นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ชื่อเล่น ต๋อง (19 สิงหาคม พ.ศ. 2490 – 19 เมษายน พ.ศ. 2568) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทย เคยเป็นผู้ทำประตูให้ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยมากที่สุดกับจำนวน 55 ประตู และเนื่องจากในขณะนั้นสนามเหย้าของทีมชาติไทยคือสนามศุภชลาศัย ทำให้เขาได้รับฉายาว่า สิงห์สนามศุภ[1]
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ | ||
วันเกิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2490 | ||
สถานที่เกิด | จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย | ||
วันเสียชีวิต | 19 เมษายน พ.ศ. 2568 (77 ปี) | ||
สถานที่เสียชีวิต | จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.74 m (5 ft 8 1⁄2 in) | ||
ทีมชาติ | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2509-2510 | ไทย U20 | ||
2510-2522 | ไทย | 85 | (55) |
ประวัติ
แก้นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เริ่มเล่นฟุตบอลมาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ในตำแหน่งผู้รักษาประตูของโรงเรียนจ่าการบุญ ภายหลังเปลี่ยนมาเล่นเป็นศูษย์หน้าตอนเข้าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จนทำให้พาทีมครองแชมป์รุ่นจิ๋วของจังหวัดได้ 3 ปีซ้อน กระทั่งปี พ.ศ. 2507 ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 17 ปี ได้เข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ และศึกษาที่โรงเรียนพลานามัย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันการพลศึกษาและมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติในที่สุด นิวัฒน์ลงเล่นในรายการฟุตบอลระดับอุดมศึกษา ปีถัดมา พ.ศ. 2508 ทางวิทยาลัยพลศึกษางดส่งทีมเข้าแข่งขัน นิวัฒน์จึงย้ายไปเล่นให้กับทีมของโรงเรียนปานะพันธุ์ สถาบันลูกหนังอันเลื่องชื่อแห่งวงการขาสั้นในเมืองไทย และสร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงการลูกหนังขาสั้น[2] ก่อนจะเล่นให้กับสโมสรราชวิถี รุ่นเดียวกับ อำนาจ เฉลิมชวลิต, พิทักษ์ ศิลป์ประสิทธิ์, สิทธิพร ผ่องศรี, ปรีชา กิจบุญ ฯลฯ โดยมี สำเริง ไชยยงค์ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน ต่อมาได้ย้ายเข้าสโมสรการท่าเรือไทย เขามีครูสอนฟุตบอลคือ นายเดือน ดารา หรือเหงียน วัน ดึ๊ก อดีตนักฟุตบอลทีมชาติเวียดนามใต้ก่อนโอนสัญชาติเป็นไทย (บิดาของดาวยศ ดารา อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยเช่นกัน) และอาจารย์สำเริง ไชยยงค์ ปรมาจารย์ลูกหนัง
ทีมชาติไทย
แก้นิวัฒน์ เล่นให้ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นครั้งแรกในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2509 และได้รับรางวัลอันดับที่ 3 นอกจากนี้ยังเป็นเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลตัวหลักของทีมชาติไทยที่เข้าไปเล่นฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 รอบสุดท้าย ที่ประเทศเม็กซิโก[3] นอกจากนี้ยังได้รับชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 12 และเป็นผู้รับถ้วยในฐานะกัปตันทีมชาติ โดยเขาเล่นให้กับทีมชาติไทยระหว่างปี พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2522
เสียชีวิต
แก้นิวัฒน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2568[4]
เกียรติประวัติ
แก้ทีมชาติไทย
แก้- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 12 ปี พ.ศ. 2522 : ชนะเลิศ
อ้างอิง
แก้- ↑ 6 รอบของ ‘สิงห์สนามศุภ’ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ตำนานที่ยังมีความสุขกับฟุตบอล
- ↑ "สิงห์สนามศุภ -ต๋อง นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-12.
- ↑ “สิงห์สนามศุภฯ” นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์
- ↑ "สิ้นตำนาน "สิงห์สนามศุภฯ" "นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์" เสียชีวิต". ไทยพีบีเอส. 19 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2025.