก
  • 1997 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1999 - รอบแรก
  • 2001 - รอบแรก
  • 2003 - รอบแรก
  • 2006 - รอบแรก
  • 2008 - รอบแรก
  • 2010 - รอบแรก
  • 2014 - อันดับ 5
  • 2018 - อันดับ 4
  • 2022 - รอบก่อนรองชนะเลิศ

อาเซียนฟุตบอลหญิงแชมเปียนชิพ แก้

  • 2006 - อันดับสาม
  • 2007 - รองชนะเลิศ
  • 2008 - อันดับสาม
  • 2011 - ชนะเลิศ
  • 2012 - อันดับสาม
  • 2013 - รอบแบ่งกลุ่ม
  • 2015 - ชนะเลิศ
  • 2016 - ชนะเลิศ
  • 2018 - ชนะเลิศ
  • 2019 - รองชนะเลิศ
  • 2022 - รองชนะเลิศ

ซีเกมส์ แก้

ฟุตบอลเยาวชนหญิง แก้

เอเชียนเกมส์ แก้

  • 2018 - รอบก่อนรองชนะเลิศ

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

รายชื่อผู้เล่น 23 คนสำหรับการแข่งขัน ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 9 เมษายน 2564

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK วราภรณ์ บุญสิงห์ (1990-02-16) 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 (34 ปี) 155 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
18 1GK โชติมณี ทองมงคล (1999-01-12) 12 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 1 0   ชลบุรี เอฟเอ
22 1GK ทิฟฟานี สอนเผ่า (1998-05-22) 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 4 0   บรอนด์บี้ ไอเอฟ วูเมนส์

2 2DF กาญจนาพร แสนคุณ (1996-07-18) 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 24 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
4 2DF พรพิรุณ พิลาวัน (1999-04-08) 8 เมษายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 10 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
5 2DF อมรรัตน์ อุดไชย (1994-09-04) 4 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 1 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
9 2DF วารุณี เพ็ชรวิเศษ (1990-12-13) 13 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 100 0   เอ็มเอช นครศรี เลดี้
10 2DF สุนิสา สร้างไธสง (1988-05-06) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) 152 15   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
11 2DF จารุวรรณ ไชยรักษ์ (1990-04-23) 23 เมษายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 10 3   ชลบุรี เอฟเอ
16 2DF อุไรพร ยงกุล (1998-08-17) 17 สิงหาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 1 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
19 2DF พิสมัย สอนไสย์ (1989-01-19) 19 มกราคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 115 75   ไทจง บลูเวล

3 3MF อิรวดี มาครีส (1992-01-20) 20 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 3 1   เอ็มเอช นครศรี เลดี้
6 3MF พิกุล เขื่อนเพ็ชร (1988-09-20) 20 กันยายน ค.ศ. 1988 (35 ปี) 115 2   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
7 3MF ศิลาวรรณ อินต๊ะมี (1994-01-22) 22 มกราคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 85 15   ไทจง บลูเวล
8 3MF นิภาวรรณ ปัญโญสุข (1995-03-15) 15 มีนาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 20 2   ชลบุรี เอฟเอ
12 3MF ณัฐวดี ปร่ำนาค (2000-10-09) 9 ตุลาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 12 2   เอซี นางาโนะ ปาร์เซโร เลดีส์
15 3MF อรพินท์ แหวนเงิน (1995-10-07) 7 ตุลาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 22 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
20 3MF วิลัยพร บุตรด้วง (1987-06-25) 25 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (36 ปี) 98 28   ทหารอากาศ
21 3MF ชัชวัลย์ รอดทอง (2002-06-22) 22 มิถุนายน ค.ศ. 2002 (21 ปี) 2 0   กรุงเทพมหานคร

13 4FW กัญญาณัฐ เชษฐบุตร (1999-09-24) 24 กันยายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 17 7   บีจี-บัณฑิตเอเชีย
14 4FW เสาวลักษ์ เพ็งงาม (1996-11-30) 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 (27 ปี) 20 10   ไทจง บลูเวล
17 4FW ธนีกานต์ แดงดา (1992-12-15) 15 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 80 32   เอซี นางาโนะ ปาร์เซโร เลดีส์

ที่เคยถูกเรียกตัว แก้

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยในรอบ 12 เดือนล่าสุด :

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK ญาดา เซ่งย่อง (1993-09-10) 10 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 3 0   เอ็มเอช นครศรี เลดี้ ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก
GK ณัฐรุจา มุทนาเวช (1996-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 0 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)
GK สลิตา สุทธิบูลย์ (1997-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 0 0   ทหารอากาศ ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)

DF ทิพกฤตา อ่อนสมัย   บีจี-บัณฑิตเอเชีย ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)
DF ปณิฏฐา จีรัตนะภวิบูล 0 0   กรุงเทพมหานคร ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)
DF ขวัญฤดี แสงจันทร์ (1993-09-10) 10 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 50 2   บีจี-บัณฑิตเอเชีย ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)
DF อินทร์อร พันธุ์ชาRET   ชลบุรี เอฟเอ ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)

MF พลอยชมพู สมนึก (2002-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (21 ปี) 2 0   บีจี-บัณฑิตเอเชีย ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก

FW จณิสตา จินันทุยา   โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก
FW อลิษา รักพินิจ (1995-02-02) 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (29 ปี)   ชลบุรี เอฟเอ ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)
FW กาญจนา สังข์เงิน   กรุงเทพมหานคร ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 รอบคัดเลือก (เก็บตัวฝึกซ้อม)

Notes

  • INJ ผู้เล่นที่ถูกเรียกแต่ถอนตัวเนื่องจากอาการบาดเจ็บ
  • PRE ผู้เล่นชุดเบื้องต้น
  • SUS ผู้เล่นที่ถูกแบน
  • RET ผู้เล่นที่เลิกเล่นให้กับทีมชาติ

กัปตันทีม แก้

ทำเนียบผู้ฝึกสอน แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • พ.ศ. 2558 - รางวัลนักกีฬาหญิงที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา (MThai Top Talk-About Sportswomen) [11]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola Women's World Ranking". FIFA. 25 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
  2. "อันดับทีมไทยจากฟีฟ่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2013-06-12.
  3. Tandoc Jr., Edson C. (13 April 2005). "Tourism boost for Marikina". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  4. "แข้งสาวไทย" ฟอร์มดุยำบังกลาเทศเละ 9-0
  5. "สาวไทยถล่มอิหร่าน 5-1 ซิวตั๋วอช.คัพ 2014 : INN News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
  6. นิสาแฮตทริก! แข้งสาวไทยลิ่วรอบ 2 ถล่ม'อิหร่าน' 5-1 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  7. สาวไทยรัวอิหร่านยับศึกเอเอฟซีวีเมนฯ - เดลินิวส์
  8. "เปิดประตูสู่อาเซียน (กีฬา) : บันไดก้าวต่อไป ของฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
  9. "ฟีฟ่าเลือกแข้งสาวไทยเป็นโมเดลพัฒนาชาติแอฟริกา - ไทยลีกออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-06-15.
  10. 'ฟีฟ่า' ยกแข้งสาว 'ไทยแลนด์โมเดล' หลังหยิบตั๋วบอลโลก - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  11. "บทสรุป!! นักกีฬาชาย-หญิง ที่ถูกพูดถึงมากสุด MThai Top Talk-About 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-13.

สถิติ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้