ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์
ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ (อาหรับ: منتخب فِلَسطِيْن لِكُرَّةُ الْقَدَم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากรัฐปาเลสไตน์ สำหรับการแข่งขันในระดับชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (PFA) โดยเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC)
ฉายา | أُسُودُ كَنعَان (สิงโตแห่งคานาอัน) الْفَدَائِي (อัลฟะดาอี) الْفُرْسَان (อัศวิน) | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (الإتِّحَادُ الْفِلَسْطِيْنِيّ لِكُرَّةُ الْقَدَم) | |||||||||||||||||
สมาพันธ์ย่อย | WAFF (เอเชียตะวันตก) | |||||||||||||||||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | |||||||||||||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มักร็อม ดะบูบ | |||||||||||||||||
กัปตัน | มุศอับ อัลบัฏฏอฏ | |||||||||||||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | อับดุลละฏีฟ อัลบะฮ์ดารี (82) | |||||||||||||||||
ทำประตูสูงสุด | ฟะฮด์ อัตตาล อัชร็อฟ นัวะอ์มาน อุดัย อัดดับบาฆ (14) | |||||||||||||||||
สนามเหย้า | สนามกีฬานานาชาติฟัยศ็อล อัลฮุซัยนี | |||||||||||||||||
รหัสฟีฟ่า | PLE | |||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
อันดับฟีฟ่า | ||||||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | 101 (19 ธันวาคม 2024)[1] | |||||||||||||||||
อันดับสูงสุด | 73 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2018) | |||||||||||||||||
อันดับต่ำสุด | 191 (เมษายน – สิงหาคม 1999) | |||||||||||||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||||||||||||||||
อียิปต์ 5–0 ปาเลสไตน์ในอาณัติ (ไคโร ประเทศอียิปต์; 4 เมษายน ค.ศ. 1930) | ||||||||||||||||||
ชนะสูงสุด | ||||||||||||||||||
ปาเลสไตน์ 11–0 กวม (ธากา ประเทศบังกลาเทศ; 1 เมษายน ค.ศ. 2006) | ||||||||||||||||||
แพ้สูงสุด | ||||||||||||||||||
เลบานอน 9–1 ปาเลสไตน์ (อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1953) | ||||||||||||||||||
เอเชียนคัพ | ||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 2015) | |||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2023) | |||||||||||||||||
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ | ||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 2006) | |||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2014) | |||||||||||||||||
WAFF Championship | ||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 10 (ครั้งแรกใน 2000) | |||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบกลุ่ม (7 ครั้ง) | |||||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ในสมัยที่รัฐปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติที่ปกครองโดยสหราชอาณาจักร สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ในอาณัติได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1928 ต่อมาดินแดนปาเลสไตน์ได้ประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1988 และสมาคมฟุตบอลของปาเลสไตน์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ในปี ค.ศ. 1998 ภายหลังจากการก่อตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์
ทีมชาติปาเลสไตน์ยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก แต่ผ่านเข้าไปเล่นในรายการสำคัญระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบสุดท้ายที่ประเทศออสเตรเลีย โดยผ่านเข้ารอบมาในฐานะแชมป์ของรายการเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ 2014 ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาแห่งชาติมัลดีฟส์ กรุงมาเล ปาเลสไตน์สามารถเอาชนะทีมชาติฟิลิปปินส์ได้ 1-0 โดยถือเป็นแชมป์รายการแรกของปาเลสไตน์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทีมชาติปาเลสไตน์ไม่มีการแข่งในบ้าน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งและสงคราม ในบริเวณเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ซึ่งการแข่งครั้งทั้งหมดจะแข่งในประเทศกาตาร์และประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ปัญหาในทีมชาติปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นได้แก่ การห้ามเดินทางออกนอกประเทศของประชาชนปาเลสไตน์ ที่เกิดจากความขัดแย้งกับอิสราเอล รวมถึงการขอวีซ่าในการเข้าประเทศจากทางรัฐบาล
ในปี 2549 ได้มีภาพยนตร์ชื่อ โกลดรีมส์ (Goal Dreams) ถูกสร้างขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทีมชาติปาเลสไตน์ที่พยายามจะผ่านรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2006 และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาออกอากาศเป็นสารคดีในช่องสถานีบีบีซี
โดยในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบแรก ทีมชาติปาเลสไตน์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม D ร่วมกับญี่ปุ่น ,จอร์แดน และอิรัก
ผลงาน
แก้- 1930 - 1998 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2002 - 2022 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2010 - รอบแรก
- 2014 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
- 1956 - 1996 - ไม่ได้เข้าร่วม
- 2000 - 2011 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2015 - รอบแรก
- 2019 - รอบแรก
- 2023 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
- 2000 - 2014 - รอบแรก
- 2006 - รอบ 8 ทีมสุดท้าย
- 2008 - ถอนตัว
- 2010 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
- 2012 - อันดับ 4
- 2014 - ชนะเลิศ
อ้างอิง
แก้- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาอาหรับ)
- Palestine at FIFA
- Palestine at AFC
- WAFF team profile เก็บถาวร 2022-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอังกฤษและอาหรับ)
- ELO team records